หลบภาษีแวตเจอติดคุก
อธิบดีกรมสรรพากร นาย ประสงค์ พูนธเนศ แจ้งว่า เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมามีประกาศราชกิจจานุเษกษา พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับ 41 ) ซึ่งสาระสำคัญคือการเพิ่มโทษอาญา สำหรับผู้ประกอบการที่มีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) รวมถึงผู้ที่ร่วมกระทำผิดดังกล่าว ซึ่งเดิมบทลงโทษตามประมวลรัษฎากร ยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่หลีกเลี่ยงแวต และโทษที่มีอยู่ไม่ได้ระบุชัดเจนถึงกรณีแวต รวมถึง อัตราโทษที่ผ่านมาไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยข้อความที่แก้ไข ประกอบด้วย มาตรา 35 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 17 มาตรา 50 ทวิ มาตรา 51 หรือมาตรา 69 เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
มาตรา 37 ผู้ใดกระทำการต่อดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท คือ (1) โดยเจตนาแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถอยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ และนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร หรือเพื่อขอคืนภาษีอาการตามลักษณะนี้ หรือ (2) โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยงหรือ พยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอาการหรือขอคืนอาการตามลักษณะนี้
มาตรา 37 ทวิ ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่นตามลักษณะนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำและปรับ และมีการยกเลิกข้อความ(60)ของมาตรา 90/4 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้ (6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทำการใด ๆ โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใด ทำนองเดียวกัน
สรุปคือสรรพากร’ เพิ่มโทษโกงภาษี จำคุกสูงสุด7 ปี ปรับ2แสนบาท พูดง่ายๆคือ จะเล่นงานปชชที่เจตนาโกงภาษี แบบหนักๆให้ติดคุกกันเลย ทั้งๆที่การไม่ชำระภาษีจะด้วยลูกเล่นอย่างไรก็เพราะปชชไม่อยากจะจ่ายเงิน อาจจะเป็นเพราะเหตุผลของปชชคนนั้นๆ “แค่ไม่อยากจ่าย”น่าจะเป็นเรื่องทางคดีแพ่ง แต่สรรพากรมาตีความเป็นเรื่องเจตนาโกงเพราะรายงานภาษีไม่ตรงตามความเป็นจริง แล้วใช้อำนาจทางคดีอาญามาจัดการกับปชช ฃึ่งถือเป็นโทษที่หนักเอาการ
ทั้งนี้เพราะมีคดีที่อดีตอธิบดีกรมสรรพากรนาย สาธิต รังคศิริ ถูกปปชและดีเอสไอกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดในการอนุมัติการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทค้าเหล็กไม่มีตัวตนแห่งหนึ่งสนนราคาค่าคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมีจำนวนสูงถึง4200ล้านบาท
ฃึ่งความผิดนี้ผู้กระทำผิดล้วนเป็นข้าราชการกรมสรรพากรระดับใหญ่ทั้งสิ้น ฃึ่งโทษตามกม.ใหม่หากปฎิบัติตามกม.คือการประหารชีวิตแต่สำหรับโทษของปชชที่ร่วมมือกันโกงกับข้าราชการเหล่านี้ยังไม่มีโทษถึงขั้นติดคุก
กรมสรรพากรเลยเสนอขอออกกม.ใหม่ฉบับนี้ออกมาเพื่อเอาผิดกับปชชด้วย แต่กม.ฉบับนี้มันสองคมเพราะอาจเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรใช้อำนาจแสดงความเห็นว่าปชชผู้นั้น”เจตนา”หรือ “ไม่เจตนา”โกงภาษีได้
อันความคิดเห็นนั้นคือดุลยพินิจในคนของขบวนการยุติธรรมนั่นเอง หากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรสามารถใช้ดุลยพินิจสั่งการว่าเจตนา นั่นหมายถึงปชชคนนั้นสามารถติดคุกได้ แน่นอนว่าต้องมีการวิ่งเต้นเพื่อมิให้เจตนา
แล้วต้อง”จ่าย”กันเท่าใด เป็นเรื่องที่น่าคิด
ฉะนั้นแล้ว ปทไทยนอกจากจะมีตร ศาล ที่ใช้ดุลยพินิจทำให้คนติดคุกได้แล้ว ต่อไปมีเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอีกหน่วยงานหนึ่งที่สามารถใช้ดุลยพินิจให้ปชชติดคุกได้เช่นกัน
ฉะนี้แล้วปชชต้องช่วยกันตรวจตราการทำงานของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรด้วยว่า จะใช้ดุลยพินิจได้เที่ยงธรรมแค่ไหน ก็ในเมื่อหน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานที่มีอิทธิพลอย่างสูงกับชีวิตความเป็นอยู่ของปชช เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญที่ปชชต้องกลัวกันทั้งปท
ใส่ความเห็น