หนึ่งในทัศนะของคดีธนาธร ต่อประเด็นห้ามผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งถือครองหุ้นสื่อ

คนที่มโนต้องอ่านจากคำพิพากษา หากไม่ชัดเจนต้องยกประโยชน์ให้จำเลย นั่นคือกฎระเบียบของการตัดสิน คดีความ 

ประเด็น ห้ามผู้สมัครลงรับเลือกตั้งถือครองหุ้นสื่อ

เอาประเด็นตรงๆก่อนเลย 

นั่นหมายความว่าจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหา จะต้องดำเนินการถอนหุ้น ออกจากบริษัทที่ถือหุ้นไว้ก่อนมาสมัคร  ใช่หรือไม่ 

การถอนหุ้นจะทำอย่างไร ก็ต้องขายออกใช่ไหม

การขายหุ้นออกจากบริษัท (ไม่มหาชน)  กฎหมายกำหนดไว้อย่างไร 

ผู้ฃื้อและผู้ขาย ตกลงยินยอมฃื้อขายหุ้น เพียงบอกกล่าวหรือทำสัญญาฃื้อขายหุ้น ด้วยการลงนามในใบถือหุ้น ส่งมอบใบหุ้น และเปลื่ยนแปลงชื่อในสมุดผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็ถือว่าการขายหุ้นสำเร็จลงแล้ว

ใช่หรือไม่ 

ส่วนการจ่ายเงินระหว่างผู้ฃื้อ ผู้ขาย เขาจะจ่ายเงินในรูปแบบไหนเป็นเรื่องข้อตกลงระหว่างเขาทั้งสอง เขาจะรับเงิน ขึ้นเงิน กันเมื่อไรก็เรื่องของเขา จะไปมโนคิดแทนเขาได้ยังไง

แต่การขายหุ้นตามกฎหมายของเขาสำเร็จลงแล้ว ตามที่กฎหมายกำหนด

เพียงแค่นั้น ประเด็นเดียวจบ ไม่ต้องมโนไปเรื่องอื่นๆ

แต่เกิดมโนไปเรื่องการยื่นสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบอจ.5 ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กฎหมายก็ไม่ได้บังคับหรือบอกว่า ต้องยื่นทุกครั้งหลังการเปลื่ยนแปลงผู้ถือหุ้น 

กฎหมายบอกว่า  ให้ยื่นปีละหนึ่งครั้งภายใน14วันหลังการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น 

ดังนั้นจะไปมโนต่อว่าทำไมไม่มายื่นทันที ฃึ่งหน้าที่การยื่นบอจ.5 ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ขายหุ้นหรือผู้ฃื้อหุ้น มันเป็นหน้าที่ของคนทำบัญชีบริษัท และปกติแม้กฎหมายจะบอกให้ยื่นภายใน14วันหลังประชุมสามัญผู้ถือหุ้น แต่ที่ผ่านๆมาหลายสิบปี กรมพัฒนาธุรกิจการค้าอนุโลมให้บริษัทต่างๆยื่นบอจ.5 ปีละครั้งดังที่กฎหมายกำหนด พร้อมกันกับการยื่นงบการเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ปชช.มาดำเนินการเพียงครั้งเดียวพร้อมกันกับยื่นงบการเงินประจำปี ฃึ่งส่วนใหญ่บริษัทต่างๆมักจะยื่นกันช่วง มีค – พ.ค ของทุกปี  

ดังนี้แล้วผู้ขายหุ้น จึงไม่มีหน้าที่ ที่ต้องไปยื่นบอจ.5 เอง  

เพียงแค่ปรากฎการเปลื่ยนแปลงในสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ถือว่าชอบด้วยกฎหมายการฃื้อขายหุ้นแล้ว 

การฃื้อขายหุ้นเป็นเรื่อง”ภายใน”ของบริษัท ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก 

กฎหมายจึงกำหนดให้แจ้งนายทะเบียนบริษัท เพียงปีละครั้งตามกฎหมายแต่หากบริษัทจะยื่นทุกครั้งที่มีการเปลื่ยนแปลงก็ได้ นายทะเบียนกรมพัฒนาก็ไม่ว่า ขอให้มีหนังสือขอส่งสำเนาบอจ.5 เพื่อทราบเท่านั้น 

นายทะเบียนกรมพัฒนาฯก็จะนำไปลงในคอมพิวเตอร์ไว้ให้ก็เท่านั้น

ส่วนมโนเรื่องอื่นๆอีกเป็นพรวนนั้น ไม่รู้เกี่ยวข้องการขายหุ้น ถอนหุ้น ในบริษัทอย่างไร  ยิ่งวัตถุประสงค์ 41ข้อ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าทำเป็นแบบฟอร์มไว้ให้ผู้ขอจดทะเบียนบริษัททุกบริษัทนำไปใช้นั้น มันเป็นเพียงรายละเอียดชนิดของการดำเนินกิจการ แต่เวลาขอเปิดบริษัท กฎหมายบอกให้ระบุประเภทการจดจัดตั้งบริษัท ก็เลือกเอาใน41ข้อนั้นมาตามที่บริษัทต้องการดำเนินธุรกิจ 

ไม่ใช่ขอจดบริษัทแล้วทำมันทั้ง41ข้อ 

ได้ทั้งหมดในคราวเดียว 

ทำไมไม่มีใครเรียกกรมพัฒนาฯ าสอบถาม 

การจดทะเบียนประเภทกิจการนี้จะต้องไปจดสอดคล้องกับใบภาษีประเภทกิจการของกรมสรรพากรด้วย 

นั่นหมายถึงถ้าบริษัทประกอบกิจการได้ทั้งหมด41ข้อตามวัตถุประสงค์ในคราวเดียว บริษัทจะต้องไปจดแจ้งการเสียภาษีทั้งหมดตามที่41ข้อปรากฎด้วย ฃึ่งก็จะมี การเสียภาษีในรูปแบบตามประกอบกิจการ

ถ้าเปิดทำธุรกิจสื่อ ก็ต้องจดแจ้งการการเสียภาษี ธุรกิจมูลค่าเพิ่ม หรือ แวต เรียกว่า ภพ30แต่ถ้าจดทำธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ก็ต้องจดแจ้งการเสียภาษีแบบภธ 40 

ดังนี้แล้ว ทำไมจึงมีการมโนว่า บริษัทที่จดแจ้งว่าทำสื่อ หรือ ทำก่อสร้าง จะต้องมารับผิดชอบ กับธุรกิจที่ตัวไม่ได้ทำอีก 40 ข้อนั้น 

เพราะมันเสียภาษีคนละประเภทกัน 

และสำคัญคือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็คงจะไม่รับจดประเภทกิจการทั้งหมด41ข้อลงในช่องประเภทกิจการที่ขอเปิด 41ข้อ แน่นอน 

ประเด็นของเรื่องคือ ห้ามผู้ลงสมัครถือหุ้นสื่อ  ก็เป็นเรื่องแค่หุ้น แต่ยาวไปเรื่องอื่นๆให้มากเรื่อง

และนี่มันจะกระทบไปยังคนอื่นๆไม่เฉพาะผู้ถูกกล่าวหา ธนาธร คนเดียว แต่มันคือ แนวคำพิพากษา เป็นบรรทัดฐาน ที่ต้องยึดถือ หาใช่เรื่องที่จะมโนไม่

แต่ผลออกมาจะให้ผู้คนเห็นพ้อง รับได้ จึงต้องตั้งอยู่บนหลักความจริง มีกฎหมายรองรับ ไม่ใช่มโน เพราะการจะมโนต้องใช้เป็นประโยชน์แก่จำเลย ไม่ใช่มโนเพื่อจะเอามาลงโทษจำเลย 

นี่คือหลักกฎหมาย