รัฐบาล“เศรษฐา”ลงมือช่วยเหลือปชช.“แก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ” อย่างรีบด่วน
รัฐบาล“เศรษฐา”ลงมือช่วยเหลือปชช.“แก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ” อย่างรีบด่วน
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ร่วมกับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นาย กิติรัตน์ ณระนอง พร้อมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ฯ แถลงข่าว การแก้ไขและจัดการหนี้ทั้งระบบ ที่ทำเนียบ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ว่า
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนี้ “ทั้งระบบ” อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม โดยภาพรวมลูกหนี้ที่ประสบปัญหา แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19
กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีรายได้ประจำ แต่มีภาระหนี้จำนวนมาก จนเกินศักยภาพในการชำระคืนหนี้ กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน ทำให้การชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง
และกลุ่มที่ 4 กลุ่มที่เป็นหนี้เสียคงค้างเป็นระยะเวลานาน
. รัฐบาลเตรียมแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้ 4 กลุ่ม ดังนี้ – กลุ่มที่1 จะต้องได้รับการช่วยเหลือให้หลุดพ้นจากการเป็นหนี้เสียหรือได้รับการพักชำระหนี้เพื่อผ่อนปรนภาระเป็นการชั่วคราวสำหรับลูกหนี้รายย่อย ซึ่งส่วนใหญ่มีหนี้เสียกับธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. รัฐบาลจึงกำหนดให้ธนาคารทั้งสองแห่งติดตามทวงถามหนี้ตามสมควรและให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้กลุ่มนี้
– กลุ่มที่ 2 จะได้รับการช่วยเหลือผ่าน 3 แนวทางด้วยกัน(แนวทางแรก คือการลดดอกเบี้ยสินเชื่อไม่ให้สูงจนเกินไปแนวทางที่สอง จะต้องโอนหนี้ทั้งหมดไปไว้ในที่เดียว และแนวทางสุดท้าย คือ บังคับใช้หลักเกณฑ์การตัดเงินเดือน ให้ลูกหนี้มีเงินเดือนเหลือเพียงพอต่อการดำรงชีพ) –
กลุ่มที่ 3 จะได้รับการช่วยเหลือ โดยการพักชำระหนี้เป็นการชั่วคราว การลดดอกเบี้ย หรือลดเงินผ่อนชำระในแต่ละงวดให้ต่ำลง เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ของลูกหนี้ –
กลุ่มที่ 4 กลุ่มนี้เป็นหนี้เสียคงค้างกับสถาบันการเงินของรัฐมาเป็นระยะเวลานาน กลุ่มนี้จะโอนไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินของรัฐและบริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งจะทำให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้เป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น
ขณะที่ลูกหนี้ตั้งข้อสังเกตุว่า
1. บริหารสินทรัพย์ฃื้อถูก รับโอนถูก นำไปขายแพง และให้ชำระทีเดียวทั้งก้อน หรือเพียงสามงวด และไม่เปิดโอกาสให้เจ้าของเดิมฃื้อได้ในราคาที่สมควร ที่สำคัญคือ ของดีดีหลุดมือไปสู่นายทุนใหญ่กันเกือบหมด
2. ลดดอกเบี้ย แยก ดอกเบี้ยบ้าน ต้องไม่เกิน ….
ดอกเบี้ยธุรกิจต้องไม่เกิน ….. เพื่อสนับสนุนให้ปชช.ต้องมีบ้านอาศัย และ ธุรกิจต้องดำเนินต่อไปได้
3. การชำระเงินงวดต้องมีเงินต้นรวมดอกเบี้ย เป็นสัดส่วน
4. อย่าปล่อยให้ธนาคารเอาเปรียบปชช.มากเกินไป อย่างที่ผ่านมาในรอบห้าปี นี้
5. คัดสรรผู้บริหารธนาคารรัฐ ที่มีจริยธรรม จรรยาบรรณ เป็นคนดี มีความสามารถ ดูแลธนาคารรัฐนำร่องไม่ให้เกิดการหาประโยชน์จากหนี้ของปชช. อาทิ การกลั่นแกล้ง การเรียกรับ จนลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ถ้าไม่จ่ายใต้โต๊ะ หรือปล่อยเงินกู้เพื่อเอื้อประโยชน์เรียกรับค่าบริการ3% เช่นกรณีธอส.ร่วมกับบริษัท เอกชน รับบริการดำเนินการหาเงินกู้ฃื้อบ้านในอัตรา 20,000 + 3% ของยอดเงินกู้ (ทำได้ด้วยหรือ)
ตนขอสนับสนุนแนวทางที่รัฐบาลกำหนด ตามที่แถลงข่าว ขอให้ทำได้ดี ได้สำเร็จ
และจะดีที่สุด ถ้าเปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนจากปชชต่อกรณีผลกระทบที่เกิดจากมาตรการนี้ที่อาจมีบางธนาคารบางสถาบันการเงินนันแบงค์ ไม่ปฎิบัติตามหรือปฎิบัติแต่มีเลห์กลแฝงอยู่
ฃึ่งอย่างน้อยรัฐบาลภายใต้พรรคเพื่อไทย นี้ก็มีใจช่วยเหลือปชช.ถูกจุด เป็นรูปธรรม ชัดขึ้น ทำให้ปชช.มีความหวังขึ้นมาบ้างแล้ว
ใส่ความเห็น