วีคลี่นิวส์ได้รับการร้องทุกข์จากประชาชนที่มีคดีความอยู่ในศาล เกี่ยวกับการร้องเพิกถอนการทำนิติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีต่อจำเลยและผู้คัดค้านหลายคนซึ่งมีผู้ร้องทุกข์เป็นหนึ่งในผู้คัดค้าน โดยมีองค์คณะผู้พิพากษาเพียง สอง ท่าน นั่งบัลลังค์พิจารณา ตัดสินให้เจ้าหน้าที่รัฐชนะคดี คดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ที่ศาลชำนัญพิเศษ

                    แต่ก่อนหน้าคดีนั้น ผู้ร้องทุกข์ได้ฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐมีคำสั่งเพิกถอนการโอนนิติกรรมนั้นโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อกฎหมายและการปฎิบัติงาน แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิดคดีนี้จึงมีความล่าช้า ทำให้คดีนั้นถูกตัดสินไปก่อนที่คดีนี้จะขึ้นสู่การพิจารณาของศาล เมื่อถึงวันที่คดีนี้ขึ้นสู่ศาล ผู้พิพากษาสองท่านเป็นชายหนึ่งหญิงหนึ่งออกนัดกำหนดสืบพยานเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่า ในวันนัดสืบพยานนัดเดียวจบในวันนั้น มีการเปลื่ยนตัวองค์คณะผู้พิพากษาจากเดิมเป็นองค์คณะผู้พิพากษาใหม่ ทำให้ผู้ร้องทุกข์แปลกใจและทราบต่อมาว่า เป็น องค์คณะเดียวกับที่ได้ตัดสินให้ผู้ร้องทุกข์ในฐานะผู้คัดค้านแพ้ไปก่อนหน้าแล้ว จึงเกิดความกังวล ตั้งข้อสันนิษฐานว่า แม้จะเป็นเรื่องคนละคดีแต่ความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน หากคดีนี้ตัดสินให้ผู้ร้องทุกข์ในฐานะผู้ร้องหรือผู้ฟ้องคดีชนะ ย่อมสะเทือนกับคดีที่ได้ตัดสินไปก่อนต้องยกเลิกคำสั่งไปโดยปริยาย และหากตัดสินให้คดีนี้แพ้ แน่นอนว่าผู้ร้องทุกข์จะต้องไม่เชื่อมั่นในคำตัดสินขององค์คณะนี้เพราะเป็นองค์คณะเดียวกันจะตัดสินให้คดีนี้ชนะได้อย่างไร ซึ่งคดีนี้องค์คณะผู้พิพากษานัดตัดสินในวันที่ ๒๓ ก.พ ๖๕

ทำให้ผู้ร้องทุกข์ยื่นหนังสือเป็นการด่วนถึงท่านประธานศาลฎีกา เมื่อวันที่ ๑๗ ม.ค๒๕๖๕ เลขรับที่ ๒ /๖๕ เพื่อขอความเป็นธรรม สองกรณี คือ จริยธรรมขององค์คณะผู้พิพากษาในวันสืบพยานและการพิจารณาคดีที่มีการเรียกคืนสำนวนคดีและการโอนสำนวนคดีขัดต่อระเบียบพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๓๓ และ ๓๔ โดยเฉพาะที่ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการเรียกคืนสำนวนคดีและการโอนสำนวนคดี พ.ศ ๒๕๔๗ ข้อ ๔ การเรียกคืนสำนวนคดีจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เรียกคืน…..เห็นว่าเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาหรือพิพากษาอรรถคดีของศาลนั้น

https://opsc.coj.go.th/th/file/get/file/201904108fe43c4895e0c54cc453c8429f1f0fb8173354.pdf

                         โดยการเรียกคืนสำนวนตามข้อ๔ นั้น ในข้อ๕ ของ ระเบียบดังกล่าวกำหนดว่า ให้พึงกระทำได้เมื่อเกิดกรณี๑.องค์คณะผู้พิพากษาดำเนินดำเนินการพิจารณาล่าช้า ( แต่ข้อเท็จจริงคือ ไม่ช้า )

     ๒. องค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาคดีโดยขัดต่อกฎหมาย ( แต่ข้อเท็จจริงคือ ยังมิได้มีการพิจารณา)

      ๓. องค์คณะผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจพิจารณาคดีผิดแผกแตกต่างจากแนวทางการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลนั้นโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร หรือ องค์คณะผู้พิพากษาดำเนินกระบวนการพิจารณาอันมีผลกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม ( แต่ข้อเท็จจริงคือ ยังมิได้มีการพิจารณาคดี คดีอยู่ในขั้นนัดพร้อมเท่านั้น )

                            ซึ่งผู้ร้องทุกข์เห็นว่าการเรียกสำนวนคดีและโอนสำนวนคดีนี้ ไปให้องค์คณะเดิมที่ตัดสินไปแล้วมีผลได้เสียต่อคดีนี้และ เป็นสิ่งที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของระเบียบราชการในเรื่องนี้อย่างชัดเจน  

   ปรากฏว่าผู้ร้องทุกข์ฝันสลายที่จะได้รับความยุติธรรม การพิจารณาช้าเกินแกง  องค์คณะผู้พิพากษาได้ตัดสินยกคำร้องเหตุเนื่องจาก “ผู้ร้องไม่มีอำนาจ” ซึ่งผู้ร้องทุกข์เห็นว่า “เทคนิค”จะทำให้ต้องยื่นอุทธรณ์กันต่อไปตามกระบวนการของกฎหมาย ว่า มีอำนาจหรือไม่มีอำนาจ ทั้งที่คดีนี้เป็นคดีเรื่องการดำเนินการโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อปฎิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ  ประชาชนที่เกี่ยวข้องในคดีมีสิทธิที่จะรักษาสิทธิของตนได้ อีกทั้งคดีนี้ไม่ใช่คดีที่เกี่ยวเนื่องกับความสงบเรียบร้อยของสังคม คงต้องตีความกันในแง่กฎหมาย

  ผู้ร้องทุกข์ กล่าวต่อว่า ก่อนหน้าตนก็ฝันไปว่า คดีนี้ตนจะแพ้ เพราะสู้กับหน่วยงานราชการ ในฝันนั้นเพื่อนบอกกับตนว่า ต้องวิ่งกันสุดฝีเท้ามิฉะนั้นก็จะมีการใช้เทคนิครูปแบบแปลกๆออกมาโดยไม่กลัวต่อฟ้าดินแต่ตนบอกเพื่อนว่า ตนคิดว่านรกมีจริง จากนั้นตนก็ตกใจตื่น ความฝันของตนที่แพ้คดีจึงแม่นนักแต่นรกจะมีจริงหรือไม่ เป็นแค่ความคิดของตนที่เชื่อว่ามี