เตรียมก่อตั้ง “ชมรมผู้เสียหายทางกฎหมาย” หลังอ่านพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา23 บ่อเกิดของความไม่ยุติธรรม ตัดสิทธิปชชในการเข้าถึงในหลวง และสร้างอำนาจล้นฟ้าให้ศาลฎีกา เมื่อสอดคล้องกับพรบ.ต้องขออนุญาตฎีกาเข้าไปอีก ทำให้อำนาจศาลฎีกามีมหาศาลขณะที่ปชช. ตกเป็นฝ่ายสูญเสีย อย่างสิ้นเชิง

ไม่นับกรณีกำหนดให้การพิจารณาคดีมีเพียงศาลชั้นเดียวหรือสองศาล ทั้งที่   รธน.กำหนดการปกครองประเทศของอำนาจตุลาการมี 3ศาล เช่นกรณีศาลฎีกาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีการพิจารณาเพียงศาลเดียว ตัดสินปัป เข้าคุกปัป โอกาสต่อสู้สิ้นสุดปัป

ใครได้ใครเสียกับการกำหนดวิธีการเช่นนี้

นางสาว พัชรินทร์ พันธวงศ์ อดีตนักข่าวนสพ.สยามรัฐ ปัจจุบันเป็นเจ้าของธุรกิจและเจ้าของสำนักข่าวนสพ.ฉบับหนึ่ง เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ตนได้อ่านคำสั่งของศาลฎีกา ในคดีหนึ่งฃึ่งเกี่ยวกับคดีสัญญาฃื้อขาย ที่ดิน ฃึ่งมีประเด็นข้อต่อสู้ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จากผลการตัดสินของศาลอุทธรณ์ เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของที่ดิน และ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ฃึ่งมีความคลาดเคลื่ยนทางคดี จึงได้ยื่นฎีกาต่อศาลฎีกาและขอให้ศาลยุติธรรมช่วยตรวจสอบให้ความเป็นธรรม

แต่เมื่อคำสั่งของศาลฎีกามีออกมา ว่า ไม่รับพิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา23

ตนจึงไปค้นก.ม มาตรานี้ กำหนดว่า มาตรา ๒๓ ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีท่ีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้ เสนอต่อศาลฎีกาได้โดยตรง และคดีท่ีอุทธรณ์หรือฎีกาคาพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือ ศาลอุทธรณ์ภาคตามที่กฎหมายบัญญัติ เว้นแต่กรณีท่ีศาลฎีกาเห็นว่าข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่อุทธรณ์หรือ ฎีกาน้ันจะไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา ศาลฎีกามีออำนาจไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาได้ ทั้งน้ี ตาม ระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากาหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา[๙]

คดีท่ีศาลฎีกาได้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งแล้ว คู่ความไม่มีสิทธิที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา คัดค้านคดีน้ันต่อไป

ตนจึงได้รู้ ได้เห็นว่า  “ความไม่เป็นสาระ ” อยู่เหนือ “ความยุติธรรม” ของปชช ที่ควรจะได้รับ ตนอยากรู้ว่า ความเป็นสาระ มาจากหลักเกณฑ์ใด มีความหมายอย่างไร

ที่สำคัญของพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรานี้คือ ตัดสิทธิคู่ความในการร้องทุกข์ของประชาชนที่มีถึงในหลวง

ตนเห็นว่ารัฐธรรมนูญของประเทศไทย กำหนดอำนาจตุลาการไว้ สามศาล คือ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกา

ทำไมศาลยุติธรรมต้องกำหนดให้คดีมีการพิจารณาเพียงศาลเดียว หรือ สองศาล ทั้งที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้สามศาล

ทำไมศาลยุติธรรมต้องเสนอออกก.ม ให้ปชช.ต้องขออนุญาตฎีกา ก่อน ต่อเมื่ออนุญาตแล้วจึงสามารถยื่นฎีกาได้

ทำไมศาลยุติธรรมต้องเสนอออกก.ม ให้อำนาจศาลฎีกาตัดสิทธิความยุติธรรมของปชช.ด้วยมุมมองของความเป็นสาระ ของศาลฎีกาเอง

เพราะศาลยุติธรรมมองว่าคดีมีมาก ศาลฎีกา พิจารณาไม่ทัน กับ มองคู่ความในแง่ร้ายว่า ยื่นเรื่องฎีกาเพื่อประวิงเวลา

ศาลยุติธรรมคิดได้อย่างไร  จึงลืมเสียเพื่อความเป็นธรรมของปชช. เพียงเพื่อศาลฎีกาจะได้ทำงานน้อยลง  หรือ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์จากความล่าช้าเป็นบ่อเกิดของความอยุติธรรม หรือมองการเรียกหาความยุติธรรมของปชช.เป็นเรื่องไม่เป็นสาระ

แต่การตัดสินผิดพลาด ไม่เป็นธรรม ไม่ให้โอกาสต่อสู้ของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ก็เป็นบ่อเกิดของความอยุติธรรมเช่นเดียวกัน

 

ตนเห็นว่าเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ สร้างความเสียหายให้กับระบบความเป็นธรรมของปชช. จึงเห็นควรว่าน่าจะมีการร้องขอไปยังสภา และ ศาลรัฐธรรมนูญ และ กรรมาธิการยุติธรรม ตลอดจน นักกฎหมาย และ ศาลยุติธรรมได้เข้ามาพิจารณาว่าการออกก.ม นี้ ชอบธรรมต่อปชช. หรือไม่ อย่างไร

โดยตนจะรณรงค์เรียกร้องให้มีการถกประเด็นในเรื่องนี้ต่อไปและจะจัดตั้งชมรมผู้เสียหายทางกฎหมายขึ้นมาเพื่อตรวจสอบดูว่ามีใครบ้างที่ได้รับความเสียหายจากมาตรานี้ ฃึ่งยังไม่มีหลักเกณฑ์กำหนด คำว่า “ไม่เป็นสาระ” หมายความว่าอย่างไร และพรบ.คดีแพ่งต้องขออนุญาตฎีกา ควรหรือไม่ควร มี หรือควรปรับปรุงกำหนดเช่นเดิม

ฃึ่งอย่างน้อยในคดีที่กล่าวนี้ตนได้เห็นแล้วว่ามีผู้ได้รับความเสียหายแน่นอน