ศาลล้มละลายเป็นศาลที่พิจารณาคดี เกี่ยวกับเรื่องเงิน ทรัพย์สิน การพิจารณาคดีจึงต้องมีผู้พิพากษาที่มีความรู้ ความเข้าใจ “อย่างดี”เกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจ บัญชี การเงิน แพ่งและพาณิชย์
และต้องใช้ “กฎหมายและดุลพินิจ เป็น “

เป็นศาลที่ถือว่ามีความสำคัญทั้งในเรื่องขององค์ความรู้และความฃื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากหากด้อยในความรู้ความเข้าใจรู้งูๆปลาๆมีสิทธิทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด “สิ้นเนื้อประดาตัวได้”

การเป็นผู้พิพากษาจึงไม่ได้เป็นเพียงมีอีโก้ ทำเท่ห์ ได้นั่งบัลลังค์ตัดสินชีวิตผู้อื่น แต่ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้พิพากษาที่พร้อมด้วยหลักทศพิศเป็นที่ชื่นชมของมนุษย์เทวดา

เพราะบัลลังค์นั้นคือบุญ กับบาป ที่ขาทั้งสองต้องรับกรรมแม้จะคิดว่าทำดี ทำถูก แต่ความจริงไม่อาจรู้ได้ชัดที่ว่าถูกว่าดีนั้นใช่ตามที่ตัดสินหรือไม่ เพราะมันคือ”ปัญญา” ของแต่ละคน

ศาลล้มละลายจึงไม่ควรเป็นศาลพิเศษที่ผู้พิพากษาสามารถอยู่กับที่ได้นานหลายปี เพราะการอยู่นานมันคือ”ราก”แห่งการคอรัปชั่น เป็นมาเฟีย เป็นแก๊ง

การพัฒนาคุณภาพ ความรู้ หลักกฎหมาย หลักคุณธรรม หลักในการเขียนคำพิพากษา หลักธุรกิจ จึงมีความสำคัญมากกว่าที่จะให้คนไม่กี่คนได้นั่งอยู่ในตำแหน่งนานผิดแผกจากคนอื่น

เป็นอภิสิทธิ์ เหนือผู้อื่น ฃึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมีความสามารถดีกว่าผู้อื่นจริงหรือไม่

การเขียนคำพิพากษา การตัดสินคดี จึงเป็นเครื่องบ่งชี้
องค์กรศาลควรให้มีการเปิดช่องพิจารณาคำพิพากษาที่ปชช.ร้องทุกข์เข้าไปเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและความโปร่งใสของศาลแทนที่จะมาใช้ดุลพินิจที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ มาเป็นช่องทางทำมาหากินหรือตัดสินคดีชุ่ยๆโดยปราศจากความรอบรู้รอบคอบ

การไม่เลื่อนตำแหน่งเพียง 1ปี ไม่ใช่บทลงโทษที่เพียงพอ โดยเฉพาะสมัยนี้ผู้พิพากษามีจำนวนมากแต่บทลงโทษแม้แต่ศาลจะตัดสินกันเองก็ยังยาก จึงต้องใช้สังคมช่วยตรวจสอบ

อภิสิทธิ์ในตัวผู้พิพากษาแม้จะย้ายยังต้องถามความสมัครใจ แม้จะสับเปลื่ยนตำแหน่งยังต้องไม่ต่ำกว่าเดิม

ผู้พิพากษาจึงต้องถูกตรวจสอบได้ แม้กระทั่งทรัพย์สิน ควรต้องเปิดเผยเช่นกัน