เฟฃบุ๊คสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เผยแพร่บันทึกจากนายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ความว่า

รัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคห้า บัญญัติว่าการไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าการสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวจะกระทำได้ต้องเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี และวรรคสองบัญญัติว่าคำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวต้องแสดงเหตุผล

เหตุที่ศาลใช้เป็นข้ออ้างในการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวคือ เกรงว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี อันเป็นเหตุตามมาตรา 108/1 (1) ส่วนเหตุอันควรเชื่อของศาลคือคดีมีอัตราโทษสูง ซึ่งมิได้เป็นการวินิจฉัยตามพยานหลักฐาน แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามความเชื่อของศาลซึ่งขัดต่อหลักความยุติธรรมทางอาญา ที่ศาลจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยตาม พยานหลักฐาน มิใช่วินิจฉัยตามความเชื่อโดยปราศจากพยานหลักฐาน

นอกจากนี้ มาตรา 108 วรรคสามให้อำนาจศาลกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ หรือเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติ เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะต้องชอบด้วยกฎหมายและไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การที่ศาลกำหนดเงื่อนไขห้ามผู้ได้รับประกันตนเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง จึงเป็นคำสั่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 44 และหากศาลใช้เหตุนี้เป็นเหตุสั่งถอนประกันก็น่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญเช่นกัน

โดยที่รัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคสองบัญญัติว่าให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าผู้นั้นได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อผู้นั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ การที่ศาลปฏิเสธการให้ประกันตัวและนำตัวผู้ต้องหาที่คดียังไม่ถึงที่สุดไปควบคุมตัวในเรือนจำ อันเป็นการโยนภาระให้กรมราชทัณฑ์ช่วยดูแลผู้ต้องขังที่ยังอยู่ในอำนาจศาล โดยมิได้แยกขังหรือแยกปฏิบัติให้ต่างจากนักโทษเด็ดขาดอื่นที่คดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติต่อผู้นั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดซึ่งขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลที่ควรปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตามที่บุ้งเรียกร้อง เพราะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางของกระบวนการนี้มีอยู่จริง

นรินท์พงศ์ จินาภักดิ์
นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย
18 พฤษภาคม 2567

บันทึก: เสียงของน้าเจี๊ยบ

บันทึกจากนายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย

รัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคห้า บัญญัติว่าการไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าการสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวจะกระทำได้ต้องเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี และวรรคสองบัญญัติว่าคำสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราวต้องแสดงเหตุผล

เหตุที่ศาลใช้เป็นข้ออ้างในการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวคือ เกรงว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี อันเป็นเหตุตามมาตรา 108/1 (1) ส่วนเหตุอันควรเชื่อของศาลคือคดีมีอัตราโทษสูง ซึ่งมิได้เป็นการวินิจฉัยตามพยานหลักฐาน แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามความเชื่อของศาลซึ่งขัดต่อหลักความยุติธรรมทางอาญา ที่ศาลจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยตาม พยานหลักฐาน มิใช่วินิจฉัยตามความเชื่อโดยปราศจากพยานหลักฐาน

นอกจากนี้ มาตรา 108 วรรคสามให้อำนาจศาลกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ หรือเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติ เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะต้องชอบด้วยกฎหมายและไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การที่ศาลกำหนดเงื่อนไขห้ามผู้ได้รับประกันตนเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง จึงเป็นคำสั่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 44 และหากศาลใช้เหตุนี้เป็นเหตุสั่งถอนประกันก็น่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญเช่นกัน

โดยที่รัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคสองบัญญัติว่าให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าผู้นั้นได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อผู้นั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ การที่ศาลปฏิเสธการให้ประกันตัวและนำตัวผู้ต้องหาที่คดียังไม่ถึงที่สุดไปควบคุมตัวในเรือนจำ อันเป็นการโยนภาระให้กรมราชทัณฑ์ช่วยดูแลผู้ต้องขังที่ยังอยู่ในอำนาจศาล โดยมิได้แยกขังหรือแยกปฏิบัติให้ต่างจากนักโทษเด็ดขาดอื่นที่คดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติต่อผู้นั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดซึ่งขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลที่ควรปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตามที่บุ้งเรียกร้อง เพราะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางของกระบวนการนี้มีอยู่จริง

นรินท์พงศ์ จินาภักดิ์
นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย
18 พฤษภาคม 2567

เสียงของน้าเจี๊ยบ : ถ้าศาลใช้ดุลพินิจขัดหรือแย้งกับรธน.เช่นนี้ ศาลมีความผิดหรือไม่ ใครจะรับผิดชอบ อย่าปล่อยให้ความไม่ถูกต้องลอยนวล จริงหรือไม่