เรื่องทุจริตของผู้พิพากษารายนี้มีมานานนับสิบปี ศาลยุติธรรมไล่ออกไปแล้วคิดว่าคงจะไม่ฟ้องคดีอาญาเช่นที่ผ่านๆมา แต่ครั้งนี้มีการตั้งศาลทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้น คดีนี้จึงนำสู่การพิจารณาของศาล

อัยการเป็นฝ่ายฟ้องคดี ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น นั่นหมายถึงคดีนี้ขึ้นสู่ศาลทุจริตและประพฤติมิชอบแล้ว แต่ศาลชั้นต้นตัดสินอย่างไร ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษากลับให้จำคุก ห้าปี และการกระทำผิดเช่นนี้ควรหรือที่จะจำคุกเพียง5ปี เพราะแค่สร้างความเสียหายให้กับองค์กรศาลยุติธรรมก็ไม่คุ้มกับความเชื่อมั่นของประชาชนแล้ว

คดีนี้มีผู้ร่วมขบวนการ 7 คน ความจริงที่องค์กรศาลยุติธรรมควรกระทำมานานแล้วคือ ขบวนการแบบนี้รวมหัวกันแบบนี้มีการเชื่อมโยงขบวนการไปยังทุกภาคของประเทศไทยหรือไม่ ทำไมขบวนการอย่างนี้จึงไม่จบสิ้นแม้ในปัจจุบัน ก็คงจะเพราะโทษที่ได้รับแม้จะมีถึงขั้นประหารชีวิตแต่มิได้หยิบนำมาใช้ในการตัดสินนั่นเอง

ใครจะกลัว นอนกินเงินทุจริตฃึ่งควรจะต้องตามยึดทรัพย์ที่ทุจริตเข้ารัฐ ยิ่งโดยเฉพาะอำนาจหน้าที่ของ”ผู้พิพากษา”โทษควรจะหนักกว่าประชาชนหลายร้อยเท่า แต่นี่แค่5ปี ติดแค่ปีครึ่งก็คงจะออกมาเชิดหน้าชูตาในสังคมต่อไป

และห้าปีนี้ยังไม่ใช่ผลตัดสินที่สิ้นสุด เพราะคดียังสามารถฎีกา ได้อีก อาจะลดโทษหรือเพิ่มโทษ ได้ เว้นแต่ ศาลฎีกาจะเห็นแก่องค์กรหรือพวกพ้อง

ก็อย่าทำให้ประชาชนต้องเสื่อมศรัทธามากกว่านี้

กรณีนี้เป็นอุทาหรณ์ของผู้พิพากษาทุกคน ( ยังเห็นกล้ากันอยู่) ที่ใช้อำนาจไปในทางที่เหิมเกริม กร่าง ไม่คำนึงถึงจริยธรรมที่กำหนดไว้ ถึงเรื่อง”สุจริต” ที่เป็นเกราะคุ้มกันไม่ให้ประชาชนวิพากย์คำตัดสิน จึงเป็นช่องทางของการใช้อำนาจไปในทางที่ผิด

สังคมต้องเรียกร้อง “ โทษประหารชีวิต” นำมาใช้กับบุคคลที่ควรจะเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีงามแต่กลับประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง แถมไม่สำนึกอีกด้วย เพราะคนเรานั้นถ้าชั่วโดนสันดานยากที่จะแก้ไข

รายละเอียดติดตามได้ในข่าวของสำนักข่าวอิศรา

https://www.facebook.com/480564141971928/posts/5743337982361158/