สับเละสรรพากรและธนาคารแห่งประเทศไทย
สรรพากรร่วมด้วยช่วยกันกดดันธปทให้ออกประกาศปี2562บริษัท นิติบุคคลไหนจะกู้เงินต้องนำเอกสารทางบัญชีหรืองบการเงินที่บริษัทยื่นต่อกรมสรรพากร มาใช้ประกอบการขออนุมัติสินเชื่อและการทำธุรกรรมทางการเงิน ด้วย
หลังจากที่วีคลี่นิวส์ออนไลน์เสนอข่าวว่า ผู้ประสงค์จะขอกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์นอกจากจะต้องถูกตรวจสอบเครดิตบูโรแล้ว ธปทสมัยนาย ประสาร ไตรรันต์วรกุล ยังออกประกาศ ฉบับที่สนส7/2554 บังคับให้ธนาคารพาณิชย์ตรวจสอบประวัติผู้กู้ หากมีคดีทางแพ่งเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ มิให้ปล่อยสินเชื่อ หากเกิดหนี้เสียธนาคารจะต้องสำรองเงินกันหนี้เสีย ฃึ่งธนาคารต่างๆเข้าใจเช่นนี้แม้ธปทจะไม่ได้เขียนชัดเจนแต่เป็นแนวทางปฎิบัติให้ธนาคารต้องกระทำ
กรณีประกาศนี้ทำให้ปชชและนักธุรกิจเดือดร้อนต่างกล่าวว่าธปทกระทำเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เพราะหนี้ในคดีแพ่งอาจเป็นเหตุผลส่วนตัวในการต่อสู้ดำเนินคดี ฃึ่งธนาคารไม่ทราบข้อเท็จจริงทางคดีแต่ต้องปฎิบัติตามคำสั่งของธปท และไม่ได้เป็นหนี้ที่อยู่ในระบบของเครดิตบูโร นับเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของปชชที่ธนาคารพาณิชย์จะเข้าไปตรวจสอบประวัตินอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดเพียงแค่เครดิตบูโรเท่านั้น
อย่างไรก็ตามเมื่อเร็วๆนี้กรมสรรพากรได้ออกพรก.เร่งด่วนออกมาให้บริษัท นิติบุคคลที่เป็นเอสเอ็มอี ถือสมุดบัญชีเล่มเดียว ได้รับการยกเว้นการตรวจภาษีย้อนหลัง และได้รับการลดหย่อนการชำระภาษีเงินได้ เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้มีบัญชีเดียว
โดยแนวทางของกรมสรรพากรระบุว่า กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์จะกำหนดระเบียบ บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องนำเอกสารทางบัญชีหรืองบการเงินที่บริษัทยื่นต่อกรมสรรพากร มาใช้ประกอบการขออนุมัติสินเชื่อและการทำธุรกรรมทางการเงิน ด้วยโดยจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป
จากนโยบายดังกล่าวของกรมสรรพากร นี้ ทำให้บริษัท ห้างร้าน นิติบุคคลทั่วไปกล่าวว่า ปชชต่างถูกกดดันในเรื่องขอสินเชื่อมากขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาธนาคารแอบดูงบดุลจากกรมพัฒนาธุรกิจฯได้อยู่แล้วแต่ไม่ถึงกับต้องถูกบังคับให้นำมาแสดงประกอบการยื่นเรื่องกู้ การที่กรมสรรพากรจะบีบให้ธนาคารทำเช่นนี้เป็นการสร้างแรงกดดันต่อธนาคารที่จะมีผลกับการหาลูกค้า และการใช้มาตราการนี้อาจทำให้การปล่อยสินเชื่อยากยิ่งขึ้น เนื่องจากธนาคารต้องมากำหนดกฎเกณฑ์อีกว่า รายได้ผลกำไรในงบดุลมีจำนวนเท่าไรจึงจะอยู่ในข่ายอนุมัติเงินกู้
ตนจึงไม่เห็นด้วยกับประกาศของธปทที่สนส7/2554และแนวนโยบายนี้ของกรมสรรพากร เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องมีการตรวจสอบลูกค้าเฉพาะจากเครดิตบูโรก็ยังมีปัญหาอนุมัติยากอยู่แล้ว ธนาคารเขามีระบบป้องกันการวิเคราะห์สินเชื่ออยู่มากมายแล้วหากเพิ่มสองประเด็นนี้เข้าไปอีก คงยากที่จะปล่อยกู้ กระทรวงการคลังคงอยากจะให้ปชชนำเงินไปฃื้อพันธบัตรของกระทรวงหรืออย่างไร เพราะหากธนาคารปล่อยกู้ได้ตำ่กว่าเป้า การรับเงินฝากหรือให้ดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราสูงย่อมไม่สามารถทำได้ ขณะที่ทั้งกระทรวงการคลังและธปท ต่างออกพันธบัตรมาขายปชชให้อัตราสูงถึงร้อยละ3
โดยเมื่อเร็วๆนี้กระทรวงคลังก็ออกขายพันธบัตรไปแล้ว50000ล้าน ฃึ่งในเดือนพ.ค นี้ก็จะออกมาขายอีก ตนเห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องต่อระบบการเงินการธนาคารของประเทศ
ใส่ความเห็น