ร่วมเสนอความคิดเห็น “หยุดอำนาจศาลฎีกาให้ความยุติธรรม3ศาลต่อปชช ” เพื่อนำเสนอต่อศาลพิจารณา
คุณคิดว่าครั้งหนึ่งในชีวิตคุณและญาติ จะมีโอกาสต่อสู้คดีความไหม
ถ้าคุณต้องเจอเหตุการณ์อย่างนี้ คุณจะทำอย่างไร
ศาลยุติธรรมได้เสนอสภา 1. ให้ออกพรบ.คดีแพ่ง ต้องขออนุญาตฎีกาก่อน เมื่อ
ได้รับอนุญาตแล้วจึงจะยื่นฎีกาต่อสู้คดีได้
แต่ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกา คดีนั้นจะสิ้นสุดลงทันทีตามคำพิพากษาของ
ศาลอุทธรณ์
ในการอนุญาตหรือไม่อนุญาต นั้น ศาลฎีกาจะเป็นผู้พิจารณาประกอบด้วยองค์คณะ
ตามที่กำหนด ( 3 ท่าน ) โดยการไม่อนุญาตจะใช้มาตรา 23 ของพระธรรมนูญ
ศาลยุติธรรมมาเป็นคำตัดสิน คือ
มาตรา ๒๓ ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
บัญญัติให้ เสนอต่อศาลฎีกาได้โดยตรง และคดีที่อุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษา
หรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือ ศาลอุทธรณ์ภาคตามที่กฎหมายบัญญัติ
เว้นแต่กรณีที่ศาลฎีกาเห็นว่าข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่อุทธรณ์หรือ ฎีกาน้ัน
จะไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจไม่รับคดีไว้พิจารณา
พิพากษาได้ ทั้งนี้ ตาม ระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนดโดยประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา[๙]
คดีที่ศาลฎีกาได้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งแล้ว คู่ความไม่มีสิทธิที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา คัดค้านคดีน้ันต่อไป
ศาลจึงใช้ “ความไม่เป็นสาระ” มาตัดสิทธิความเป็นธรรมของปชช. ไม่รับพิจารณาพิพากษาในชั้นศาลฎีกา
หลักเกณฑ์อะไรคือความไม่เป็นสาระ ?
2. รัฐธรรมนูญของปทไทย กำหนดให้อำนาจตุลาการมีสามศาล คือ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกา
ทำไมปชช.ต้องถูกกีดกัน ไม่ให้ฎีกา ( จากผลของมาตรา23 ฃึ่งยังไม่มีหลักเกณฑ์ของคำว่า ไม่เป็นสาระ คืออะไร อย่างไร )
ทำไมปชช.จะต้องยื่นขออนุญาตฎีกา (จากผลของพรบ.คดีแพ่งต้องขออนุญาตฎีกา และเร็วๆนี้พรบ.คดีอาญาต้องขออนุญาตฎีกากำลังจะตามมา) เมื่อรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจปวงชนชาวไทยไว้สามศาล
ทำไมปชช.จะต้องใช้สิทธิทางคดีเพียงศาลเดียวหรือสองศาล ตามที่ศาลยุติธรรมกำหนด
เพียงเพราะศาลฎีกาพิจารณาคดีไม่ทัน คดีมีมาก เพียงเพราะศาลฎีกาคิดว่าคู่ความที่ฎีกาต้องการถ่วงเวลา ทำให้คดีล่าช้าเป็นความ อยุติธรรมอย่างหนึ่ง
ขณะที่การตัดสินผิดพลาด ไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้อง ก็คือ ความอยุติธรรม เช่นกัน
การพิจารณาคดีจึงควรมีสามศาล ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด เพื่อความยุติธรรม ของปชช. ทุกฝ่าย และไม่ควรตัดสิทธิของปชช.ที่จะเคาะระฆังกราบถวายรายงานเรื่องความเดือดร้อนของปชช.ให้พระองค์ทราบ
เราขอเรียกร้องให้ศาลยุติธรรมเปิดโอกาสให้ปชช.สู้คดีกันอย่างเต็มที่ และเป็นธรรม ไม่ตัดสิทธิของปชช.ที่จะฎีกา เพียงเพราะคดีพิจารณามีมาก ศาลฎีกามิอาจพิจารณาได้ทัน หรือ คิดว่าความล่าช้าคือความอยุติธรรม หรือ คิดว่าคู่ความถ่วงเวลาในคดี
เพราะความไม่เป็นธรรม ความผิดพลาดในการพิพากษา ก็คือ ความอยุติธรรม เช่นเดียวกัน ร่วมสนับสนุนความคิดนี้เสนอต่อศาลยุติธรรม ได้ที่ www.change.org หัวข้อ หยุดอำนาจศาลฎีกา ให้ความยุติธรรม3ศาลต่อปชช
https://www.change.org/p/%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%8A?recruiter=282313096&utm_source=share_petition&utm_medium=email&utm_campaign=share_email_responsive
ความคิดนี้จะนำสู่ศาลยุติธรรม และศาลรัฐธรรมนูญ และ สนช. ต่อไป
ค่ะ ดิฉันคิดในฐานะที่เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนในการสู้คดีทางการแพทย์ คดีทางการแพทย์คนไข้เสียเปรียบหมอทุกทาง ก็อยากให้ประชาชนสามารถสุ้คดีได้จนถึงศาลฏีกา เพื่อความเป็นธรรมสูงสุดให้กับประชาชนค่ะ มีหลายคดีทางการแพทย์ ผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรมในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ แต่สุดท้ายศาลฏีกาให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหาย เพราะคดีทางการแพทย์เป็นคดีที่ต้องใช้ความละเอียดในการวินิจฉัยของศาลค่ะ และโดยส่วนใหญ่โจทก์จะมีสภาพพิกลพิการสาหัสไม่สะดวกต่อการเรียกร้องความเป็นธรรม อยากขอความเป็นธรรมให้คดีพวกเราทุกคดี ได้สิ้นสุดที่ชั้นฏีกาโดยไม่ต้องร้องขอ หรือยื่นฏีกาค่ะ