อจ.นิติศาสตร์ สะท้อนการเปิดสอบคัดเลือกผู้พิพากษา สนามจิ๋ว ที่คนพูดกันมานานมากแล้วว่าเป็นระบบที่สอบเข้าได้ง่ายกว่าการสอบสนามใหญ่ ประเด็นนี้เป็น ความเสื่อมผุดขึ้นมาเรื่อยๆของ การได้มาฃึ่งคำว่า”ผู้พิพากษา” ถ้าไปแถวแจ้งวัฒนะ จะเห็นผู้พิพากษาที่ทำงานในหน้าที่บริหารด้วย หนุ่ม หล่อ ดีกรีเมืองนอก แต่ตัดสินคดีอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เดินตามประจบสอพลอผุ้ใหญ่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จริยธรรมเสแสร้ง ดัดจริต เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เพราะผู้พิพากษา คือ มนุษย์ปุถุชน เช่นกัน แต่ต้องเป็นมนุษย์ที่ฝึกตนเหนือความดีของคนดีทั่วไป เป็นคนที่พร้อมจะฉลาด รอบรู้ สุจริต จริงใจ เมตตา มีคุณธรรม ศีลธรรม หนักแน่น ฯลฯ เหนือกว่า มนุษย์ ทั่วไป จึงสมควรเป็นผู้พิพากษา มีหน้าที่มาตัดสินมนุษย์ผู้อื่น

ไม่ใช่อ่านคำตัดสินแล้ว คุ่ความรับไม่ได้ แถมสาปแช่ง ด่าทอ กลับไปให้อีก อย่างนี้ถือเป็นบาปหนัก

การมีความรู้ การเขียนคำพิพากษา จึงสำคัญยิ่ง ไม่ใช่เขียนคำตัดสินแค่บรรทัดเดียว จบ หรือ เขียนไม่ครบประเด็นที่คู่ความสุ้คดี

ธงที่วางไว้ในคำพิพากษา ขึ้นกับ ตัวบทกฎหมาย ที่อาจตีประเด็นผิดทาง เพราะปัจจัยภายนอกอาจมีหลายช่องให้เลือกเดิน

อย่างไรเสีย สังคมเริ่มไม่เชื่อใจ “ผู้พิพากษา “ สะสมมานานมากแล้ว หาก ยังเติกร์น้ำดีใน”ผุ้พิพากษา”ไม่ลุกขึ้นมายืนหยัดการเปลื่ยนไปของวัฒนธรรมองค์กรให้หมุนตามโลกที่ไม่อาจปิดบังความเป็นจริงต่อไปได้

เกียรติยศ ศักดิ์ศรี ของ ผู้พิพากษา ที่คนชื่นชมยกย่องมาตลอด ว่า “ท่าน”จะหายไปจากสังคม

กลายเป็น “ไอ้” มาแทน กลายเป็นขยะอีกชิ้นของสังคม สังคมจะป่วยอย่างหนัก ยิ่งกว่าไอฃียู หากองค์กรนี้ยังทำอะไรที่ผิดลู่ผิดทาง เพราะทนงถึงอำนาจที่ไม่มีใครก้าวล่วงได้

สังคมต้องช่วยกันตรวจสอบ องค์กรศาลต้องปฎิรูป

…………………

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อานนท์ มาเม้า อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Arnon Mamout เเสดงความคิดเห็นกรณีการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา เนื้อหาทั้งหมดระบุว่า ขอพูดอีกครั้ง……. อ่านต่อได้ที่ : https://www.posttoday.com/social/general/562372