พบการประกันตัวชั้นศาลฎีกาที่เทิง ใช้เวลานานถึงสามวันสองคืน
นอกจากศาลยุติธรรมได้ขอออกพรบ.คดีแพ่งต้องขออนุญาตฎีกาบังคับใช้ตั้งแต่พ.ย 58 แล้ว ก่อนการบังคับใช้พรบ.ฉบับนี้ ศาลฎีกาสามารถหยิบพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตัดสินไม่รับพิจารณาฎีกาได้ก่อนแล้ว โดยพิจารณาว่า “ฎีกานั้นไม่เป็นสาระ” ทำให้คดีความสิ้นสุดลงผลการตัดสินทันทีที่ศาลอุทธรณ์
แถมยังห้ามไม่ให้ปชช.ถวายฎีกาต่อพระราชอำนาจของในหลวงอีก นั้น นักกฎหมายและปชช.ต่างไม่เห็นด้วยกับการริดรอนสิทธิของปชชไม่ให้ฎีกา ตามระบบตุลาการที่ได้ประกาศไว้ในรัฐธรรมนูญไทย
อีกทั้งในเรื่องการให้คดีสิ้นสุดที่ศาลชั้นต้นหรือชั้นศาลอุทธรณ์ เท่านั้น ไม่เป็นธรรมต่อปชช. เป็นการแก้ปัญหาของศาลที่งานล้นมือ แต่สำหรับปชช.เป็นสิ่งที่จำกัดความยุติธรรมไม่ให้เข้าสู่กระบวนการ
ทั้งที่ศาลยุติธรรมควรที่จะดำเนินการในสิ่งต่างๆที่ช่วยปชชให้เข้าถึงความยุติธรรมได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และควรจะมีทีมงานตรวจสอบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อย่างจริงจัง เป็นการช่วยให้การใช้ดุลยพินิจเป็นไปอย่างถูกต้องตามจริยธรรมศาล โดยไม่มีเสียงติติงจากปชช
โดยเฉพาะเรื่องการประกันตัวในชั้นศาล ฃึ่งควรที่จะกำหนดเวลาในการให้ประกันตัวเช่นเดียวกับตำรวจ คือภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง
วีคลี่นิวส์ได้ติดตามการให้ประกันตัวในชั้นศาลฎีกาของศาลจังหวัดเทิง พบว่าการประกันตัวใช้เวลานานถึงสามวัน สองคืน ระหว่างนั้นจำเลยถูกเข้าคุกจำกัดสิทธิเสรีภาพไปแล้ว ฃึ่งหากศาลจะได้กำหนดกรอบเวลาในการทำงานของข้าราชการให้เร็วขึ้นเช่นเดียวกับตำรวจก็คงจะเป็นผลดีต่อปชช
โดยจำเลยขอประกันตัวตั้งแต่เช้าหลังฟังคำพิพากษาวันที่3ต.ค และยื่นเรื่องขอประกันตัวในเวลาบ่ายเรื่องส่งเข้าศาลฎีกาในกทมมีคำสั่งในวันที่4 ฃึ่งควรจะได้ประกันตัวในเช้าวันนั้นได้เพราะใช้ระบบอีเลคทริคมาช่วยทำงาน
แต่กว่าตัวจำเลยจะได้ออกจากคุกกลายเป็นวันที่ 5 ต.ค ใช้เวลานานถึง สามวัน สองคืน
จึงน่าที่ศาลยุติธรรมจะได้ปรับปรุงการทำงานให้เอื้อประโยชน์แก่ปชช.บ้าง
ใส่ความเห็น