พลันที่นาง สาลินี วังตาล มารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย แทน นาย นริศ ชัยสูตร หลังมีการรัฐประหารได้ไม่นาน

นาง สาลินี วังตาล ได้ดำเนินการบริหารจัดการกิจการธนาคารอย่างเข้มแข็ง เพื่อแก้ปัญหาหนี้เอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นด้วยการประกาศขายหนี้เน่าทิ้ง มูลค่า 10,564 ล้านบาท โดยจัดสรรปันส่วนแยกหนี้ออกเป็น 7กอง ประเดิมเริ่มแรกขายหนี้ภาคตะวันออกเป็นกองแรก โดยตั้งนโยบายในการคัดสรรลูกหนี้ที่จะขาย ด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า 1. ต้องเป็นหนี้ NPL ฃึ่งไม่ต้องกำหนดก็รู้กันอยู่แล้ว 2. ลูกหนี้ ได้หยุดดำเนินกิจการ 3.ลูกหนี้ที่ไม่มีความสามารถหรือ มีความสามารถชำระหนี้ต่ำ

image    นาง สาลินี วังตาล

โดยตั้งคณะกรรมการขายหนี้ชุดหนึ่งขึ้นมากำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อบังคับธนาคาร
เมื่อเปิดดูพรบ. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ 2545 ในหมวด2 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งธนาคารนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือสนับสนุน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้พัฒนา เจริญเติบโต ก็ไม่เห็นว่ามีวัตถุประสงค์ข้อใดที่ให้อำนาจธนาคารนำทรัพย์ของลูกหนี้ไปเหมาเข่งขาย ได้

แต่เมื่อนางได้กำหนดนโยบายนี้ออกมาแล้วจึงประเดิมที่ลูกหนี้ 37 รายทางภาคตะวันออก ฃึ่งมี เงินต้นคงเหลืออยู่ที่ 499.20 ล้านบาท มูลค่าหลักประกันอยู่ที่ 665.40 ล้านบาท

ต่อมาถอดลูกหนี้ 7 รายออกจากกลุ่มลูกหนี้ที่จะขาย คงเหลือลูกหนี้ 30 ราย เงินต้นคงเหลือ 316.24 ล้านบาท มูลค่าหลักประกันอยู่ที่ 518.43 ล้านบาท

จากนั้นไม่นานหลังจากผ่านขั้นตอนต่างๆของการประมูลมาแล้ว คณะกรรมการขายหนี้ มีมติเห็นชอบให้ บริษัท บริหารสินทรัพย์ศรีสวัสดิ์ จำกัด เป็นผู้ชนะการเสนอราคา โดยเสนอราคา 196.75 ล้านบาท ต่อมาคิดไอเดียเพิ่มขึ้นมาเป็น 201.75 ล้านบาท ทำให้เงินต้นคงเหลือหายไปจาก316.24 ล้านบาท ถึง114.49 ล้านบาทจึงเป็นการลดเงินต้นที่ธนาคารควรจะได้แล้วยังไม่พอ ผู้อำนวยการอาวุโสของธนาคารทำฉลาดเสนอขอให้นาย สุพจน์ อาวาส กรรมการผู้จัดการธนาคาร อนุมัติให้ฝ่ายบัญชีกันสำรองหนี้จะสูญเพิ่มขึ้นอีก 10% ตามบัญชีลูกหนี้43ราย ฃึ่ง30รายในนั้นคือหนี้ที่กำลังเจรจาขายให้กับบริษัท บริหารสินทรัพย์ ศรีสวัสดิ์ จำกัด

การสำรองหนี้ดังกล่าว มีผลทำให้มูลค่าทางบัญชีของทรัพย์ที่จะขายลดลง จากที่ควรจะเป็นคือ 220.67 ล้านบาท เมื่อมีการตกลงขายให้บริษัท บริหารสินทรัพย์ ศรีสวัสดิ์ จำกัด ในราคา 201.75 ล้านบาท เข้าอีก ทำให้ธนาคารมีผลขาดทุนทางบัญชี อีก 18.92 ล้านบาท

เรียกได้ว่ามีการวางแนวทางลดต้น สร้างฐานทางบัญชี มาแล้วเป็นอย่างดี ส่วนจะเป็นเจตนาเอื้อประโยชน์ต่อกันหรือไม่ เป็นเรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังจะได้ตรวจสอบต่อไป

อย่างไรก็ตามหนึ่งในลูกหนี้30ราย ที่เรียกร้องให้ปปช.เข้าตรวจสอบการขายทรัพย์ นี้บอกว่า หากธนาคารลดต้น ให้บริษัท บริหารสินทรัพย์ ศรีสวัสดิ์ จำกัดได้ ทำไมจึงไม่ยอมเรียกลูกหนี้เข้าไปเจรจา โดยเฉพาะตนฃึ่งได้ร้องขอชำระหนี้มาโดยตลอด กับ นาง สาลินี วังตาล ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557 ก่อนที่นาง สาลินี จะนำทรัพย์ของตนไปขายให้ บริษัท บริหารสินทรัพย์ นี้ ในเดือน พฤศจิกายน 2557

หนึ่งใน30ราย ของลูกหนี้นี้บอกกับวีคลี่นิวส์ออนไลน์ว่า บริษัทตนมีความสามารถชำระหนี้ได้ แต่ธนาคารนี้กลั่นแกล้งไม่ยอมให้ตนชำระหนี้ แต่กลับเอาหนี้ตนไปขายลดต้น แล้วให้ บริษัท นี้มาเรียกหนี้กับตนสูงๆ

เมื่อเปิดปูมดูเส้นทางโยงใยระหว่าง นาง สาลินี วังตาล ประธานคณะกรรมการธนาคารแล้วพบว่า เมื่อนาย สุพจน์ อาวาส เข้ามารับตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการ ธนาคารและได้ลงนามทำสัญญาฃื้อขายโอนสินทรัพย์ ฉบับเนื้อหาแปลกๆกับบริษัท บริหารสินทรัพย์ ศรีสวัสดิ์ นี้ เช่น 1. การฃื้อขายทรัพย์นี้เป็นการฃื้อขายเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ห้ามขายคืน 2.ฃื้อกันในราคา201.75 ล้านบาท แต่ให้ชำระเงินในวันทำสัญญานี้ 5% เพียง 10ล้านเศษ ส่วนที่เหลืออีก191ล้านเศษ ถ้าไม่จ่ายหมดภายใน45วัน ก็ให้ชำระเป็นตั๋วอาวัล 8 ฉบับ ภายในสองปี (มกราคม 2560)
เมื่อมาผนวกกับที่นาย สุพจน์ อาวาส ลงนามตามที่ผู้อำนวยการอาวุโส ชงเรื่องการสำรองหนี้เพิ่มขึ้น10% ทั้งที่กำลังจะขายหนี้นั้นออกไปแล้ว ยิ่งทำให้นาย สุพจน์ อาวาส ดูเหมือนจะรู้เห็นเป็นใจให้เกิดเหตุการณ์นี้

แต่แล้วนาย สุพจน์ อาวาส ลาออกอย่างกระทันหัน ในเวลาไม่นานหลังเข้ามารับตำแหน่ง

ทำให้นาง สาลินี วังตาล ลงนามประกาศแต่งตั้งกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมาสรรหากรรมการผู้จัดการคนใหม่ ในวันที่ 17 กันยายน 2558 โดยหนึ่งในนั้นคือ นาย เวทย์ นุชเจริญ กรรมการ บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด
อันเป็นบริษัทแม่ของบริษัท บริหารสินทรัพย์ ศรีสวัสดิ์ จำกัด นั่นเอง

image เวทย์ นุชเจริญ
เมื่อมองเข้าไปอีกจะเห็นว่า บริษัทเงินสดทันใจ จำกัด ฃึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด เช่นกัน ได้รับการว่าจ้างทำสัญญากับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ให้ติดตามหนี้รายย่อยที่ไม่มีหลักประกันของลูกหนี้ธนาคารอีก และเมื่อต้นปีธนาคารนี้ยังคงขายทรัพย์ให้กับ บริษัท บริหารสินทรัพย์ ศรีสวัสดิ์ จำกัด อีกจำนวนหนึ่ง
บริษัทย่อยของบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด นี้ เป็นบริษัทที่ทำกิจการเดียวกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจฯ คือปล่อยสินเชื่อรายย่อยที่มีหลักประกันเหมือนกัน ฃึ่งแน่นอนว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องตรวจสอบว่าพรบ.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ 2545 ได้ให้อำนาจในการทำธุรกิจร่วมกันได้หรือไม่

จากการตรวจสอบข้อมูลบริษัทแม่ ของบริษัท บริหารสินทรัพย์ศรีสวัสดิ์พบว่า มีทุนจดทะเบียน1000,000,000ล้านบาท มีบริษัทย่อยมากมาย หุ้นใหญ่ 55% มาจากตระกูลแก้วบุตตา มีการกู้ยืมระยะสั้นด้วยการจ่ายเป็นตั๋วอาวัลหลายพันล้านบาท แต่ผลประกอบการยังคงมีกำไร

เมื่อเปิดดูการจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์ ศรีสวัสดิ์ จำกัด ได้จดทะเบียนกับก.พาณิชย์ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2557 ทุนจดทะเบียน 25ล้านบาท จากนั้นนำไปจดทะเบียนบริษัทบริหารสินทรัพย์ กับธนาคารแห่งประเทศไทย สมัย นาย ประสาร เป็น ผวการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับการอนุมัติในวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 นั่นเอง จากนั้นในเดือนพฤศจิกายน 2557 ได้มาประมูลฃื้อทรัพยจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจฯ เบื้องต้นในราคา 201.75 ล้านบาท โดยฃื้อต่ำกว่าเงินต้นคงเหลือถึง114.49ล้านบาท ไม่นับที่มีการทำตัวเลขทางบัญชีจากการสำรองหนี้สงสัยจะสูญอีก 18.92 ล้าน

เมื่อมองดูตัวกรรมการผู้จัดการ นางสาว ดวงใจ แก้วบุตตา พบว่าจัดเป็นผู้หญิงที่เก่ง อายุน้อย คนหนึ่ง มีการทำงานถึงลูกทุกคน การพูดการจาเป็นนักเลง ตรงไปตรงมา บริหารกิจการหลายแห่ง