ใครที่บอกว่า “ศาลไม่ใช่คู่ขัดแย้ง” ความจริงคือ ศาลเป็นคู่ขัดแย้งได้อย่างไร
ใครที่บอกว่า”ศาลไม่ใช่คู่ขัดแย้ง”
ความจริงคือ ศาลเป็นคู่ขัดแย้งได้อย่างไร
ความอคติ ความเป็นแก๊งค์ ความไม่มีจริยธรรม เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ศาลถูกมอง ถูกเข้าใจ ถูกคิด ว่า คือตัวช่วย อีกฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะฝ่ายที่เป็น หน่วยงานรัฐ เพราะศาลก็คือคนของรัฐแต่กินเงินเดือนจากภาษีของประชาชน
แต่ประชาชนไม่มีอำนาจที่จะทำให้ศาลทำงานเพื่อประชาชน เพื่อจริยธรรม เพื่อความถูกต้อง ได้ และมีอำนาจในการให้ประโยชน์ต่อศาลโดยตรง ก็ตาม
ทำให้ระบบศาลกลายเป็นความล้มเหลวในสายตาประชาชน จะมีผู้พิพากษาที่เข้ามาทำหน้าที่ได้ตรงเจตนารมย์ของ”คนเป็นผู้พิพากษา”สักกี่คนที่เป็น”ผู้พิพากษาที่เคารพ”ของประชาชน
ที่เย้วๆกันอยู่เรื่องสิทธิของประชาชน ในเรื่องการประกันตัวก็ดี สิทธิในเรื่องการพิจารณาคดี”สิ้นสุดที่ศาลอุทธรณ์”
และ สิทธิที่ต้องขออนุญาตอุทธรณ์ ฎีกา ก็ดี
เหล่านี้มันคือสิทธิพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญชัดๆๆๆ
แต่มันถูกบิดเบี้ยว เพราะ ใคร
คนที่ควรจะดูแลเป็นปากเสียงให้ประชาชน เป็นตัวแทนประชาชน มันก็มองไม่เห็น”สิทธิของประชาชน”ที่ควรรักษาไว้ให้เขา เพราะพลันที่ประชาชนเลือกเข้าไปทำหน้าที่ให้แล้ว กลับไปทำหน้าที่อย่างอื่น กลับไปรับใช้ผู้มีอำนาจที่มีโอกาสจากประชาชนอีกนั่นแหละในการบริหารประเทศ
แต่กลับลืม “อำนาจของประชาชน”ที่มอบให้
ประชาชนจึงต้องเอาอำนาจคืน และเลือกคนใหม่ ที่มีแนวนโยบายในการออกกฎหมายบังคับให้ระบบ ให้ กระบวนการ ยุติธรรม ถูกปฎิรูปในครั้งเดียวทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
ให้เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด
ไม่ใช่ผลาญงบปฎิรูปครั้งแล้วครั้งเล่าแต่ไม่มีผลเปลื่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
ถามจริงครั้งหน้าจะมีพรรคการเมืองไหนกล้า”ปฎิรูปวงการศาล”บ้าง
อย่ามัวแต่พูดจงลงมือทำให้ประชาชนได้เห็นว่า อำนาจของประชาชนนั้นใหญ่ยิ่งกว่าอำนาจใดๆ
ไม่ใช่หลบเป็นอีแอบแล้วรอชุบมือเปิบ หรือ ที่สุดก็แอบไปฃุกอยู่ใต้ขาคนมีอำนาจเช่นเดิม
ใส่ความเห็น