เปิดเอกสารลับทุจริตหรือส่งเสริมการขาย วีคลี่นิวส์เตรียมชงให้ปปช.รับลูก

ก่อนจะถึงวาระที่คณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณจะเรียกนาย เลอศักดิ์ จุลเทศ ผอ.ธนาคารออมสิน ขณะนั้นเข้าไปชี้แจงการปล่อยกู้ให้กับครูของกระทรวงศึกษาธิการ
ที่มาของโครงการนี้เริ่มเป็นรูปร่างมาแต่ปี2542 จนถึงวันที่ 17พ.ค 2548 ธนาคารออมสินกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)เรียกว่าโครงการสวัสดิการเงินกู้แก่สมาชิกช.พ.ค ฃึ่งประเด็นสำคัญมีดังนี้ 1. วงเงินกู้ให้รายละไม่เกิน 200,000บาท ,2. ผู้กู้ต้องทำประกันชีวิตกับบริษัทที่ธนาคารกำหนด,

ต่อมาในเดือนตุลาคม 2548 มีการจัดตั้งโครงการพัฒนาชีวิตครูขึ้นมาเพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับครูเพิ่มขึ้นจากโครงการแรก 200,000บาท เป็น 2,000,000บาท มีประเด็นสำคัญคือ ผู้กู้จะต้องทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อกับบริษัทที่ธนาคารกำหนด อีกเช่นเคย และในปี52 ขยับเพดานเงินกู้เพิ่มขึ้นเป็น 3,000,000 บาท เช่นเคยต้องมีการกำหนดให้ผู้กู้ต้องทำประกันชีวิตกับบริษัทที่ธนาคารกำหนดเหมือนเดิม

และบริษัทที่ธนาคารกำหนดคือ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

image

นาย นพพร บุญลาโภ
อดีตผจก ทิพยประกันภัย สาขาบางกะปิ

 

ความมาแตกในปี2552 นี้เอง เมื่อครูรวมตัวกันร้องทุกข์ว่าการกู้ถูกบังคับให้ต้องทำประกัน และค่าเบี้ยประกันชีวิต ถูกเรียกเก็บเป็นจำนวนสูง

เมื่อตรวจสอบเข้าไปในเรื่องที่ครูร้องทุกข์ การณ์กลับเป็นยิ่งกว่านั้นคือ บริษัทประกันชีวิตที่ธนาคารกำหนด ไม่ได้มีใบอนุญาตให้ประกอบการ

จึงมีการเปลื่ยนแปลงแก้ไข ช่วยเหลือ ทำผิดให้เป็นถูก ด้วยการแก้ไขอายุการทำประกันจาก10ปีเหลือ9ปี เพื่อให้สอดคล้องกับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน) ที่มีใบอนุญาตเป็นบริษัท ประกันภัย มิใช่ใบอนุญาตเป็นบริษัทประกันชีวิต

ฃึ่ง  คปภ. ยินยอมให้แก้ไขได้ยังไงไม่ทราบ และเปลื่ยนจากประกันชีวิตมาเป็นประกันภัยกลุ่ม ผิดข้อกำหนดของธนาคารออมสินที่ตั้งขึ้นมาด้วยการรู้เห็นเป็นใจของผู้บริหารธนาคาร หลายคน
ทำให้ผู้บริหารธนาคารออมสินตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการจึงมาติดอยู่กับความผิดที่สำเร็จไปแล้ว

เมื่อเปิดเฃฟลับพบว่า สกสค.ก็ดี ธนาคารออมสินก็ดี และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ล้วนแล้วแต่ร่วมมือในการดำเนินงานครั้งนี้ ด้วยผลประโยชน์มหาศาล

จากการแอบติดตามเข้าไปในการประชุมเพื่อเตรียมพร้อมในการปล่อยสินเชื่อเงินกู้ให้แก่ครูในโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค 5 ที่โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพ ในวันที่ 14 พ.ค 2552 อันประกอบด้วย นาย เกษม กลั่นยิ่ง เลขาธิการคณะกรรมการสกสค. นาย นพพร บุญลาโภ ผจกบริษัท ทิพยประกันภัย สาขาบางกะปิ และผจกสาขา ผจกเขต ผจกภาค ทั่วปทของธนาคารออมสิน เข้าร่วมประชุม ในครั้งนี้ ได้มีการหยิบเอาคู่มือการปฎิบัติงานสินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้ช.พ.ค4 ฃึ่งจัดทำขึ้นสมัยนาง บุษบา ฤทธิ์เรืองนาม ขณะดำรงตำแหน่งผอ.ฝ่ายสินเชื่อเพื่อสังคมและชุมชน เคยปฎิบัติและทำตามคู่มือนั้นมาก่อนแล้วคือ

การจ่ายเงินค่าตอบแทนจากบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน) ให้แก่สาขา 3% เขต 1% ภาค 1% ธนาคารออมสินทั้งปท และ สำนักงานใหญ่ 1.5%

image

จากเดิมที่บริษัท ทิพยประกันภัย จะจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้ธนาคาร13% แต่ถูกสกสค.ขอส่วนแบ่งนี้ไปครึ่งหนึ่ง คือ 6.5%
เงินจำนวนนี้น่าจะเป็นเงินที่นำไปฝากไว้ที่ธนาคารธนชาติ สาขา เยาวราช ฃึ่งกระทรวง ศึกษาธิการกำลังแย่งชิงเงินนี้มาด้วยการแนะนำของปปง. ฃึ่งเป็นเรื่องที่ปปง.ไม่สมควรจะแนะนำ เพราะเงินนี้คนฝากเขาเบิกไปเองแล้ว ธนชาติจะเอาอำนาจอะไรไประงับไม่ให้เจ้าของเงินเบิก
ส่วนธนาคาร ธนชาติ จะถูกปปง.ตรวจสอบเรื่องการปิดบังข้อมูลที่มาของเงินนี้ ในลักษณะใช้ธนาคารเป็นที่ฟอกเงินหรือไม่ วีคลี่นิวส์ออนไลน์จะได้ติดตามอย่างกระชั้นชิด ต่อไป

อย่างไรก็ตาม วีคลี่นิวส์ออนไลน์ ได้สอบถามผู้บริหารธนาคารออมสินสาขา จันทบุรี ยืนยันว่ามีการรับเงินจำนวน3%นี้มาจริงก่อนหน้าแต่หลังจากโครงการช.พ.ค5 ถูกระงับไป ก็ยังไม่ได้รับอีก
ขณะที่ นาง อารีวรรณ อมะรักษ์ อดีตผู้จัดการสาขาจันทบุรี ปัจจุบันเป็นผจก.เขตจันทบุรี กล่าวว่า ไม่เคยได้รับ
สวนทางกับที่นาง บุษบา ฤทธิ์เรืองนาม อดีตผอ.ฝ่ายสินเชื่อเพื่อสังคมและชุมชน ฃึ่งเป็นผู้ดูแลโครงการช.พ.ค 2- 4 มาตั้งแต่แรกรับว่าบริษัท ทิพยประกันภัย สาขาบางกะปิ จ่ายค่านายหน้าให้แก่สาขา 3% เขต 1% ภาค 1% โดยมีนาง นงเยาว์ ชธส.กช และ นาง ปทุม ฝลธ และ นาย เลอศักดิ์ จุลเทศ ผอ.ออมสิน ร่วมรับทราบ ด้วย

เงินจำนวนนี้เดิมจ่ายกันเป็นเงินสด แบกไปส่งถึงที่ ต่อมาเงินเยอะขึ้นก็ใช้วิธีโอนเงินเข้าบชลับของธนาคารสาขานั้นๆ มีผู้รับผิดชอบสามคน เพื่อแบ่งใช้จ่ายกันในสาขา ในเขตและในภาค
มีผู้สมรู้ร่วมคิดทั้งหมดในสาขา เขต ภาค นั้นๆ

ฃึ่งวีคลี่นิวส์ออนไลน์สอบถามจากนาย นพพร บุญลาโภ ผจก.ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)สาขาบางกะปิ ปัจจุบันเป็นกก.ผจก บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด ยืนยันว่าจ่ายจริง เพราะเป็นค่าส่งเสริมการขาย ให้กับเจ้าหน้าที่ธนาคาร

จากการสอบถามไปยังฝ่ายกฎหมายของสภาทนายความและนักบัญชีธนาคาร ต่างกล่าวว่า ไม่น่าจะทำในลักษณะเช่นนี้ได้ เพราะธนาคารนี้เป็นรัฐวิสาหกิจ การรับ จ่าย ไม่สามารถนำไปดำเนินการได้เอง จะต้องส่งเข้าธนาคารทั้งหมดก่อน

ที่ธนาคารทำกันอยู่จึงผิดกฎหมายแน่นอน

ส่วนมูลค่าเงินที่ธนาคารแต่ละสาขาจะรับกันไปเท่าใด และผู้รับจะมีส่วนในการรับผิดเท่าใด ครั้งหน้าปปช.จะมาให้คำตอบ

หากปปช.ชี้มูลความผิดจริงตามที่นักกฎหมายและนักบัญชียืนยัน เจ้าหน้าที่ธนาคารตั้งแต่สมุห์ ไปถึง ผจก ทั้งสาขา เขต ภาค จะโดนกันระนาว หรือไม่ ติดตามกันต่อไป และจากปัญหานี้ส่งผลไปยังที่มาของบริษัท ทิพยประกันชีวิตอย่างไร

มหากาพย์เรื่องนี้คงอีกยาว

คุณ เจี๊ยบ