เปิดโปงวิธีการกลั่นแกล้งราษฎรของข้าราชการอ.เชียงของ

วีคลี่นิวส์ได้ติดตามไปทำข่าวกรณีราษฎรในอ.เชียงของ จ.เชียงราย ถูกข้าราชการในอำเภอตั้งแต่ ผู้ยิ่งใหญ่ อัยการ ปลัดอำเภอ ป่าไม้ สปก. ตำรวจ ผู้ใหญ่บ้าน รุมกลั่นแกล้งให้ต้องรับโทษทางคดีอาญา แล้ว ต้องบอกว่า ” ข้าราชการนั้นร้ายยิ่งกว่าเสือ”

กรณีนาย เกียรติศักดิ์ ราษฎรอ.เชียงของ ถูกกลุ่มข้าราชการตั้งแต่ปลัดอำเภอ ป่าไม้ ทหาร ตำรวจ ผู้ใหญ่บ้าน ขนอาวุธปืนร้ายแรงบุกเข้าบ้านโดยไม่มีหมายค้น ไม่มีหมายจับ อ้างเหตุฃึ่งหน้า ในการบุกจับ ข้อหาบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติตามพรบ.ป่าสงวนมาตรา 14 และกระทำการผิดพรบ.ป่าไม้ มาตรา 54

โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะบุกเข้าตรวจค้นบริเวณบ้านของนาย เกียรติศักดิ์ โดยเฉพาะบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากถนนสายเชียงของ-เชียงแสน ประมาณ 400 เมตร ไม่พบผู้กระทำการตามเหตุฃึ่งหน้าในที่เกิดเหตุ พบแต่ร่อยรอยต้นไม้ล้ม 1 ต้น และพื้นที่ถูกปรับวัชชพืชออกเรียบประมาณ 3 งาน หรือ 300 วา

ขณะที่รถแบ๊คโฮไม่ได้จอดในที่เกิดเหตุ แต่อยู่ห่างออกไปจากถนนดังกล่าวเพียง 100 เมตร ในขอบเขตที่ดินของนาย เกียรติศักดิ์

ฃึ่งนาย เกียรติศักดิ์ รับว่าเป็นผู้ดำเนินการเนื่องจากสภาพพื้นที่มีดินสไลด์ลงมา กีดขวางเส้นทางที่ขรุขละ ทำให้ต้องใช้รถแบ๊คโฮเข้ามาดำเนินการปรับดินและต้นไม้ที่ล้ม ฃึ่งไม่ได้เกิดจากรถแบ๊คโฮแต่เกิดจากสภาพรากต้นไม้ที่ไม่แข็งแรง ถูกกัดเฃาะของน้ำ โดยนาย เกียรติศักดิ์ ได้แสดงเอกสารในการครอบครองทำกินมานานกว่าสิบปี และได้ยื่นเรื่องต่อสำนักงานปฎิรูปที่ดินเชียงรายไว้ตั้งแต่ปี2550 แล้ว

บ้านและที่ดินที่ราษฎรรายนี้ ครอบครองทำกินปลูกเป็นสวนยาง และ กาแฟ และ พืชชนิดอื่นๆ ฃึ่งที่เกิดเหตุตามที่ผู้จับกุมอ้างเป็นพื้นที่เดียวกัน กับบ้านที่ราษฎรรายนี้อยู่ระบุเลขที่คือ 294 หมู่6

และพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตป่าเศรษฐกิจโซน E หมายความว่าเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่อยู่ใกล้ชุมชน ราษฎรสามารถเข้าอยู่ทำกินได้ตามเงื่อนไขของรัฐ

ขณะเดียวกันพื้นที่นี้อยู่ในเขตปฎิรูปที่ดินตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบล ริมโขง ตำบล เวียง อำเภอ เชียงของ จังหวัด เชียงราย ให้เป็นเขตปฎิรูปที่ดิน พ.ศ 2537 ซึ่งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 23มีนาคม2537

ฃึ่ง พรบ.การปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ 2518 มาตรา 26 (4) กล่าวว่า ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อสปก.จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น และให้สปก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ โดยไม่ต้องดำเนินการเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ

img_3522 img_3527

และในมาตรา 27 พรบ.เดียวกัน กล่าวว่า เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว ภายในเขตปฎิรูปที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ ผู้ซึ่งปฎิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้ 1. เข้าไปทำการอันจำเป็นเพื่อการสำรวจรังวัดได้ แต่ต้องแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินทราบเสียก่อน

และในข้อ2.ของมาตรา 27 นี้ กล่าวว่า เมื่อมีความจำเป็นและโดยสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจขุดดิน ตัดรานกิ่งไม้และกระทำการอย่างอื่นแก่สิ่งที่กีดขวางการสำรวจรังวัดได้เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ให้คำนึงถึงการที่จะให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด

img_3526

แต่ปรากฎว่า ในการจับกุมราษฎรรายนี้ พนักงานสอบสวนสภ.เชียงของ ได้เรียกผู้จับกุมฃึ่งเป็นข้าราชการในอ.เชียงของ มาให้การ ทุกฝ่ายต่างกล่าวว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและพนักงานเจ้าหน้าที่สปก.กล่าวว่าเป็นพื้นที่นอกเขตปฎิรูปที่ดิน

ทั้งที่เมื่อปี2550ที่ราษฎรรายนี้ยื่นขอต่อสปก.นั้นระบุว่าเป็นที่ดินเขตปฎิรูปและปัจจุบันได้ออกเอกสารสิทธิให้กับราษฎรรายนี้แล้ว ยกเว้นแปลงที่พิพาทนี้ ทั้งที่เป็นที่ดินแปลงเดียวกัน

img_3531 img_3530

นอกจากนี้เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดมากที่สุดคือ พนักงานสอบสวนไม่เอาผิดกับเจ้าของรถและคนขับรถแบ๊คโฮ แต่นำเจ้าของรถและคนขับรถมาเป็นพยานในคดี เพื่อปรักปรำเอาผิดข้าราชการการเมืองผู้หนึ่งฃึ่งเป็นตัวแทนของราษฎรในอำเภอนี้ให้มีความผิดในฐานะสมรู้ร่วมคิดกับนาย เกียรติศักดิ์ บุกรุกป่าสงวน

ขณะที่ข้าราชการการเมืองคนนี้เป็นเพียงช่วยนาย เกียรติศักดิ์ ฃึ่งคุ้นเคยกันให้ได้รู้จักและตกลงงานกันเองกับเจ้าของรถแบ๊คโฮ เท่านั้น แต่ปรากฎว่าพนักงานสอบสวนกลับไปตามจับข้าราชการการเมืองคนนี้

นอกจากนี้ในชั้นอัยการ ฃึ่งมีหน้าที่ให้ความเป็นธรรมตามนโยบายแก่โจทก์และจำเลย กลับเพิกเฉยทั้งที่นาย เกียรติศักดิ์ ทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมไปถึงอัยการสูงสุดและอธิบดีภาค5 แต่กลับปล่อยให้อัยการจังหวัดเทิงคนหนึ่งตั้งคำถามกับราษฎรว่า “จะใช้ผู้ใหญ่มาบีบผมหรือ”

img_3528

ทั้งที่ควรจะตรวจสอบเรื่องราวและข้อเท็จจริงก่อนที่จะสั่งฟ้อง กลับปรากฎในเวลาต่อมาคือ รีบสั่งฟ้องหลังจากมารับตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ขณะที่อัยการเจ้าของคดีรับทราบเรื่องราวและรายงานคดีให้อธิบดีภาค5 ขณะนั้น ทราบแล้ว แต่ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากรายงานของอัยการเจ้าของคดียังไม่มีผลถึงผู้ร้อง แต่อัยการได้ทำสำนวนส่งฟ้องศาลจังหวัดเทิงเรียบร้อยแล้ว

กรณีทั้งหมดนี้ส่อพิรุธถึงการทำหน้าที่ข้าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เป็นอย่างดี ฃึ่งในการต่อสู้คดีในชั้นศาล วีคลี่นิวส์จะได้นำเสนอต่อไป