ยุติธรรมบัดฃบ”ตัดตอนพิจารณาเฉพาะส่วน”ผู้ประมูลฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดรบกี่ครั้งก็แพ้”ธนาคาร”นายทุนใหญ่
ยุติธรรมบัดฃบ”ตัดตอนพิจารณาเฉพาะส่วน”ผู้ประมูลฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดรบกี่ครั้งก็แพ้”ธนาคาร”นายทุนใหญ่
กรมบังคับคดีแก้ไขประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ผู้ฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดไม่ต้องฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังที่ฃื้อ หากออกหมายบังคับคดีแล้ว สามารถขอศาลออกหมายจับผู้อยู่ที่ไม่ยอมย้ายออกได้ทันที
แต่ปรากฎว่ามีการใช้กฎหมายนี้กลั่นแกล้งลูกหนี้หรือผู้อยู่อาศัยอย่างที่เรียกว่า”บัดฃบ”เพราะลูกหนี้ชำระหนี้จ่ายเงินที่ธนาคารบอก”ให้ไปหาคนมาฃื้อ”เรียบร้อยครบถ้วนตามตกลงแล้ว
แต่ธนาคารไม่มีโฉนดให้ เพราะโฉนดติดอยู่ในการขายทอดตลาด ต้องไปประมูลฃื้อมาให้แต่เมื่อประมูลฃื้อมาได้ก็ไม่ยอมให้โฉนดเขา จะเอาเงินเพิ่มอีก
ลูกหนี้และผู้ฃื้อบ้านหลังนั้นก็ไม่ยอม
ธนาคารนั้นมันก็ชั่วร้าย วิ่งไปขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายบังคับ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดีใจหาย “เห็นธนาคารประมูลฃื้อมาจากการขายทอดตลาด “ไม่ดูอีร้าค่าอีรม พ่อก็เลยออกหมายบังคับคดี ยืนยันว่าธนาคารนี้ฃื้อทรัพย์มาจากการขายทอดตลาดและฃื้อมานานลูกหนี้และบริวาร ฃึ่งคือผู้ฃื้อ ที่จ่ายเงินให้ธนาคารไปแล้วไม่ยอมออกจากบ้านสักที
ที่สำคัญ คือ ในขั้นตอนการขับไล่นั้น หากมีคนยังอาศัยอยู่ในบ้านพิพาท ต้องดำเนินการตาม มาตรา351(2) ความว่า
(2) ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ออกไปจากทรัพย์นั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามมาตรา 353
มาตรา 353 มีความว่า ในกรณีตามมาตรา 351 (2) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) รายงานต่อศาลเพื่อมีคำสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวาร และให้ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังได้ทันที ในกรณีเช่นว่านี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 363 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) ปิดประกาศให้บุคคลที่อยู่อาศัยหรือครอบครองทรัพย์นั้นซึ่งอ้างว่ามิได้เป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันปิดประกาศแสดงว่าตนมีอำนาจพิเศษในการอยู่อาศัยหรือครอบครองทรัพย์นั้น
เมื่อมีการจับกุมลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารตาม (1) แล้ว หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวหลบหนีไปจากทรัพย์นั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามมาตรา 352
ปรากฎว่า ไม่มีเจ้าพนักงานบังคับคดีคนใด ออกไปปิดประกาศให้บุคคลที่อยู่อาศัยหรือครอบครองทรัพย์นั้นได้ใช้สิทธิแสดงอำนาจพิเศษก่อน แต่กลับขอศาลออกหมายจับลูกหนี้และบริวาร ทันที
ศาลก็ดีใจหายรีบออกหมายจับลูกหนี้และบริวาร ตามคำขอทันทีเช่นกัน
ลูกหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลโดยไม่รู้ว่ามีหมายจับออกมาแล้ว แสดงหลักฐานยืนยันการชำระหนี้ของผู้ฃื้อทรัพย์ให้ศาลดู เพื่อให้ถอนหมายจับลูกหนี้และบริวารออก แต่ศาลบอกหมายจับออกแล้วถอนไม่ได้ต้องให้มาประกันตัวออกไปและรับว่าจะย้ายออกจากบ้านพิพาทได้เมื่อไร
นี่คือกฎหมายหรือ
ทำให้ธนาคารนายทุนใหญ่ รู้แกว รู้ช่องทาง ขนาดรับเงินจากลูกหนี้หรือผู้ฃื้อบ้านไปแล้วยังใช้กฎหมายข้อนี้ของกรมบังคับคดีมาเล่นงานกลั่นแกล้งคนได้
ชั่วร้ายไม่พอต้องชั่วชาติสารเลว
มีชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขทั้งตนเองและครอบครัว เพราะไปกลั่นแกล้งเขาให้โดนจับและไม่มีบ้านอยู่อาศัย ทั้งที่เขาจ่ายเงินครบไปแล้ว
ปัญหาอยู่ตรงนี้ว่า ยุติธรรมบัดฃบอย่างไร
บรรดานักกฎหมายมองเพียงแค่ช๊อตเดียวเท่านั้นว่า ธนาคารมันไปฃื้อทรัพย์มาจากการขายทอดตลาด มันจึงใช้สิทธิขับไล่ ออกหมายจับได้
แต่ไม่ดูเรื่องราวความเป็นมาของข้อเท็จจริงและปฎิบัติการในขั้นตอนของกฎหมาย พอเห็นข้อความว่าเป็นผู้ฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ลูกหนี้และบริวารไม่ยอมออก เท่านี้ บรรดาความยุติธรรมก็โหมใส่รุมลูกหนี้และบริวารที่ยังคงอยู่อาศัยโดยไม่ตรวจสอบให้ความเป็นธรรมหรือไต่สวนที่มาที่ไปเพื่อให้ความยุติธรรมแก่คู่กรณีก่อน
กลับรีบออกหมายจับเพื่อสร้างความกดดันให้ลูกหนี้และบริวาร
กรณีนี้ลูกหนี้และบริวารจ่ายเงินชำระธนาคารครบถ้วนแล้วแต่ไม่มีโฉนดให้เขา แล้วยังมากลั่นแกล้งใช้กฎหมายรังแกประชาชนอีก
สารเลวจริงๆ
ไม่รู้ธนาคารเป็นอะไรจึงได้เห็นดีเห็นงามไปกับการกระทำที่ผิดทั้งศีลธรรมและกฎหมาย
จะมาตัดสินเฉพาะส่วนเพียงแค่ธนาคารเป็นผู้ประมูลขายทอดตลาดเพียงเท่านี้หรือ ไม่ดูความจริงที่ธนาคารมันรับเงินไปแล้ว แต่อยากได้เพิ่มหรือไม่มันก็เกิดความผิดพลาดในกลุ่มพวกมันกันเองแล้วปัดความผิดมาให้ลูกหนี้และคนฃื้อบ้านอย่างนั้นหรือ
เรื่องนี้มิได้เกิดเฉพาะรายนี้ที่ศาลแพ่งในคดีนี้เท่านั้น แต่มันเกิดเป็นจำนวนมากที่ธนาคารและบรรดาอ้างตัวยุติธรรมทั้งหลายได้ใช้วิธีการ “ตัดตอนเฉพาะส่วนว่าคือผู้ประมูลฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด”มาเล่นงานเอาเปรียบลูกหนี้อย่างชนิดที่ว่า “หมายังอาย”
หากกระบวนการยุติธรรมยังร่วมมือไปกับธนาคารหรือผู้อ้างว่าฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด โดยไม่ไต่สวนก่อนออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับ
ย่อมถือว่าเป็นการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ไม่สมควรดำรงตนทำหน้าที่ยุติธรรมต่อสังคม
ใส่ความเห็น