อัปยศวงการศาล  สังคมต้องตีแผ่ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไข 

เห็นข่าวผู้พิพากษา รายหนึ่ง จาก เจ็ดราย ในคดีทุจริตเดียวกัน สู้คดีม.157 ข้าราชการประพฤติมิชอบ  ฟ้องโดยปปช. 

คดีนี้แสดงถึงอิทธิพลในองค์กรศาล เป็นอิทธิพลใหญ่มากแต่ยังไม่เป็นที่เกรงกลัวให้แก่ผู้พิพากษารายอื่นๆ

เพราะยังปรากฎการทุจริตกันอยู่เนืองๆ

คดีนี้มูลค่าที่ตรวจเจอคือ70 ล้านบาท คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (กต.) ตัดสินไม่เอกฉันท์ สั่งไล่ออกจากราชการ

กต.มีทั้งหมดมากกว่าสิบคน ล้วนมาจากตำแหน่งผู้พิพากษาเกือบทั้งสิ้น แต่มีสองคนมาจากผู้ทรงคุณวุฒิจากสมาชิกวุฒิสภา 

ดังนั้นการมีมติไล่ออกจึงน่าจะยุติคดีสิ้นสุดโดยการพิจารณาโทษทางอาญาพร้อมกันไปในตัว เพราะถือเป็น”ภัยต่อสังคม”อย่างร้ายแรง 

คดีนี้ส่งให้ดีเอสไอ ตามติด ลำพังปปช.คงไม่มีความสามารถเอาผิดได้เพราะสอบสวนไม่ถึง ฟังแต่ข้อมูลอย่างเดียวเนื่องจากเครื่องมือกลไกมีไม่พร้อมจึงต้องใช้ดีเอสไอ ช่วยตามสืบจนได้หลักฐาน

มีเพื่อนเป็นผู้พิพากษาฎีกา เล่าให้ฟังว่า  ที่ผ่านมากต.ไล่ออกแล้วไม่มีการดำเนินคดีม.157  มันจริงไหม  ต้องไปตรวจค้นและถ้าไม่เคยมีจริงนั่นหมายถึงว่า องค์กรศาลละเลยหรือไม่

คดีนี้จึงหมายใช้ม.157  เป็นตัวอย่างจริงหรือไม่

แต่หากใช้ครั้งแรกก็เห็นอุปสรรคแล้วว่า มีการสู้คดีแค่ชั้นต้นก็นานหลายปี นับแต่ที่โดนไล่ออกก็คงจะเกือบสิบปี  ทรัพย์ที่ทุจริตก็กลายเป็นปุ๋ยหมดแล้ว

ฃ้ำเมื่อเข้าสู่การพิจารณาของศาลทุจริตและประพฤติมิชอบ ยัง”สั่งยกฟ้อง” อีก ยิ่งสะท้อนการเอาผิด ยากขึ้นไปอีก 

เพราะอะไร ดุลพินิจ ที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ เป็นบ่อเกิดกระนั้นหรือ

ความรู้ ความสามารถ ความสุจริต ยังใช้ได้อยู่ไหม 

การยึดทรัพย์ ที่ทุจริตเข้าหลวง  ทำไมใช้ได้กับบางคน “ในทันที”

แต่ภัยจากการทุจริตของผู้พิพากษา เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมและความมั่นคงของรัฐ  กลับไม่ได้รับการ “ลงโทษ”ในทันที

ต้องมาฟ้องร้องผ่านศาลทุจริต ฯ อีกรอบ ทั้งที่คณะกรรมการกต.กว่าจะไล่ออกได้ก็ต้องมีหลักฐานเพียงพอ ควรจะพิจารณาหรือแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้อง” one stop service”ไปในคราวเดียว สังคมจึงจะเชื่อมั่นว่าองค์กรศาลตั้งใจ เอาจริง กับการแก้ปัญหาทุจริตในองค์กรศาลอย่างจริงจัง 

ไม่มีขบวนการแต่ละภาค แต่ละศาล  “หากินกับการใช้ดุลพินิจที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ “ มาเป็นเครื่องมือในการทุจริต และ อคติ  ต่อ การพิจารณาคดี 

มีเรื่องจริงเกิดขึ้น เป็นที่ตั้งข้อสงสัยคดีหนึ่ง

เป็นคดีเพิกถอนการโอนนิติกรรมที่ดิน ในศาลล้มละลาย ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีผู้คัดค้านถึง สี่ราย แต่มีรายหนึ่งฃึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์นั้น”ไม่ถูกเรียกเข้าไปในคดี” และอีกรายฃึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์เดิมก่อนที่จะทำนิติกรรมโอนที่ดินนั้นให้แก่จำเลย ไม่ได้ถูกสอบสวน หรือ เรียกไปให้การทั้งต่อศาลและต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฃึ่งต้องปฎิบัติหน้าที่ตามคำสั่งกรมบังคับคดีที่451|49 

เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เตรียมทำคำฟ้องเพิกถอน  เจ้าของทรัพย์เดิมเป็นบริษัทฃึ่งทราบเรื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงทำหนังสือคัดค้านและขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการให้ถูกระเบียบในการทำสำนวนเพิกถอนก่อน ด้วยเหตุผลว่า“ทรัพย์นั้นไม่ใช่ของลูกหนี้ แต่เป็นทรัพย์ของบริษัท” 

ส่วนบริษัทก็ยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยมิชอบ ขัดต่อคำสั่งกรมบังคับคดี 

แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สนใจอ้างว่า ดำเนินการชอบแล้ว การจะสอบสวนบริษัทหรือทายาทเจ้าของทรัพย์ ก็ไม่มีผลทำให้คำสั่งนั้นเปลื่ยนแปลงไป จึงยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลเพิกถอนในทันที

คดีขึ้นสู่ศาลล้มละลาย มีผู้พิพากษา ก.และ ข สองคนทำหน้าที่ ในคดีเพิกถอน ฃึ่งดำเนินการฟ้องร้องใกล้เคียงกัน แต่คดีเพิกถอนนำลิ่วไปก่อนเพราะสถานการณ์โควิด 

ด้วยดุลพินิจที่ไม่อาจก้าวล่วงได้  ผู้พิพากษา ก และ ข  จึงตัดสินตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่ง “เพิกถอนการโอนนิติกรรม” คดีอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษ 

ส่วนคดีฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการสั่งเพิกถอนไม่ชอบนั้น เริ่มพิจารณาและสืบพยานนัดเดียว เป็นผู้พิพากษาสองคน ค.และ ง. 

เมื่อถึงวันนัดสืบพยาน ผู้พิพากษาสองคน ค.และ ง. ถูกเปลื่ยนตัว เป็น ผู้พิพากษา ก และข  

โจทก์หรือผู้ร้อง  แปลกใจ  ตั้งคำถามกับตัวเองและประธานศาลฎีกา พร้อม กต. ว่า  คดีตนจะได้รับความเป็นธรรมหรือ 1.  เมื่อหากตัดสินให้คดีตนชนะ นั่นหมายถึงว่าจะไปกระทบกับคดีที่ถูกสั่งเพิกถอนนิติกรรมไปแล้วหรือไม่  และ 2. ผู้พิพากษาในคดีนั้นมาเป็นผู้พิพากษาในคดีนี้ จะตัดสินให้ตนชนะหรือ 3. การโอนสำนวนคดีและเรียกคืนสำนวนคดี เป็นไปตามข้อกฎหมายหรือไม่ 

แต่คำตอบจากประธานศาลฎีกาและหรืออาจจะมาจากกต.แต่ลงนามโดยเลขาธิการศาลยุติธรรม กลับตอบว่า การโอนสำนวนคดีและเรียกคืนสำนวนคดี เป็นเพราะการรับคดีไว้ก่อน และต่อมาจึงแจกสำนวนในภายหลัง

ส่วนเรื่องเป็นธรรมต่อผู้ฟ้องคดีนั้นหรือไม่ ไม่มีคำตอบ 

ผลจึงเป็นที่สิ้นสุด

พอถึงวันนัดฟังคำสั่งในคดีนี้ก็เป็นไปตามคาด   สองผู้พิพากษา ก และ ข  สั่งยกคำร้อง  ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้อง

เป็นไปตามที่ผู้ร้อง ตั้งคำถามร้องไปยังประธานศาลฎีกาและคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม แต่ได้รับคำตอบไม่ตรงตามที่ถาม

ผู้ร้องจึงยื่นเรื่องขออนุญาตอุทธรณ์ ทั้งที่องค์กรศาลไม่ควรจะต้องขอแก้กฎหมายริดรอนสิทธิของปชช.ในการสู้คดีตามรัฐธรรมนูญกำหนดเพียงเพื่อประโยชน์ของตนเองว่าทำงานหนักจึงแก้กฎหมายให้ทำงานกันอย่างน้อยคดี ด้วยการจะอุทธรณ์ต้องขออนุญาตเสียก่อน หากไม่ได้รับการอนุญาตก็จะอุทธรณ์และฎีกาไม่ได้

เป็นความอัปยศของระบบยุติธรรมต่อประชาชน ผู้จ่ายภาษีนำไปใช้บริหารประเทศแต่ตัวเองกลับถูกยำยี่สิทธิที่ควรจะได้รับการปกป้องจากระบบยุติธรรม เพียงเพราะคดีมีมาก ทำให้ผู้พิพากษาทำงานเหนื่อยยาก ขณะที่ประชาชนก็ทำงานเหนื่อยยากเช่นกันหาเงินมาจ่ายภาษีเพื่อให้รัฐทำงานเพื่อประชาชน

ผู้ร้องยกข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงเข้าสู่กระบวนการ”ขออนุญาตอุทธรณ์”โดยเชื่อมั่นว่าศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษแผนกคดีล้มละลายจะดำเนินการอย่างมีจริยธรรมตามที่กฎหมายกำหนด 

โดยข้อกฎหมายที่ยกอ้างอิงนั้น น่าสนใจไม่น้อย เพราะมีวิธีนำเสนอที่ให้ความคิดเห็นอย่างน่าศึกษา ทีเดียว แต่อาจจะแสลงเป็นพิษด้วยสำบัดสำนวนและเนื้อหาในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่นำเสนอ

แต่น่ารับฟังมาก

และสิ่งที่ผู้ร้องบอกว่าเป็นไปตามคาดอีกเช่นเคย เพราะศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ  พิจารณาอย่างรวดเร็วตามระเบียบต้องเสร็จภายหนึ่งเดือน ส่วนจะรวบรัดตัดตอนรีบพิจารณาหรือไม่ องค์กรศาลต้องตรวจสอบและทำแบบประเมินว่าระยะเวลาหนึ่งเดือนที่ต้องพิจารณาให้เสร็จนั้น”เป็นผลดีหรือผลเสีย มีความรอบคอบหรือรีบเร่ง “  เพราะผลนั้นส่งถึงคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อย่างแน่นอน 

อย่างไรก็ดี ผลการขออนุญาตอุทธรณ์ ไม่รับอุทธรณ์ คือ คำตอบ ของคดีนี้ ก็น่าศึกษาเปรียบเทียบยิ่ง ว่า

คำสั่งศาลล้มละลายกลางชอบแล้วกรณีไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์จึงเห็นควรยกคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์และไม่รับอุทธรณ์ 

คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณืทั้งหมดให้แก่ผู้ร้อง

นักกฎหมายน่าหยิบยกมาศึกษา เพราะนี่คือ “ดุลพินิจ”ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 

แต่อีกฝ่ายเป็นฝ่ายได้เปรียบ เพราะดุลพินิจนั้นส่งผล บังคับใช้ 

นี่คือผลพวงของการออกกฎหมายบังคับให้  “ประชาชนถูกริดรอนสิทธิในการต่อสู้คดีเพียงเพราะต้องการลดงานให้ผู้พิพากษา ทำงานน้อย พิจารณาได้เร็ว”

ส่วนประสิทธิภาพเป็นอย่างไร ต้องมีการประเมินการบังคับใช้กฎหมายนี้เสียแล้ว

(ดาวน์โหลดคำขออนุญาตอุทธรณ์ ก่อนอ่าน)