เมื่อผู้พิพากษา ลุกขึ้นกวาดบ้าน ปชช.ต้องสนับสนุน
ต้องขอคารวะท่าน บุญเขตร์ พุ่มทิพย์ และ ท่าน อนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล แห่งศาลยุติธรรม
ทำหนังสือถึงท่านประธานศาลฎีกา เสนอให้ยุบหลักสูตร บ.ย.ส ( ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง)
และไม่ให้ผู้พิพากษาเข้าร่วมอบรมหลักสูตร ว.ป.อ , ป.ป.ร ,ว.ต.ท หรือหลักสูตรอื่นในลักษณะเดียวกัน
เพื่อตัดวงจรอุบาศว์ ที่ไม่เกิดประโยชน์ แต่กลับเสริมให้เกิดระบบอุปถัมป์
ความจริงของเรื่องนี้มันเกิดมานานและมีการวิเคราะห์เรื่องนี้มานาน แต่ไม่มีประธานศาลฎีกาท่านใดกล้าหาญที่จะ”สั่ง”
ความฟุ้งเฟื้อและความมีเกียรติของอาชีพ”ผู้พิพากษา” ทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างอยากก้าวเข้ามาเจอพบปะ ดังนั้นจึงมี”เพื่อน”แต่ละฝ่ายอาศัยคำว่า”เพื่อนร่วมรุ่น” ติดต่อใช้ประโยชน์ร่วมด้วยช่วยกัน
พึ่งพาเรื่องคดี ตอบแทนด้วยผลประโยชน์ ระดับกองทุนกันเป็นแสนเป็นล้าน รวมตัวกันเป็นภาคๆ มีกลุ่มมีแก๊งค์ ให้เข้าถึง
มันก็อุบาศว์จริงๆ
แล้วจัดการไม่ได้ เพราะคำว่า “ดุลพินิจที่ไม่อาจก้าวล่วงได้”เป็นจุดที่ไม่สามารถเอาผิดได้ชัดเจน จึงยกประโยชน์ให้แก่ผู้พิพากษาที่ประพฤติชั่วเหล่านั้น แม้นิดแม้หน่อยก็ยังจะเอา
โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์จากธนาคาร ที่ประธานศาลฎีกาก็ควรที่จะ”ปฎิเสธ”การรับการเสนอ”ลดดอกเบี้ยเป็นพิเศษ”ให้แก่ผู้พิพากษา หรือบุคลากรในศาล เช่นเดียวกับ กรมบังคับคดี เพราะเป็นหน่วยงานที่มีผลได้ผลเสียกับธนาคารในการดำเนินคดีกับประชาชน
ฃึ่งปรากฎว่า ทำให้เกิดความไม่ถูกต้อง ผิดพลาด ต่อการตัดสินคดีและบังคับคดี เป็นที่มาของการ”ด่าลับหลัง”ผู้พิพากษา แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะวัฒนธรรมองค์กรของข้าราชการ และ ศาลยุติธรรม “ใครแตะต้องไม่ได้”หากมีการร้องเรียนก็จะถูก”รุมกินโต๊ะ”จากบรรดาผู้พิพากษาในศาลนั้นๆ หรืออาจจะข้ามไปสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาได้
มีเรื่องที่น่าผิดปกติคดีหนึ่งที่ปชช.กำลังร้องถามหาความผิดปกติต่อคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ถูกกรมบังคับคดี มีคำสั่ง “งดยึด” ทรัพย์ของลูกหนี้รายหนึ่ง เหตุขาดอายุบังคับคดี
ธนาคารนี้ก็ยื่นขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งจพค.
ศาลชั้นต้น”ยกคำร้องธนาคาร”
ธนาคารอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบ เพราะทิ้งอุทธรณ์นานเป็นปี
ธนาคารฎีกา ขอให้ศาลฎีกาสั่งศาลอุทธรณ์
ให้รับอุทธรณ์
ศาลฎีกา สั่งตามธนาคารร้อง ให้ศาล
อุทธรณ์รับอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์แล้ว มีคำสั่ง ไม่หมดอายุความบังคับคดี
ศาลฎีกา ยืนตามศาลอุทธรณ์
แล้วกรมบังคับคดี จะรู้สึกอย่างไร เมื่อกรมบังคับคดีได้วางกรอบในการปฎิบัติงานด้าน การยึดทรัพย์ ต้องประกอบด้วยเอกสาร 1-5 จึงจะครบถ้วนเพื่อให้เกิดการยึดที่ถูกต้องได้
แต่ธนาคารเพียงแค่นำเงิน 2500บาท มาวาง อย่างเดียวแล้วหายตัวไป โดยไม่นำโฉนดและหลักฐานอื่นๆมาประกอบการยึดให้ครบถ้วนถูกต้อง
กรมบังคับคดีจึงทำการยึดโดยไม่ชอบ ไม่ได้
จึงเป็นเหตุแห่งการ”งดยึด”ขาดอายุความบังคับคดี
เมื่อศาลฎีกา มีคำพิพากษาเช่นนี้ ทำให้เกิดความสงสัยต่อสังคม โดยเฉพาะกรมบังคับคดีที่ต้องเสียศูนย์จากการออกระเบียบปฎิบัติของกรมว่าต่อไประเบียบนั้นจะปฎิบัติได้จริงหรือไม่หากศาลฎีกาท่านหนึ่งตัดสินอย่างนี้ศาลฎีกาท่านอื่นตัดสินนอกเหนือจะได้หรือไม่
ปชช.จะสับสนหรือไม่อย่างไร
อำนาจศาลฎีกา สั่ง บังคับคดี เช่นนี้ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
เป็นที่คาใจของกรมบังคับคดีและคู่ความเป็นอย่างยิ่งแล้วยิ่งที่คู่ความคำนึงคือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีผลได้ผลเสียต่อองค์กรศาลยุติธรรมหรือไม่อย่างไร เมื่อมีข้อมูลว่า มีการเสนอเอื้อประโยชน์ต่อข้าราชการศาลยุติธรรม ต่อผู้พิพากษาให้ได้รับสิทธิดอกเบี้ยเงินกู้ในราคาต่ำกว่าปชช.กู้ปกติโดยทั่วไป
และหากมีการใช้ดุลพินิจเยี่ยงนี้ไปในการช่วยเหลืออุปถัมป์กับ”เพื่อนร่วมรุ่น”กับญาติกับเพื่อนเพื่อนร่วมรุ่น วปอ. ปปร. อื่นๆอีกมากที่พยายามจะ”ดึง”ผู้พิพากษาเข้าไป join venture
อะไรจะเกิดขึ้นกับคู่กรณีอีกฝ่าย
ความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นหรือไม่
ยังมีคดีที่ติดตามคดีนี้ต่อมาอีกอย่างนึกไม่ถึง เพราะเมื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์เคยได้ “ใช้อำนาจศาลเป็นเกราะกำบังแล้วครั้งหนึ่ง”อำนาจนั้นมันจึงหอมหวาน ติดใจ จึงใช้ศาลเป็นเกราะกำบัง อีกครั้ง ด้วยการ ให้ศาลออกหมายจับ ขับไล่ คู่ความ ออกจากทรัพย์ ที่คู่ความได้ชำระหนี้ให้ธนาคารครบนานแล้วกว่าหกปี แต่ธนาคารไม่มีโฉนดมอบให้ จึงไปแจ้งเท็จขอให้จพค.นำทรัพย์ออกขายทอดตลาด อย่างไม่สุจริต
คู่ความร้องศาลแพ่งรัชดา ยื่นขอความเป็นธรรมจากท่านอธิบดีศาลแพ่ง
ธนาคารใช้สิทธิไม่สุจริตมาศาล
แต่เกิดการรุมกินโต๊ะแสดงวัฒนธรรมองค์กรหรืออย่างไรไม่ทราบ
คดีนี้ถูกศาลมีคำสั่ง “งดไต่สวน” ไม่มีการพิจารณา คำคัดค้านของคู่ความ ว่า โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตมาศาลอย่างมือไม่สะอาด ศาลจะไม่บังคับคดีให้
แต่ศาลคดีนี้บังคับให้ “ขับไล่ “คู่ความออกจากทรัพย์ “ไม่น่าเชื่อว่าเงินที่ได้ชำระจะเป็นการชำระหนี้”
คดีนี้คู่ความร้องคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม แม้ว่า หนึ่งในองค์คณะจะเป็นถึงกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม สังคมจะได้เห็นว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมนี้จะเป็นผู้พึ่งได้ของปชช.หรือมีไว้เพื่อป้องกันพวกตนเอง
การปัดฝุ่นในบ้านจึงต้องเริ่มจากการชี้ช่องของปชช.ให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมหยิบเครื่องมือดูดฝุ่นพลังสูงจัดการ
เพราะฝุ่นนี้จับตัวกันมานาน ใกล้ตรุษจีนแล้ว สมควรถึงเวลา ในสิ่งที่ทั้งสองท่าน บุญเขตร์ พุ่มทิพย์ และ ท่าน อนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล ยังมิได้ก้าวลงในรายละเอียดในเรื่องต่างๆทำนองนี้
แต่นี่เครื่องเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้
นี่เอง
รอดูว่าคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมอีก14ท่านจะเห็นเป็นประการใด
ใส่ความเห็น