ชื่นชมรัฐบาลยุคนี้ช่วยลูกหนี้ลดภาระค่าธรรมเนียมจ่ายกรมบังคับคดีพร้อมเรียกร้องให้แก้ไขก.ม มาตรา334ป.วิแพ่ง ที่ไม่ชอบธรรมต่อลูกหนี้ด้วย

เป็นข่าวร้อนที่ต้องปรบมือให้รัฐบาลยุคนางสาว แพทองธารชินวัตร ร่วมกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เสนอขอแก้ไขก.ม ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง เกี่ยวกับการลดค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี (ยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ และถอนบังคับคดี) 

                โดยการแก้ไขก.ม ดังกล่าว แม้ก.ม จะให้เจ้าหนี้เป็นผู้จ่ายแต่ความจริงคือเจ้าหนี้ผลักภาระให้ลูกหนี้เป็นฝ่ายจ่ายแทนทั้งสิ้น

                  ส่งผลให้ต่อไปหากการแก้ไขก.ม ดังกล่าวสำเร็จ จะทำให้ 

  1. ค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด เดิมคิด 3% เหลือ 2% ของจำนวนเงินที่ขายหรือจำหน่าย
  2. ค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินที่ยึดหรืออายัดแก่เจ้าหนี้ เดิมคิด 2% เหลือ 1% ของจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัด
  3. ค่าธรรมเนียมการยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย เดิมคิด 2% ของจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัด ปรับใหม่เป็นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
  4. ค่าธรรมเนียมการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย เดิมคิด 1% ของจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัด หรือราคาทรัพย์สินที่อายัด ปรับใหม่เป็นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
  5. ค่าธรรมเนียมการขายโดยวิธีประมูลระหว่างคู่ความ เดิมคิด 2% เหลือ 1% ของราคาประมูลสูงสุด 

ทั้งหมดนี้ถือได้ว่ารัฐบาลชุดนี้โดยกระทรวงยุติธรรมตั้งใจทำเพื่อประชาชนคนเป็นลูกหนี้อย่างแท้จริง เพราะการเรียกค่าธรรมเนียมที่ผ่านมาทำให้คนเป็นลูกหนี้ต้องเดือดร้อนสาหัสเพิ่มขึ้นจากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว อันเป็นผลทำให้กรมบังคับคดีได้รับอานิสงค์ในตัวเงินที่ขายทรัพย์ได้ปีหนึ่งหลายล้านล้านบาท ส่งเข้าคลัง 

                    อีกส่วนหนึ่งกรมบังคับคดีได้เป็นสวัสดิการนำไปใช้จ่ายกันเองภายใน ปีหนึ่งเป็นพันล้านบาท กอบโกยบนความทุกข์ยากของลูกหนี้ นอกเหนือจากการออกกฎหมายที่เลวร้ายรังแกลูกหนี้อ้างความชอบธรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อช่วยให้นายทุนธนาคารได้ประโยชน์เป็นส่วนใหญ่จากการแก้ไขกฎหมายประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อปี2560โดยรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทรโอชา เป็นนายกรัฐมนตรี 

                 กฎหมายดังกล่าวที่รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ ออกใช้บังคับคือ กฎหมายมาตรา334 ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่เป็นกฎหมาย “ขับไล่ให้ลูกหนี้ออกไปนอนนอกถนน” กล่าวคือ

  1. เป็นการบังคับใช้กฎหมาย โดยไม่ต้อง”ขอออกคำบังคับ “
  2. เจ้าหนี้หรือผู้ฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ร้องขอให้ศาล”ออกหมายบังคับคดี” ฝ่ายเดียว ขับไล่  ให้ลูกหนี้และบริวารได้ทันที โดยไม่มีการติดประกาศขับไล่ 
  3. เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีการติดประกาศให้ผู้มิใช่บริวารได้แสดงอำนาจพิเศษตามกฎหมายก่อน
  4. เจ้าหนี้หรือผู้ฃื้อทรัพย์ขายทอดตลาด สามารถร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเสนอศาล”ขอออกหมายจับ”ลูกหนี้และบริวาร ได้ทันที โดยศาลไม่ต้องสอบสวน สืบสวนก่อนแต่อย่างใด เพียงแค่สำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้และบริวารเพียงใบเดียวเท่านั้น  ศาลก็ออกหมายจับให้ทันที

                       ฃึ่งการกระทำดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา276 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 213แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ เป็นเรื่องที่รัฐบาลควรตรวจสอบว่าออกกฎหมายมาโดยชอบหรือไม่ ยุติธรรมกับลูกหนี้หรือไม่ ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญในเรื่อง “ จับกักขัง”สิทธิเสรีภาพของปชช. โดยองค์กรศาลยุติธรรมได้มีการวางนโยบายในเรื่องการออกหมายจับ “ไล่ให้ลูกหนี้และบริวารไปนอนบนถนน”อย่างไร หรือไม่ 

                  และการออกหมายจับ ด้วยการแสดงสำเนาทะเบียนบ้านเพียงใบเดียว อย่างเดียว ถือเป็นการ”ยังคงอยู่อาศัยในทรัพย์พิพาท”หรือไม่ หากปรากฎว่าตัวบุคคลมิได้อาศัยอยู่ในทรัพย์นั้นจริงตามนายทุนธนาคารหรือผู้ฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดยกเป็นข้ออ้างให้ศาลออกหมายจับ และศาลก็เห็นหลักฐานเพียงนั้น ศาลจะออกหมายจับให้ทันที  

                  จึงเป็นกฎหมายที่ไม่มีความเป็นธรรม ฟังความฝ่ายเดียว ให้สิทธิให้อำนาจคนเป็นเจ้าหนี้หรือผู้ฃื้อทรัพย์มากเกินไปหรือไม่

                   รัฐบาลนี้ควรจะตรวจสอบเช่นกัน กรณีนี้มีคดีตัวอย่าง เกิดขึ้น ในศาลแพ่งรัชดา 

ธนาคารรัฐรับเงินชำระหนี้ไปครบถ้วนแล้ว แต่ไม่ยอมคืนโฉนดให้ลูกหนี้ กลับใช้กฎหมายมาตรา334นี้ ร้องขอให้ศาลขับไล่ออกหมายจับ ไล่ลูกหนี้และบริวาร ที่ชำระหนี้แล้วแต่ถูกกลโกงของธนาคารรัฐกลั่นแกล้งแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอนำทรัพย์ที่ลูกหนี้ชำระหนี้แล้วออกขายทอดตลาด อ้างว่าจะไปฃื้อทรัพย์มามอบคืนให้ลูกหนี้ แต่เมื่อได้ทรัพย์มาแล้วไม่ยอมคืน  ยังใช้อำนาจศาลขับไล่ ให้ออกจากทรัพย์

                เป็นคดีในศาลแพ่งรัชดาที่ควรต้องตรวจสอบ ว่าเป็นปัญหาจากการออกกฎหมายมาตรา334นี้มาบังคับใช้หรือไม่ และควรต้องหยิบยกมาแก้ไขให้ความถูกต้องเป็นธรรมต่อลูกหนี้ด้วย จะได้ไม่มีเหตุมษตกรรมเจ้าหนี้ให้ปรากฎอีก

พัชรินทร์ พันธวงศ์

moopa50@hotmail.com