ตั้งคำถามถึงท่านประธานศาลฎีกาต่อนโยบาย”เร่งพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว”ก่อให้เกิดความเป็นธรรมด้วยการตรวจสอบคำพิพากษา อย่างไร 

นับแต่ศาลยุติธรรมได้มีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกาท่านใหม่ นาม ชีพ จุลมนต์  นอกจากจะมีการสั่งฃื้อรถหุ้มเกราะเพิ่มจำนวนถึง16คันเพื่อคุ้มครองชีวิตของผู้พิพากษาตามแนวชายแดนภาคใต้ พร้อมติดตั้งเครื่องบอดี้สแกนตามศาลต่างๆมากมายแล้ว สิ่งหนึ่งที่เกิดในยุคนี้คือ การมีนโยบายเร่งรัดการตัดสินคดีให้รวดเร็ว จึงเป็นที่สะท้อนกลับมาของสังคมว่า เร็วแล้วมีความยุติธรรมหรือไม่

เร็วแล้วตัดสินแบบ”ตีหัวเข้าบ้าน” หรือไม่ โดยเฉพาะในชั้นศาลอุทธรณ์ ฃึ่งผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ชอบใช้มาก ในการตัดสินคดี  ไม่รู้ว่า ศาลยุติธรรมมีการตรวจตราคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ บ้างหรือไม่  

ว่า ถูกต้องตามหลักการเขียนคำพิพากษาหรือไม่  เป็นที่เชื่อมั่นในคำพิพากษานั้นได้หรือไม่  

ยิ่งปัจจุบันศาลฎีกา อยากรับคดีน้อยๆ ด้วยการออกก.มมาบังคับ “ต้องขออนุญาตฎีกา” และ คดีที่เกิดก่อนก.ม ขออนุญาตฎีกามาใช้ คู่ความก็จะเจอคำว่า “คดีไม่เป็นสาระ” แทน ด้วยคำตัดสิน ยกคำฎีกา 

หากปชช.เจอทั้งตีหัวเข้าบ้าน เด้งแล้ว พอขอฎีกาเจออีกเด้ง ดังที่กล่าว ปชช.จะทุกข์มากขนาดไหน

ความเป็นธรรมที่แลกมาด้วยเงินค่าธรรมเนียมให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเป็นเงินถึง200000บาทกับการตัดสินด้วยวิธีการตีหัวเข้าบ้านนั้น คุ้มค่า คุ้มราคาที่ปชช.จะจ่ายเพื่อร้องขอความเป็นธรรมจากศาลยุติธรรมหรือไม่

ใครจะเป็นผู้ตรวจตรา ใครจะเป็นผู้ก้าวล่วงล้วงเข้าไปในคำตัดสินนั้นได้ว่า “คุณภาพ”ของบุคลากรศาลยุติธรรมมีมากน้อยเพียงใด

ในคดีหนึ่ง ของศาลอุทธรณ์ภาค5 ได้สนองนโยบายของท่านประธานศาลฎีกา ได้อย่างน่าชื่นชม คดีนี้ ศาลอุทธรณ์รับคดีวันที่20 กพ62 คำตัดสินออกวันที่ 19 เมษายน 62 สิ้นเวลา สองเดือน เท่านั้น 

นับว่าเป็นผลงานดีเด่นของท่านประธานศาลฎีกา ที่เร่งรัดให้คดีมีการตัดสินได้เร็วเช่นนี้

ส่วนคำตัดสินจะดีหรือไม่ จะมีการเขียนคำพิพากษา คำตัดสินได้ละเอียดรอบคอบทุกประเด็นโต้แย้งหรือไม่

เป็นสิ่งที่ท่านประธานศาลฎีกา  จะตรวจสอบได้อย่างไร  ว่า เร็วและยุติธรรม  และจะมีบทลงโทษอย่างไร ถ้า คำตัดสินนั้น ไม่ต้องด้วยข้อก.ม และ ดุลยพินิจ ไม่ชอบ 

นอกจากใช้คำว่า”ไม่อาจก้าวล่วงได้ “ มาบดบังความยุติธรรมที่ปชช.ควรจะได้รับหรือควรจะได้ตรวจสอบ 

จึงต้องมีการประเมินว่านโยบายของท่านได้รับผลสำเร็จแล้วในทางปฎิบัติแต่ในแง่ของความเป็นธรรม ในแง่ของการเขียนคำพิพากษา เป็นที่ยอมรับของคู่ความหรือไม่ จะมีการตรวจสอบได้อย่างไร 

เป็นสิ่งที่ศาลยุติธรรมควรประเมินด้วยเช่นกัน