มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะแสดงตัวเพื่อให้ดูดีผ่านทางร่างพ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ฃึงสนชได้ผ่านร่างนี้แล้ว และทุกคนสนับสนุนกันอย่างเต็มที่ ขณะที่หลายคนบอกว่า ผู้พิพากษามีประมาณสี่พันกว่าคน เฉพาะคดีแต่ละปีก็ทำไม่ทัน บางคดีพิจารณาอย่างรวดเร็ว ทำให้การเรียงคำพิพากษาของศาลเป็นที่ไม่ยอมรับของคู่ความก็มี หากเอาผู้พิพากษาแยกไปทำงานเฉพาะแผนกเข้าไปอีก มิทำให้คดีในศาลอาญาถูกโหลดไปให้ผู้พิพากษาในศาลอาญาหรือ

บางคนวิจารณ์ว่าเป็นการสร้างอำนาจให้ผู้พิพากษาแผนกนี้มากขึ้นไปหรือเปล่า
เพราะกฎหมายอาญาเรื่องการทุจริตมีอยู่แล้ว ศาลอาญาก็พิจารณาได้อยู่แล้ว

เรามาฟังทัศนวิสัยของคนคิดต่างกันบ้าง
สำหรับสังคมไทย แต่พวกทุจริตคอร์รัปชั่นแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบคงไม่ชอบที่รัฐบาลเสนอ ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบต่อสนชผ่านไปแล้ว
…..เมื่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านสภาบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว ก็ต้องมี พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบตามมา
…..หลักการสำคัญของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบจะแตกต่างจากวิธีพิจารณาความอาญาทั่วไปคือ

1. ปกติผู้ต้องหาหนีระหว่างประกันตัว โทษคือ ปรับนายประกันแทน แต่ร่างกฎหมายนี้จะโดนติดคุก6 เดือน ปรับ 10000บาท ไม่รวมโทษที่ถูกลงนะ

2. กรณีที่จำเลยหลบหนีในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ๆ พิจารณาคดีต่อไปได้ และไม่ให้นับเวลาที่จำเลยหลบหนีเป็นอายุความ หากศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลย แต่จำเลยหลบหนีก็ไม่นับเวลาที่จำเลยหลบหนีเป็นอายุความจำเลยจะหลบหนีไป 20-30 ปี หรือนานแค่ไหน (คดีอาญาอื่นๆ มีอายุความสูงสุด 20 ปี) ถ้าจับตัวจำเลยได้เมื่อใดก็นำตัวจำเลยมารับโทษตามคำพิพากษาได้
3. เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว ถ้าจำเลยจะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ จำเลยต้องมายื่นอุทธรณ์ด้วยตนเองจะให้ทนายความยื่นแทนไม่ได้ ดังนั้นจำเลยที่หลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น หากศาลลงโทษจำเลยไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้อันเป็นผลให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยถึงที่สุด
4. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงที่สุด หมายความว่าจะยื่นฎีกาต่อศาลฎีกาไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกาได้

…..เมื่อมีการตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นมาแล้ว ก็จะทำให้การพิจารณาคดีประเภทนี้รวดเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องไปรวมพิจารณาอยู่ในศาลที่ต้องพิจารณาคดีอาญาอื่นๆ ทั้งบทบัญญัติของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีที่แตกต่างจากการพิจารณาคดีอาญาทั่วไปดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็น่าเชื่อว่าการปราบปรามการทุจริตและประพฤติชอบในประเทศไทยต้องดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแน่นอน

จริงหรือ เพราะหากโทษประหารชีวิตไม่ถูกนำมาใช้อย่างจริงจังต่อให้แก้วิธีพิจารณาคดี ต่อให้มีศาลแยกแผนก ก็จะไม่สามารถปราบได้ แต่ความน่ากลัวจะอยู่ที่ตัวผู้พิพากษาที่จะมารับหน้าที่ในศาลแผนกนี้ต่างหากว่าจะรู้ทันพวกขี้โกงเหล่านี้หรือเปล่า เพราะบางคนทั้งพลิก ทั้งแผลง ทั้งวิ่ง ทั้ง…. อาจตามไม่ทัน

ร่างพรบ.ฉบับนี้จึงเป็นดาบสองคม