องค์กรอิสระ “สำนักงานอัยการสูงสุด” อำนาจที่มองไม่เห็นหัวประชาชน

image

ประเทศไทยมีการเปลื่ยนแปลงเลียนแบบต่างประเทศในเรื่องของการแปลงหน่วยราชการให้เป็นองค์กรอิสระ เพื่อป้องกันการก้าวก่ายจากนักการเมือง ขณะเดียวกันกลับนำอำนาจนั้นไปอยู่ในมือของคนครึ่งคนครึ่งร่างคือ วุฒิสภา ที่มาจากการเลือกตั้งครึ่งหนึ่งจากการสรรหาครึ่งหนึ่ง

เราไม่อาจปฎิเสธได้ว่า วุฒิสภานั้นไม่ได้มาจากการเมือง ทั้งที่วุฒิสภา ควรทำหน้าที่กลั่นกรองก.ม ให้มีความรอบคอบก่อนออกมาบังคับใช้ ไม่ใช่มีหน้าที่ที่จะเข้าไปแต่งตั้งหรือเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้ใดในหน่วยงานราชการ

ผู้นำองค์กรอิสระควรมาจากเสียงของประชาชน เลือกเข้ามา

จะเห็นว่าผู้นำองค์กรอิสระทุกวันนี้ จึงไม่นำพาต่อความสำคัญของผู้ใด นอกจากหน่วยงานที่ให้คุณให้โทษแก่ตัวเอง

การแต่งตั้งสำนักงานอัยการสูงสุดเมื่อปี2553มีการออกพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ มาบังคับใช้ เป็นองค์กรอิสระ อำนาจล้นฟ้าอยู่ที่อัยการสูงสุด

อัยการจึงไม่ต้องเกรงกลัวผู้ใด นอกจากอัยการด้วยกันเอง โดยมีก.อ หรือที่เรียกกันว่า “คณะกรรมการอัยการ” ที่มาจากข้าราชการอัยการด้วยกันเองขึ้นมาควบคุมอำนาจ รองลงไปได้แก่ อัยการสูงสุด ที่ถูกเลือกมาจากคณะกรรมการอัยการ นั่นเอง แล้วนำรายชื่อส่งให้วุฒิสภาเห็นชอบ โดยมีประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

จึงเห็นว่าข้าราชการอัยการ เป็นอิสระจริงๆ ไม่ต้องวิ่งประจบประแจงใครนอกจากพวกตัวเอง

อำนาจของอัยการสูงสุด จึงล้นฟ้า การปลด การตั้ง อยู่ที่ ก.อ

ดังนั้นจึงไม่ต้องเกรงกลัวผู้ใด

การร้องเรียนของปชชที่มีถึงอัยการสูงสุดก็ดี ถึงอธิบดีภาค ก็ดี หากอัยการสูงสุดไม่เล่นด้วยหรือปล่อยไปตามน้ำ โอกาสที่ปชช.จะได้รับความเป็นธรรมจากการตรวจสอบ จากการร้องเรียน จึงเป็นเรื่องที่ปชชอาจหวังไม่ได้

กรณีสำนักงานอัยการประกาศออกสื่อว่าคดีขาโจ๋ฆ่าชายพิการ อัยการไม่ได้สั่งฟ้องข้อหาไตร่ตรองฆ่า แต่อัยการจะค้านการประกันตัว

แต่เมื่อถึงเวลาจริง อัยการกลับให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจ

เรียกว่าลอยตัวเหนือปัญหา เช่นเดียวกับนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ว่า “อัยการต้องให้ความเป็นธรรรมกับทั้งสองฝ่าย”ดังนั้นใครที่ติดตามผลงานในการต่อสู้คดีของข้าราชการอัยการแล้ว จะเห็นได้ว่า อัยการจะทำหน้าที่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลยในคดีด้วยพร้อมกันด้วย

ผิดกับสมัยก่อนๆที่ทำหน้าที่เป็นทนายรัฐต้องการเอาคนผิดถูกลงโทษ แต่ปัจจุบันนโยบายเปลื่ยน การทำหน้าที่เอาคนผิดลงโทษกลายเป็นหน้าที่เพียงตั้งคำถามโต้ตอบไปมาระหว่างจำเลยกับทนายบนบังลังค์ศาล และเสนอเอกสารทางคดีให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัย ตัดสิน

ไม่ใช่เป็นการสู้คดีเพื่อเอาคนผิดมาลงโทษ ในฐานะทนายฝ่ายโจทก์

จะเห็นว่าหลายคดีอัยการเป็นฝ่ายแพ้ ปชช.จึงควรตั้งทนายร่วมเข้าไปในคดี เนื่องจากหากแพ้คดีขึ้นมา จะไม่สามารถร้องอุทธรณ์ต่อศาลได้ ต้องให้อัยการศาลสูงเป็นผู้พิจารณาว่า จะอุทธรณ์หรือไม่ หากอัยการศาลสูงขี้เกียจทำงาน ขี้เกียจศึกษาคดี หรือไม่เห็นประเด็นในการอุทธรณ์ หรือไม่เห็นความจำเป็นในการอุทธรณ์ คดีจะเป็นอันสิ้นสุดทันที

การแต่งตั้งทนายเป็นโจทก์ร่วม จึงมีความจำเป็น อย่าเชื่อใจอัยการไม่ว่าจะรู้จักหรือไม่รู้จัก

เพราะอัยการปัจจุบันเป็นอิสระ เกรงกลัวแต่พวกกันเอง ดังนั้นต่อให้ร้องเรียนเข้าไปยังอัยการสูงสุด ผู้นำของหน่วยงานนี้จะเห็นปชชดีกว่าลูกน้องตัวเองได้อย่างไร

แถมท้ายให้ปชชที่ร้องเรียนเจ็บใจเล่นเสียอีกว่า “อัยการไม่ได้มีพฤติการณ์ตามที่มีผู้ร้องเรียนแต่อย่างใด”

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ปชชควรจะเสนอแก้ก.ม “องค์กรอิสระ มีไว้เพื่ออำนาจตัวเองหรือเพื่ออำนาจปชช”

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ผู้นำองค์กรอิสระควรมาจากการเลือกตั้ง

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะยุบองค์กรอิสระที่ทำงานไม่ได้ผลตามที่ตั้งขึ้นมา

“พัชรินทร์ พัน”