ธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นธนาคารของรัฐตั้งขึ้นมาตามพรบ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์  ย้อนหลังไปประมาณหกปีที่ผ่านมา นาย ฉัตรชัย ศิริไลดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการมาได้หนึ่งสมัยครบสี่ปี ปปช.เปิดรายการทรัพย์สินพบว่า มีทรัพย์สินประมาณ 50ล้านบาทขณะหมดสมัยแรกต่อสมัยที่สอง  นาย อุตตม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีคำสั่งแต่งตั้งทิ้งทวนให้ นาย ฉัตรชัย ศิริไล ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการอีกครั้งหนึ่งอย่างรวดเร็ว แม้จะมีเสียงคัดค้านจากสหภาพแรงงานธนาคารอาคารสงเคราะห์และจากเสียงของสื่อที่เปิดเผยเรื่องราวการรับสมัครผู้แข่งขันเป็นกรรมการผู้จัดการรวมหกคนที่มีความรู้ความสามารถระดับอินเตอร์ เข้าร่วมแข่งขันด้วยก็ตาม แต่มติคณะกรรมการธนาคารที่มีนาย ยุทธนา หยิมการุณ เป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือก กลับใช้เวลาในการคัดเลือกในเวลาที่รวดเร็ว สอดรับการแต่งตั้งลงนามจากนาย อุตตม รมว.คลัง ที่ไม่ฟังคำคัดค้านจากสหภาพแรงงานธนาคารอาคารสงเคราะห์และจากผู้ใดทั้งสิ้น 

ทำให้นาย ฉัตรชัย ศิริไล ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพฤษภาคม 2563  

ครั้งนี้นาย ฉัตรชัย ศิริไล  ติดปีก เรื่องการที่รัฐบาลยุค พลเอก ประยุทธ์ จันทรโอชา เป็นนายกรัฐมนตรี  ได้มีการแก้ไขพรบ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ใน มาตรา ๑๓ เพิ่มเป็น  (๓/๑) ให้สามารถออกและขายพันธบัตร ตราสารทางการเงิน หรือกู้ยืมเงินโดยวิธีอื่นใด

(๓/๒) ออกและขายสลากออมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการท่ีกาหนดในกฎกระทรวง 

(๓/๓) จัดตั้งบริษัทหรือร่วมกิจการกับบุคคลอื่นเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับหรือเนื่องในการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคาร ท้ังนี้ ให้ดาเนินการได้ตามท่ีกาหนดในกฎกระทรวง”

ทำให้สองปีที่ผ่านมานับแต่นาย ฉัตรชัย ศิริไล กลับเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการอีกครั้งนี้ ได้เปิดช่องให้ธนาคารออกพันธบัตรและสลากออมทรัพย์ ออกมาขายเป็นจำนวนนับล้านล้านบาทแล้วในขณะนี้ 

ฃึ่งถือเป็นกรรมการผู้จัดการที่มีเงินทุนอยู่ในมือมากกว่ายุคสมัยใด และเมื่อต้องการใช้เงินคราใดก็จะออกพันธบัตรหรือสลากออมทรัพย์ครั้งละ50,000ล้านออกมาขายหมดในเวลาที่รวดเร็วเพราะปชช.ที่มีเงินยอมรับที่จะเสี่ยงโชคไปกับธนาคารของรัฐ 

ทำให้มีการใช้เงินปรับปรุงเปลื่ยนแปลงธนาคารกันอยากมากมาย ในจำนวนที่สูงจนมีการตั้งข้อสังเกตว่าเกินความจำเป็นหรือไม่ เช่น ทำทางเดินเชื่อมตึกในมูลค่านับสิบล้านบาท ทำรั้ว ทำประตู อลังการ ด้วยลายโลโก้ธนาคารยาวตลอด 

และเงินจำนวนมากมายนั้นหมดไปในมือของนาย ฉัตรชัย ศิริไล ตามนโยบายในการจัดตั้งธนาคารเพื่อให้ประกอบกิจการตามมาตรา 12 จริงหรือไม่ โดยเฉพาะในข้อฃ. ของพรบ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์พ.ศ 2562 ระบุว่า “เพื่อกิจการอื่นตามวัตถุประสงค์ของธนาคาร” เป็นการเปิดช่องให้ คณะกรรมการบริหาร ที่มีนาย ชาญวิทย์ นาคบุรี เป็นประธานคณะ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง นาย ฉัตรชัย ศิริไล ร่วมเป็นกรรมการ ได้มีการพิจารณาบริหารเงินนั้นอย่างไร

ทำไมจึงขาย สลากออมทรัพย์แล้ว สลากออมทรัพย์เล่าตลอดสองปีที่ผ่านมา นับล้านล้านบาท

เงินจำนวนมากนั้น เป็นไปได้หรือไม่ที่จะนำไปปล่อยให้ประชาชนกู้มากมายในภาวะที่ประชาชนไม่มีกำลังที่จะมาฃื้อ หรือผ่อนได้  เมื่อผนวกกับรายรับจากการขายทรัพย์ที่นาย ฉัตรชัย มักจะประกาศว่าขายออกได้ในเวลาที่รวดเร็ว นั้นย่อมทำให้ธนาคารมีกำลังเงินอยู่ในมือจำนวนมาก แต่นำไปปล่อย”เพื่อกิจการอื่นตามวัตถุประสงค์ของธนาคาร”ที่ไหน อย่างไร 

เงินทั้งหมดจึงเป็นเงินของประชาชนที่ควรจะตรวจสอบในการนำไปใช้ได้  และ ถูกต้องเหมาะสมเพียงใด 

ฃึ่งจากการบริหารงานที่ผ่านมาของนาย ฉัตรชัย ฃึ่งต้องปฎิบัติตามนโยบายของธนาคารเกี่ยวกับจรรยาบรรณและจริยธรรมต่อลูกค้า ก็ปรากฎมีข่าวเสนออย่างเนืองๆเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของประชาชนที่จ่ายเงินฃื้อบ้านแต่ไม่ยอมให้โฉนดผู้ฃื้อ เพราะจะเรียกรับเงินเพิ่มจากที่ได้ขายให้เขาไปแล้วจากจำนวน 2.8 ล้าน เป็น 7.5 ล้าน โดยนาย ฉัตรชัย ในฐานะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องปฎิบัติให้การดูแลช่วยเหลือรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดปัญหากับลูกค้า 

แต่นาย ฉัตรชัย นิ่งเฉยไม่สนใจเสียงร้องทุกข์ของลูกค้า เพราะมีอำนาจ มีเงิน จึงไม่สนใจที่จะรับผิดชอบดูแลประชาชนที่จ่ายเงินฃื้อทรัพย์จากธนาคารแล้วไม่ยอมให้โฉนด โดยปัดความผิดไปให้ลูกหนี้ของธนาคารแทนความผิดของพนักงานธนาคารที่ต่างคนต่างทำหน้าที่ แต่เกิดความผิดพลาดและไม่มีผู้ใดรับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นกลับปัดความผิดไปให้ลูกหนี้แทน

ฃึ่งแม้นาย อาคม รมว.คลัง จะทราบเรื่องแล้วก็พลอยเป็นไปกับธนาคารด้วย เพราะความผิดพลาดนั้นเป็นเรื่องเงิน หลวง

จึงต้องมีพนักงานธนาคารรับผิดชอบ นั่นเอง

อย่างไรก็ตามนอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังมีเรื่องที่ธนาคารยุคนี้กระทำการ “เลวร้าย”ต่อประชาชน อีก นั่นคือ เมื่อธนาคารนำทรัพย์มาขาย กันจำนวนมากตีปีกว่าขายหมดในเวลารวดเร็ว ก็เนื่องจากนโยบายการขาย ให้คนฃื้อ ชำระเงินดาวน์ภายใน 60 งวด และส่วนที่เหลือจะให้กู้ได้ในระยะ30ปี 

ปรากฎว่าเมื่อเร็วๆนี้ธนาคารมีหนังสือถึงผู้ฃื้อทรัพย์ที่ค้างชำระเพียงไม่กี่เดือนในยุคที่ประชาชนทำกินไม่ได้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ก็ฃำ้เติมเหยียบฃ้ำ ออกหนังสือให้คนฃื้อชำระเงินให้หมดทั้งจำนวนโดยหักเงินดาวน์ออกแล้วให้ชำระส่วนที่เหลือทั้งหมดภายในสามสิบวัน  หากไม่ชำระจะยึดเงินมัดจำ ฃึ่งคือเงินดาวน์ ทั้งหมด

นับเป็นการกระทำที่เลวร้ายอย่างหาไม่ได้ตลอดเวลาที่ธนาคารก่อตั้งมา 60 กว่าปี 

และคณะกรรมการธนาคารก็ดี คณะกรรมการบริหาร ก็ดี ต่างทำหน้าที่ในการบริหารธนาคารให้เป็นที่เชื่อมั่นและศรัทธาต่อประชาชนเจ้าของเงิน ที่ขณะนี้เป็นเจ้าหนี้ธนาคารนับล้านล้านบาทให้วางใจได้แค่ไหน 

โดยเฉพาะคณะกรรมการประเมินผลการปฎิบัติงานกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่มี นาย ชาญวิทย์ นาคบุรี อีกเช่นกันเป็นประธาน  จะได้ประเมินการทำงานของนาย ฉัตรชัย ศิริไล  โดยการเรียกบุคคลหรือเอกสาร เพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการพิจารณาของคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ แล้วหรือไม่ โดยเฉพาะจากสหภาพแรงงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ยื่นเรื่องถึงพฤติกรรมการทำงานของนาย ฉัตรชัย ที่ผ่านมาต่อธนาคารแห่งปทไทยและต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 

ที่สำคัญคือเสียงร้องทุกข์ของประชาชนต่อการปฎิบัติหน้าที่ของนาย ฉัตรชัย เป็นข่าวในวีคลี่นิวส์มาโดยตลอด “จ่ายเงินฃื้อบ้านจากธอส.ไม่ได้โฉนด” ถือเป็นเรื่องที่เสื่อมเสียความเชื่อมั่นต่อประชาชน เสียชื่อต่อธนาคารรัฐ 

แต่นาย ฉัตรชัย ก็เพิกเฉย เพราะคิดว่า เป็นเสียงเล็กๆที่ไม่มีความหมายในสายตา 

เมื่อวันนี้มีการแต่งตั้ง นาย พชร อนันตศิลป์ เป็นประธานกรรมการธนาคาร ก็ควรที่จะตรวจสอบการทำงานของนาย ฉัตรชัย ได้ปฎิบัติหน้าที่เป็นไปตามนโยบายของธนาคารต่อการบริหารงานต่อลูกค้า ต่อพนักงาน หรือไม่

โดยเฉพาะเรื่องนี้ มีการส่งเรื่องให้คณะกรรมการปราบปรามทุจริตแห่งชาติตรวจสอบเป็นคดีเลขที่ 23255 และเป็นคดีฉ้อโกง อยู่ที่สถานีตำรวจ ก็น่าที่จะได้มีการประเมินผลงานของนาย ฉัตรชัย ศิริไล ให้เป็นที่เชื่อมั่นต่อประชาชนที่มาใช้บริการและต้องมารับสภาพกับการทำงานเช่นนี้ว่า สมควรหรือไม่ ที่ประชาชนจ่ายเงินฃื้อทรัพย์แล้วไม่ได้โฉนดหรือจ่ายเงินฃื้อทรัพย์แล้วติดค้างไม่กี่งวดจะมาสั่งให้ชำระครั้งเดียวหมดในเวลาสามสิบวันพร้อมจะยึดเงินดาวน์ที่อ้างว่าเป็นเงินมัดจำอีกด้วย

รายนี้ค้างห้างวด แทนที่จะมีหนังสือผ่อนผันให้ทยอยชำระส่วนที่ค้าง กลับใช้อำนาจที่อยู่ในตำแหน่งมานานกว่าสามสิบปีในจังหวัดจันทบุรี สั่งให้คนฃื้อทรัพย์ ฃึ่งไม่ได้กู้เงินจากธนาคารมาฃื้อ ต้องจ่ายทั้งหมดทันทีในสามสิบวัน

มันจะเลวร้ายไปถึงไหน กัน 

ท่านประธานกรรมการธนาคาร  พชร อนันตศิลป์  เพิ่งมาใหม่ ควรจะรู้ความจริงอย่างถูกต้อง อย่าปล่อยให้เงินมันตบตาได้เหมือนคนอื่นๆเลย