จากกรณีที่กรุงเทพโพลล์ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ความหวังของประชาชนกับการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเมืองไทย โดยเก็บข้อมูลจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ 1,221 คน ระหว่างวันที่ 4-6 ต.ค.59 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.8 เห็นด้วยที่จะให้มีการเซ็ตซีโร่องค์กรอิสระทั้งหมด

นั่นอนุมานได้ว่าที่ผ่านมาองค์กรอิสระไม่สามารถทำงานให้ปชช.ได้เชื่อมั่น ไว้วางใจ ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ฃึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายการเมืองและฝ่ายราชการในด้านต่างๆ รวมทั้งเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย

องค์กรอิสระ คือ องค์กรของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจของรัฐตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยเป็นองค์กรของรัฐที่มีสถานะพิเศษ ซึ่งได้รับหลักประกันให้สามารถปฏิบัติภารกิจหน้าที่ได้โดยอิสระ ปลอดพ้นจากการแทรกแซงขององค์กรของรัฐอื่นหรือสถาบันการเมืองอื่น รวมทั้งอยู่เหนือกระแสและการกดดันใดๆ ที่เกิดขึ้นภายในสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ที่ผ่านมาจึงประกอบด้วย ส่วนที่ 1 คือ
1. ศาลรัฐธรรมนูญ
   2. ศาลยุติธรรม
   3. ศาลปกครอง
   4. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
    5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
    6. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
   7. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
และ ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยสามองค์กร ได้แก่ (ก) องค์กรอัยการ (ข) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ (ค) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

คำถามว่านับจากรัฐธรรมนูญปี50 ก่อกำเนิดองค์การอิสระต่อมาจากรัฐธรรมนูญปี40 องค์กรอิสระเหล่านี้สร้างความเชื่อมั่นความยุติธรรมให้กับปชช.ได้มากเพียงใด

หากทำได้จริง โพลคงไม่ออกมาในลักษณะ ต้องการให้เฃ็ทฃีโร่ เริ่มต้นใหม่จากค่าของการเป็นศูนย์

อะไรจึงทำให้ปชช.รู้สึกได้เช่นนี้

องค์กรศาลยุติธรรม ยุติธรรมหรือเป็นเพียงแค่นิยาม ที่ผ่านมาการตัดสินเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือไม่ พฤติกรรมของผู้พิพากษาได้รับการชื่นชมยินดีจากสังคมและปชช. หรือไม่ โดยเฉพาะจริยธรรมในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกคบค้าอบรมกับหน่วยงานในภาคต่างๆที่อาจเอื้อประโยชน์ให้กันและกันในภายหลัง
ต่อเนื่องไปถึงความรู้ความสามารถในการเขียนคำพิพากษาและการตัดสินคดีความเป็นที่ยอมรับของคู่ความหรือสร้างความเครียดแค้นชิงชังกระบวนการนี้หรือไม่อย่างไร

img_3410       image

ข้อครหาเหล่านี้ถูกตั้งข้อสังเกตุระหว่างคดีตายายเก็บเห็ด กับคดีทุจริตรอลงอาญา กับคดีทางการเมืองหลายคดี หรือคดีระหว่างรัฐกับปชช.ที่ปชช.มักจะเป็นฝ่ายแพ้ เสียมากกว่าที่จะชนะคนของรัฐที่อยู่ในเขตอำนาจในจังหวัดเดียวกัน

เช่นเดียวกับ องค์กรอัยการ ที่เป็นองค์กรอิสระ นับแต่เป็นองค์กรอิสระแล้ว ปชช.ไม่อาจที่จะเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง เพราะอำนาจของผู้บริหารองค์กร คือ อัยการสูงสุด เป็นใหญ่สุด

คดีความที่ปชช.ร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด เป็นเพียงแค่ หนังสือตอบรับคำร้องทุกข์ เพียงว่า อยู่ในระหว่างการตรวจสอบ หรือ สอบแล้วไม่พบการกระทำที่เกิดขึ้น เป็นต้น ทั้งที่ปชช.ร้องทุกข์ไปเช่นนั้นจะไม่เกิดขึ้นได้อย่างไร

เหล่านี้เพราะอัยการเป็นองค์กรอิสระ ที่ดำเนินการผิดวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่อสร้างความสมดุลยภาพแห่งความยุติธรรมให้กับปชช. แต่กลับเข้าใจผิดคิดกันว่า ตัวเองเป็นใหญ่ ไม่มีใครแตะต้ององค์กรตัวเองได้ นอกจาก อัยการด้วยกันเอง

การที่อัยการต้องใช้การออกเสียงของอัยการด้วยกันเองในการเข้าไปมีส่วนสำคัญในองค์กรอื่นหรือในตำแหน่งในสำนักงานอัยการ เช่นตำแหน่งอัยการสูงสุด จึงไม่ต้องพึ่งพาสังคมภายนอก ทำให้อัยการจึงรักษาความสมดุลยภาพของพวกตัวเองมากกว่าที่จะฟังเสียงจากบุคคลภายนอก หรือแคร์เสียงจากสังคมภายนอก โดยเฉพาะเสียงของปชช.ที่ร้องทุกข์กล่าวโทษอัยการด้วยกันเอง

เพราะจะทำให้คะแนนเสียงของตัวในองค์กรตกไปได้

และกรณีที่หากปชช.คนนั้นไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ใช้ม.44 มีหรือ อัยการสูงสุด จะสั่งย้ายรองอัยการสูงสุด จากหน่วยงานฝ่ายคดีอาญา ไปนั่งตบยุงพลางๆก่อนผลสอบจะออกมา หรือ สอบออกมาแล้วไม่พบการกระทำตามที่นายกรัฐมนตรีร้องทุกข์มา

แต่ถ้าเป็นปชช.ร้องทุกข์กล่าวโทษ คดีนี้อัยการสูงสุด จะตอบว่า กำลังดำเนินการตรวจสอบ แต่อีกกี่สิบชาติจะพบความผิดไม่รู้

องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรม ในประเทศไทย ตามหลักแล้วเจตนาตั้งขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการให้ความเป็นธรรมต่อปชช. อย่างเป็นอิสระไม่ถูกองค์กรอื่นแทรกแฃง แต่กลับกลายเป็นว่า ตั้งขึ้นมาเพื่อให้อำนาจแก่คนในองค์กรนั้นได้เป็นอิสระ มีอำนาจใหญ่โตต่อปชช. โดยไม่มีการคานอำนาจ เพราะบางกรณีไม่ใช่ความผิดในเรื่องทุจริตและประพฤติไม่ชอบ แต่เป็นเรื่องของจริยธรรมในการดำรงตำแหน่ง

ดังนั้นองค์กรอิสระโดยเฉพาะตัวผู้นำองค์กร จะอิสระจริงตามนโยบายในการจัดตั้ง ต้องให้ปชช.มีส่วนในการเลือกตั้งเข้ามา เพราะเขาคนนั้น จะทำงานเพื่อปชช.ที่เลือกเข้ามามากกว่าที่จะช่วยเหลือคนในองค์กรที่จะกระทำผิดต่อปชช.ผู้ที่เลือกเขาเข้ามาทำหน้าที่

การเฃ็ทฃีโร่ จึงควรฟังเสียงของปชช.ด้วย