เรียกร้องสภาทนายความแก้ปัญหาปชช.ถูกริดรอนสิทธิ
- วาดฝันสภาทนายความชุดใหม่
พลันทีผลคะแนนของการเลือกตั้งนายกสภาทนายความและคณะเสร็จสิ้นลง เสียงไชโยโห่ร้องของคนในและนอกวงการต่างยินดีที่สภาทนายความได้ มีโอกาสเปลื่ยนแปลงคณะทำงานใหม่ หลังจากที่ผ่านมาบทบาทของชุดเก่าหลายสมัยมิได้มีอะไรที่ต้องตาต้องใจให้กับบรรดาสมาชิกและปชช.ชื่นชมเท่าใดนัก
ดังนั้นสภาทนายความชุดใหม่ นำโดย ว่าที่ร.ต..ดร.ถวัลย์ รุยาพร จึงเป็นที่จับตาถึงผลงานนับต่อจากนี้ว่าสภาทนายความแห่งนี้จะมีประโยชน์ต่อสังคมตนเองและต่อสังคมปชช.อย่างไร
ในภาพที่เกี่ยวกับสังคมปชช.นั้นเราต้องยอมรับ รัฐบาลเจียดงบประมาณภาษีของปชช.ไปสนับสนุนให้สภาทนายความปีหนึ่งไม่ใช่น้อย เพื่อให้สภาฯมีบทบาททึ่จะช่วยเหลือปชช.ให้เข้าสู่ความยุติธรรม แม้ว่าจะเลือกให้เฉพาะปชช.ผู้ยากไร้ก็ตาม หรือการจัดหาทนายความอาสาไปลงตามพื้นที่โดยเฉพาะตามศาลนั้น ยังขาดการเหลียวแลควบคุมการทำหน้าที่ ของทนายความที่บางคนสักแต่ให้คำแนะนำไปตามเวรที่มารับ หาใช่ที่จะทำให้ทุกข์ในใจของปชช.ที่เข้าไปสอบถามได้คลายความกังวลใจไม่
เพราะอะไรสภาทนายความน่าจะลองสุ่มตรวจสอบดีกว่าจะรอให้ปชช.เป็นฝ่ายร้องเรียนและหรือโดยเฉพาะทนายที่มีพฤติกรรมในการ ” ทิ้งคดี”หรือ “กินสองข้าง” หรือ “ยุให้ลูกความฟ้องผิด”เผื่อเอาคดีที่ฟ้องไปข่มขู่อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องถือเป็นโทษที่หนัก ไม่ควรอภัย ดังนั้นผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการมรรยาททนายความ จึงมีความสำคัญต่อภาพพจน์ของสภาฯชุดนี้
การช่วยเหลือทนายเพราะเป็นผู้ออกเสียงเลือกตั้งคณะสภาทนายความ หากเป็นพวกเดียวกัน แน่นอนว่าต้องมีความพยายามช่วยกัน มีคดีร้องเรียนหนึ่งความผิดชัดเจน แต่ถูกตัดสินว่า ขาดอายุความไป 1 วัน เพราะดุลยพินิจในการนับต่างกันกับผู้ร้อง ซึ่งไม่มีบรรทัดฐานกำหนดไว้ในระเบียบ
อย่างนี้ทำให้ภาษีปชช.ที่รัฐเอาไปสนับสนุนเกิดความไร้ค่าและนำความเสื่อมมาเกิดแก่สังคมทนายความด้วยกันเอง
ปัญหาต่อบทบาทของสภาทนายความในการปกป้องสิทธิของปชช.ที่ผ่านมาก็ดูจะเลือนราง การใช้ตำแหน่งเอาไปมีบทบาทในทางบัญญัติกฎหมายยิ่งไม่มีคุณค่าพอที่ปชช.จะเชื่อมั่น
กรณีที่ผ่านมาคือการออกกฎหมายให้ศาลยุติธรรม ริดรอนสิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรม ให้ศาลดำเนินการโดยขัดต่อรธน.ในการปกครองปท.จากระบบตุลาการ 3 ศาล เหลือเพียงศาลเดียวหรือ2ศาล แล้วยังให้ศาลยุติธรรมออกกฎหมายแก้ไขระบบสิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมมาเป็นระบบขออนุญาตในชั้นศาลฎีกา อีก
และในการขออนุญาตยังมีการออก กฎบังคับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา23 “ใม่รับพิจารณาพิพากษา” และ ห้ามมิให้ปชช.ถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัว ตัดสิทธิการร้องขอความยุติธรรมของปชช.เข้าไปซ้ำแล้วซ้ำอีก
ไม่รู้สภาทนายความที่ผ่านมาทนอยู่ได้ไง ?
การเหยียบยำความเป็นธรรมในสังคม ด้วยเหตุผลเพียงเพื่อลดจำนวนคดีความสู่ศาลฎีกา หรือ ให้คดีความได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว แต่ขาดความถูกต้อง ขาดกระบวนการที่อาจก่อให้เกิดช่องทางในการใช้ดุลยพินิจไม่ชอบ คำพูดที่ว่า “ศาลไม่ใช่ศัตรู ” จึงไม่อาจแปลเจตนาไปอย่างอื่นว่าความอยุติธรรมคือศัตรูที่เลวร้ายของสังคม
สภาทนายความจึงควรมีบทบาทที่แข็งแกร่งเพื่อปกป้องปชช.บ้าง มิใช่จะทำประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้องอย่างเดียว เพราะทนายความคือนักกฎหมาย ที่มีศักด์ศรีไม่ต่างจากตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ผู้มีหน้าที่ที่สำคัญยิ่งต่อระบบความยุติธรรมของสังคมเช่นกัน
การละเลยเพิกเฉย นิ่งเสีย ยินยอม ให้ ความยุติธรรมของปชช.ต้องถูกริดรอนด้วยเหตุผลที่ต่ำต้อยเสียขาเช่นนี้ ไม่น่าที่นักกฎหมายจะพึงทนอยู่ได้
ปชช.จึงร้องขอมายังสภาทนายความชุดใหม่นี้ได้หยิบความอัปยศอดสูของขบวนการยุติธรรมที่มีต่อปชช.ให้ได้รับการแก้ไข เพราะหากกระบวนการยุติธรรมยังไม่มีความยุติธรรมแล้ว ปชช.จะหวังอย่างไรว่าความยุติธรรมจะมีจริงอยู่ในสังคม
ใส่ความเห็น