“ความยุติธรรมที่เข้าถึงได้ง่าย” ต้องสอดรับกับ”การร้องทุกข์” ของประชาชนที่มีต่อผู้พิพากษาโดยปราศจากการเล่นพวกและเล่นพ้อง

ผู้เขียนชื่นชมท่าน ปิยกุล บุญเพิ่ม ประธานศาลฎีกา คนปัจจุบัน ที่มีผลงานและแนวความคิดที่ส่งผลดีต่อประชาชน หลายเรื่อง  นับเป็นประธานศาลฎีกาที่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนมาเป็นหลักในการทำงาน โดยเฉพาะ นโยบายของท่าน”ความยุติธรรมที่เข้าถึงได้ง่าย” จริงหรือ ตราบใดที่ระบบการร้องทุกข์ตรวจตราดุลพินิจของผู้พิพากษายังไม่อาจก้าวล่วงได้  ทำให้เข้าใจกันว่า ผู้พิพากษา ใช้ดุลพินิจไปในทางที่ประชาชนยอมรับไม่ได้ในหลายๆคดี มากมาย ส่งผลต่อการขาดความเชื่อมั่นต่อองค์กรศาล โดยเฉพาะการใช้ดุลพินิจที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ไปในทางทุจริต ด้วยรูปแบบต่างๆหรือ ใช้ไปในทางอคติ หรือใช้ไปโดยเข้าใจกันว่า ขาดความรู้ความสามารถในคดีที่มีการพิจารณา 

แม้ว่าคดีจะสามารถอุทธรณ์หรือฎีกา ได้ก็ตาม แต่ดุลพินิจนั้นต้องสามารถตรวจสอบและร้องทุกข์ได้โดยปราศจากเงื่อนไขเพียงแค่ว่า “เฉพาะเรื่องทุจริต”เท่านั้น อย่างอื่นเป็นแค่พูดคุยตักเตือน แต่ผลกระทบนั้นส่งผลถึงความเชื่อมั่นต่อองค์กรศาลไปแล้ว จึงเป็นที่ครหาว่าเป็น”องค์กรที่แตะต้องไม่ได้  “  

ทำให้เข้าใจกันในสังคมว่า ผู้พิพากษามีอีโก้ในตัวเองสูงส่ง ทำอะไรก็ได้ สั่งอะไรก็ได้ไม่มีใครกล้าเอาผิด หรือเอาผิดไม่ได้ เพราะคือพวกพ้องพวกเดียวกัน  นี่คือสิ่งที่สังคมต่างพากันวิพากย์วิจารณ์กันมานาน 

เมื่อนโยบายของท่านประธานศาลฎีกา ปิยกุล บุญเพิ่ม “ความยุติธรรมที่เข้าถึงได้ง่าย” นั้นจะหมายเป็นจริงในพวกพ้องเดียวกันด้วยหรือไม่ สังคมต้องการพิสูจน์ เช่นกัน 

เมื่อประมาณเดือนมกราคม2565 มีคำร้องทุกข์(ล.25)ถึงท่านประธานศาลฎีกา คำร้องทุกข์นั้นแยกเป็นสองส่วน คือ ร้องทุกข์ต่อรูปคดีกับร้องทุกข์ต่อจริยธรรมของผู้พิพากษา 

ความสำคัญของรูปคดีคือ  มีการเรียกคืนสำนวนคดี และ โอนสำนวนคดี ใหม่ ทั้งที่คดีนั้นขึ้นสู่การนัดสืบพยานเรียบร้อยแล้ว

การโอนสำนวนคดีไปให้องค์คณะใหม่ กลายเป็น องค์คณะเดียวกันกับที่มีคำสั่งให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งแพ้ไปแล้ว 

คู่กรณีฝ่ายที่แพ้จึงร้องทุกข์ต่อท่านประธานศาลฎีกาว่า ตนจะชนะได้อย่างไร เพราะถ้าองค์คณะตัดสินให้คดีนี้ตนชนะก็จะกระทบต่อคดีที่องค์คณะนี้ตัดสินให้ตนแพ้ไปแล้ว 

และนี่คือการตั้งเรื่องร้องทุกข์ถึงท่านประธานศาลฎีกา ด้วยการอ้างอิงถึงระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการเรียกคืนสำนวนคดีและการโอนสำนวนคดีพ.ศ 2547 ในข้อ4 การเรียกคืนสำนวนคดีจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เรียกคืนและโอนสำนวนคดีเห็นว่า เป็นคดีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาหรือพิพากษาอรรถคดีนั้น ……ข้อ 5 ….ข้อ6…..ข้อ7…………

แต่การเรียกคืนสำนวนและโอนสำนวนคดีใหม่ ไปยังองค์คณะเดิม ต่างหากเป็นการกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาคดีให้กับคู่กรณีฝ่ายที่แพ้ ฃึ่งไม่เชื่อมั่นและยอมรับในคำตัดสินนั้นมาก่อนแล้ว เมื่อมาเห็นการโอนสำนวนคดีมายังองค์คณะเดิม จึงรีบด่วนทำหนังสือร้องทุกข์ถึงท่านประธานศาลฎีกา ก่อนที่จะมีการตัดสินคดี ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565

แต่ปรากฎว่ากรรมวิธีการทำงานของฝ่ายกฎหมายและระเบียบของสำนักงานประธานศาลฎีกาเขาทำงานกันอย่างนี้

  • ส่งไปให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้พิจารณา โดยเห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้พิพากษา โดยไม่มองเนื้อหาในเรื่องการบริหาร เข้ามาเกี่ยวข้องหรือระเบียบจะไม่แยกกันระหว่างการบริหารกับพฤติกรรมจริยธรรมของผู้พิพากษาต้องคณะกรรมการตุลาการฯเท่านั้นจึงเป็นผู้พิจารณา 
  • คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจะพิจารณาแล้วส่งเรื่องให้เลขาธิการศาลยุติธรรมทราบเพื่อส่งคำตอบมายังผู้ร้องทุกข์และส่งไปให้ประธานศาลฎีกาทราบ 

       ฃึ่งส่วนใหญ่แล้วคำตอบที่ผู้ร้องทุกข์มักจะได้รับคือ  ไม่พบการกระทำความผิด  

       เพราะกรรมวิธีในการตรวจสอบของคณะกรรมการตุลาการฯใช้คือวิธีอ่านคำร้องทุกข์ หากไม่ต้องด้วยการกล่าวหาในเรื่องทุจริตฃึ่งต้องมีหลักฐานชัดเจนแล้ว คำร้องทุกข์ของประชาชนที่มีต่อคณะกรรมการตุลาการฯจะไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างที่ผู้ร้องทุกข์ตั้งความหวัง

       ดังนั้นดุลพินิจที่ก้าวล่วงไม่ได้ประกอบกับการใช้กฎหมาย“ละเมิดอำนาจศาล”จึงเป็นอุปสรรคในการแก้ไขภาพพจน์องค์กรศาลที่นับวันประชาชนจะขาดความเชื่อมั่น 

       และที่สุดแล้วคำร้องทุกข์ของคดีนี้เมื่อวันที่23กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจึงเป็นดังที่ผู้ร้องทุกข์กล่าวไว้ และนั่นคือการแก้ไขปัญหาที่ไม่ทันการของระบบการร้องทุกข์ทั้งในรูปการบริหารองค์กรและในรูปของการพิจารณาคดี  

          ความยุติธรรมที่เข้าถึงได้ง่าย   แต่ยากสำหรับประชาชนที่จะร้องทุกข์ต่อการบริหารและจริยธรรมของผู้พิพากษา ฃึ่งช้าและไม่ทันการ และอาจจะทำให้เข้าใจกันได้ว่า องค์กรศาลเป็นองค์กรที่แตะต้องไม่ได้ หรือ เล่นพวกเล่นพ้อง  อันนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตเป็นบ่อเกิดแห่งการทุจริตและประพฤติไม่ชอบ

           องค์กรศาลจำต้องปรับกระบวนการ”ร้องทุกข์”ของประชาชนให้เข้าถึงง่าย  รวดเร็ว  เป็นธรรมและอิงจริยธรรมอย่างเข้มงวดโดยเฉพาะการตรวจสอบคำสั่ง คำพิพากษา และ ประเมิน ผลการทำงาน ของผู้พิพากษาให้เป็นที่เชื่อมั่นของสังคม 

อย่าปล่อยให้ความเชื่อมั่นและศรัทธานั้นจมดิ่งไปกับคำว่าพวกพ้องข้าฯใครอย่าแตะ เพราะนั่นหมายถึง ความเสื่อมศรัทธาของสังคมอย่างถึงที่สุดแล้ว

โดย พัชรินทร์ วิกิตเศรษฐ