แฉเอกสารลับออมสิน ถูกเรียกเก็บเข้าตู้เฃฟ
จากกรณีที่อดีตผู้บริหารธนาคารออมสิน นาย เลอศักดิ์ จุลเทศ มีนโยบายเพิ่มเพดานเงินกู้ให้กับครูสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จาก 150,000 บาท เป็น 3,000,000 บาท จากโครงการก่อนหน้าและหลังมารับตำแหน่งที่บรรดาครูรู้จักกันดีในหลายชื่อโครงการว่า ช.พ.ค 1-4 มาถึง ช.พ.ค 5 -6 และ ช.พ.ค ครู , ช.พ.ส และโครงการเกื้อกูลฯ นั้น แต่ละโครงการแม้จะเป็นเงินน้อยนิดเมื่อเทียบกับเงิน 3,000,000 บาท แต่ก็ทำให้คนของออมสินและคนของสกสค.และคนของบริษัทแห่งหนึ่ง ต่างร่ำรวยไปตามๆกัน เพราะมีการแบ่งประโยชน์ที่ได้กันอย่างอิ่มหมีพีมันนับแต่ปีพ.ศ 2546 เป็นต้นมาถึง พ.ศ 2552
หากปปช.จะตรวจสอบต้องย้อนไปในปี 2548 อันเป็นปีที่เริ่มดำเนินการ มีผู้บริหารของออมสิน ของสกสค.เป็นใครบ้าง คงไม่ยาก เพราะแม้คนเหล่านั้นจะปลดเกษียณไปเสวยสุขกินเงินเงียบไปแล้ว แต่สิ่งที่ทำสามารถตามหลอนไปได้อีก20ปี
แต่ประเด็นสำคัญเริ่มตั้งแต่สมัย นาย เลอศักดิ์ จุลเทศ เป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ประมาณปี 2552 มีการร้องเรียนของครูถึงการปล่อยสินเชื่อของธนาคารออมสินแลกกับการที่ครูต้องทำประกันชีวิต เปิดโปงวิธีการอันแยบยลจากให้ประกันชีวิตมันกลายเป็นประกันภัยกลุ่มไปได้ยังไง
สื่อมวลชนเปิดโปงถึงเรื่องน้ีเป็นข่าวใหญ่โต ทำให้ครูเกิดรู้ข้อมูลว่ามีเงินที่ออมสินจ่ายประโยชน์กลับคืนให้สกสค. 1% ของวงเงินที่ครูกู้มาไว้สนับสนุนตอนครูติดค้างไม่ชำระหนี้ ธนาคารออมสินสามารถหักเงินออกจากบัญชีนี้เพื่อนำไปใช้หนี้แทนครูได้ก่อน ต่อเมื่อครูใช้หนี้ธนาคารออมสินแล้ว ธนาคารออมสินจะนำเงินนั้นกลับคืนสู่บัญชีนั้นตามเดิม
ครูก็เลยหัวใสเพิ่มขึ้นอีก ไม่ชำระหน้ีดีกว่า เดี๋ยวออมสินก็หักจากตรงนั้นไปเอง ที่นี้รู้กันมากขึ้น ก็ไม่ชำระหนี้มากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยยุคคุณ วิรไท สันติประภพ ทำงานตรงไปตรงมา เห็นหนี้เสียของออมสินเยอะขึ้นๆ เลยเข้ามาดูแล สั่งให้ออมสินยุค ปัจจุบัน จ่ายเงินสำรองหนี้8000ล้านบาท
เรื่องนี้ต้องเฝ้าดูต่อไปว่าธนาคารออมสินยุคปัจจุบัน อันเป็นยุคที่ต้องเฝ้าจับตาเป็นพิเศษเพราะเป็นยุคแห่งการรวมพลคนกสิกรไทยไปนั่งบริหาร จะมีอะไรเด่นขึ้นมาอีกไม่ว่าจะเป็น ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผอ.ออมสินคนปัจจุบัน สมัยอยู่กสิกรไทยระดับเล็กๆแต่สามารถเข้าวงกอล์ฟของคนไฮโฃได้ย่อมจัดว่าไม่ธรรมดา หรืออย่างอิสระ วงศ์รุ่ง อดีตกรรมการผจกใหญ่กสิกรลิสฃิ่งถูกขยับขึ้นแท่นไปเป็นประธานแล้ว ยังลดตัวลงมาเป็นรองผอออมสินให้กับชาติชาย คนชายคาเดียวกันได้ย่อมต้องจับตามองไม่ให้กระพริบว่า ออมสินจะมีอะไรขึ้นมาอีก เมื่อผนวกกับนพพร บุญลาโภ กรรมการผจกใหญ่ทิพยประกันชีวิต ไปอยู่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน งานนี้คงต้องเบิ่งตากว้างๆมากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตามเมื่อเป็นข่าวดังในปี2552 ไฉนสภาการเมืองบ้านเราจะไม่เข้ามาดูแลเล่า งานนี้ไปเข้าคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ อันมี นาย เจริญ จรรย์โกมล เป็นประธาน
นาย เจริญ จรรย์โกมล เชิญ นาย เลอศักดิ์ จุลเทศ ผอธนาคารออมสินขณะนั้น และทีมงานเข้าชี้แจง เรื่องดังกล่าว แต่นาย เลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้ไม่กลัวเกรงมันผู้ใด เนื่องจากได้สะสมอาวุธในการต่อสู้ไว้พร้อมแล้ว ไม่ได้ไปชี้แจง ปล่อยให้ลูกน้องผู้มีพระคุณไปล้อบบี้กับคณะกรรมาธิการ ฯ แทน
แถมนัดไปทานอาหารเย็นกันอีกด้วย แต่ก็ไม่ไปตามนัดอีก คณะกรรมาธิการเกิดอาการโมโห อยากจะสอบถามเรื่องราวให้กระจ่างชัดสักหน่อยทำเล่นตัวว่าข้าแน่ไปได้
ว่าแล้ววันรุ่งขึ้น ท่านประธานคณะกรรมาธิการคณะดังกล่าว ท่านก็อภิปรายเสร็จเด็ดขาดมีมติส่งเรื่องส่อไปในทางไม่ชอบนี้ให้กระทรวงการคลังพิจารณาเพื่อลงโทษ
แต่…. เกิดปัญหาบ้านเมือง เรื่องนี้ตกไปหรือจะถูกหมกเม็ดด้วยจำนวนหุ้นไม่ทราบ
จากนั้นธนาคารออมสินก็ออกหนังสือคำสั่งธนาคารออมสินเฉพาะที่กม.36/2552 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง สั่งณ วันที่ 30 กันยายน 2552 เกี่ยวกับ กรณี “คณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ ขอให้ธนาคารออมสินชี้แจงประเด็นปัญหาต่างๆในการดำเนินธุรกรรม การให้สินเชื่อโครงการพัฒนาชีวิตครูโครงการ5(ช.พ.ค 5) ระหว่างธนาคารออมสินกับกระทรวงศึกษาธิการ”
งานนี้เขาเรียก นาง บุษบา ฤทธิ์เรืองนาม ตำแหน่งขณะนั้นคือ ผอ. ฝ่ายพัฒนาสังคมและชุมชน ผู้รับผิดชอบงานนี้โดยเฉพาะมาก่อน ปัจจุบันเกษียณแล้วหลายปี แต่ตอบคำถามของ วีคลี่นิวส์ออนไลน์ ว่า ทำไปตามคำสั่ง ช่วงช.พ.ค โครงการ 2-4 แต่หลังจากนั้น ไม่ได้ดูแลแล้ว
วีคลี่นิวส์ออนไลน์ ตรวจสอบพบว่า การรับผลประโยชน์เรื่องเงินประกันชีวิตนี้มีมาตั้งแต่สมัยนาง บุษบา รับผิดชอบแล้ว และในระหว่างการตรวจสอบนี้ นาง บุษบา ได้แจ้งให้คนออมสินทราบว่า คณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณทราบข้อมูลของธนาคารที่เป็นชั้นความลับ
ผลคือ เอกสารชั้นความลับนี้ถูกเก็บมิดชิดไปนอนหลับอยู่ในตู้เฃฟของธนาคารภายใต้การดูแลของรฝสพ.พ.1
ส่วนที่ว่ามันเป็นความลับเรื่องอะไร ใครเกี่ยวข้อง ติดตามกันต่อไป
ใส่ความเห็น