ธปทเผยผลงานธนาคารพาณิชย์ไตรมาสแรกกำไร51.1พันล้านบาท ขณะที่กรมบังคับคดีเผยขายทรัพย์ลูกหนี้ได้ถึงสามหมื่นกว่าล้านบาทกินค่าธรรมเนียมขายไป810ล้าน วีคลี่นิวส์เตรียมเปิดตัวเลขจำนวนคนล้มละลายจากศาลล้มละลายเป็นสัดส่วนเท่าใดของคดี เร็วๆนี้
ธปท.เผยผลดำเนินงานธนาคารพาณิชย์ไตรมาส1 กำไร 51.1 พันล้านบาท ขณะที่ผลการขายทอดตลาดทรัพย์ลูกหนี้ของกรมบังคับคดีอยู่ที่ สามหมื่นกว่าล้านบาท สูงกว่าปีก่อนถึง60.33 คาดจะมีปชชล้มละลายตามคำสั่งศาลอีกจำนวนมาก นับจากนี้
นางสาวดารณี แซ่จู ผู้อานวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการดาเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1 ปี 2560 ว่า สินเชื่อยังขยายตัวอยู่ในระดับต่า โดยขยายตัวทั้งในสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อ SME ขณะที่คุณภาพสินเชื่อด้อยลงจากผลกระทบ ของภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีระบบธนาคารพาณิชย์ยังมีความมั่นคง มีเงินสารองและ เงินกองทุนอยู่ในระดับสูง รวมทั้งมีกาไรสุทธิใกล้เคียงกับปีก่อนจากการบริหารด้านหนี้สินเป็นสาคัญ โดยมี รายละเอียดดังนี้
สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบระยะเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับ การขยายตัวของเศรษฐกิจที่การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนยังไม่เข้มแข็งนักและหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ใน ระดับสูง อีกทั้งภาคธุรกิจมีทางเลือกในการระดมทุนผ่านตราสารหนี้และหุ้น อย่างไรก็ดี ทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาด ใหญ่และธุรกิจ SME ขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้จะยังกระจุกตัวในธุรกิจบางประเภท ทั้งนี้ ในภาคธุรกิจการเงิน มีการคืนหนี้ธนาคารพาณิชย์ ด้วยการออกหุ้นกู้ทดแทนเพื่อควบคุมต้นทุนทางการเงิน ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ย ตลาดพันธบัตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
สินเชื่อธุรกิจ (ร้อยละ 67.4 ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบระยะเดียวกันปีก่อน โดย ขยายตัวทั้งในสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อ SME สาหรับสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ (ไม่รวมธุรกิจการเงิน) กลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 3.9 หลังจากหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 โดยสินเชื่อขยายตัวจากบาง ภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจพลังงาน การขนส่ง และที่พักแรม สอดคล้องกับภาคส่งออกที่เริ่มฟื้นตัวและ การท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้น สินเชื่อ SME (ไม่รวมธุรกิจการเงิน) ขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะในธุรกิจการผลิตยางและพลาสติกและการขายส่งวัตถุดิบทางการเกษตร สอดคล้องกับราคายาง และผลผลิตสินค้าเกษตรที่ปรับดีขึ้น
สินเชื่ออุปโภคบริโภค (ร้อยละ 32.6 ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ ร้อยละ 4.6 โดยชะลอตัวในพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ขณะที่สินเชื่อรถยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับยอดการซื้อรถยนต์ที่ปรับดีขึ้นหลังจากสิ้นสุดเงื่อนไขระยะเวลา 5 ปี ในการถือครอง รถยนต์คันแรก
คุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ด้อยลงจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ทาให้สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPL) ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ที่ร้อยละ 2.83 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.94 โดยเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และ SME ในบางอุตสาหกรรม และสินเชื่อธุรกิจ SME ในภาคพาณิชย์ ขณะที่คุณภาพสินเชื่ออุปโภคบริโภคด้อยลงจากสินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นหลัก ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention Loan : SM) ต่อสินเชื่อรวมลดลง เล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.61 จากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรอง อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อ โดยเงินสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเป็น 5.45 แสนล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเงินสำรองที่มีต่อเงินสำรองพึงกันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 161.8 จากสิ้นปี 2559 ที่ร้อยละ 159.6
ในไตรมาส 1 ปี 2560 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 51.1 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับระยะเดียวกัน ปีก่อน โดยอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin : NIM) ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ซึ่งเป็นผลจากการบริหารด้านหนี้สินเป็นสำคัญ ขณะที่ระบบธนาคารพาณิชย์มีค่าใช้จ่ายจากการกันสำรอง เพื่อรองรับคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงอย่างต่อเนื่อง
ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง รวมทั้งสิ้น 2,310.4 พันล้านบาท ลดลงเล็กน้อย จากการไถ่ถอนตราสารหนี้ด้อยสิทธิ (Tier 2) ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) และ อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common Equity Tier 1 : CET1 ratio) อยู่ที่ร้อยละ 17.8 และ 15.1 ตามลำดับ
ขณะที่ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี แถลงผลการปฏิบัติงานของกรมบังคับคดีในไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 (มกราคม–มีนาคม 2560) ว่า สามารถผลักดันทรัพย์ออกจากระบบบังคับคดีได้จำนวน 32,426,569,877 บาท ซึ่งสูงกว่าไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ถึงร้อยละ 60.33
วีคลี่นิวส์ได้ติดตามสภาวะเศรษฐกิจพบว่าปชชบ่นเรื่องการค้าขายยากขึ้นแต่ค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้นมาก เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอาหารต่อจานตามตลาดทั่วไป มีราคาจานละไม่ต่ำกว่า50 บาทและมีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอ ดังนั้นผู้บริโภคจึงต้องสั่งถึงสองจานจึงจะอิ่ม ปชชฝากถึงรัฐบาลน่าจะได้ออกตรวจตราราคาอาหารที่พุ่งขึ้นมากโดยเฉพาะตลาดในต่างจว. สูงโดยใช่เหตุ
หากเป็นเช่นนี้จะเกิดหนี้nplขึ้นมาและนำไปสู่ปชชของปทเป็นบุคคลล้มละลายจำนวนมาก ฃึ่งการล้มละลายของปชชมีกลุ่มที่ได้ผลประโยชน์คือ ธนาคารพาณิชย์ กรมบังคับคดี ที่ได้ค่าธรรมเนียมในการขายทอด การถอนการยึด ถึง 2.5 % ของยอดขายทั้งหมด
ทั้งนี้การพิจารณาว่าบุคคลใดควรล้มละลายหรือไม่ขึ้นกับการพิจารณาของศาล ฃึ่งตัวเลขจำนวนบุคคลล้มละลายจากการฟ้องของสถาบันการเงินที่ศาลสั่งให้ล้มละลายเป็นจำนวนเท่าใดนั้น วีคลี่นิวส์จะได้ติดตามมาเสนอข่าวต่อไป
ใส่ความเห็น