นโยบายประธานศาลฎีกา “ความยุติธรรมที่เข้าถึงง่าย”สี่หัวข้อหลัก ที่ไม่มีนโยบายในการตรวจสอบ “ดุลพินิจที่ไม่อาจก้าวล่วงได้”บ่อเกิดแห่งการทุจริต
นโยบายประธานศาลฎีกา “ความยุติธรรมที่เข้าถึงง่าย”สี่หัวข้อหลัก ที่ไม่มีนโยบายในการตรวจสอบ”ดุลพินิจที่ไม่อาจก้าวล่วงได้”บ่อเกิดแห่งการทุจริต
นางสาว ปิยกุล บุญเพิ่ม ประธานศาลฎีกาคนใหม่ ประกาศนโยบายประจำปี 2564-2565 ระหว่างดำรงตำแหน่งนับแต่นี้ต่อไป โดยเน้นสี่หัวข้อหลักได้แก่ 1. ส่งเสริมบทบาทศาลยุติธรรมในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้หลักนิติธรรมโดย1.1 การปรับปรุงกระบวนการในชั้นฝากขังและการปล่อยชั่วคราวให้เกิดการบูรราการเพื่อลดการคุมขังที่ไม่จำเป็น 1.2 ยกระดับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายให้เข้าถึงการได้รับการเยียวยาความเสียหายทุกมิติอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม 1.3 พัฒนาระบบประเมินความเสี่ยงในการปล่อยชั่วคราวและส่งเสริมการใช้มาตรการตามกฎหมายเพื่อลดการเรียกหลักประกันควบคู่กับการสร้างความปลอดภัยให้สังคม
- สร้างหลักประกันการพิจารณคดีที่ปลอดภัยด้านสุขอนามัย
โดย2.1 สนับสนุนมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยแก่ประชาชนและบุคลากรในการดำเนินคดีที่ศาล 2.2 วางระบบการบริหารจัดการคดีให้สามารถดำเนินการเสร็จภายในมาตรฐานระยะเวลาที่กำหนดภายใต้ข้อจำกัดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2.3 ส่งเสริมการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกขั้นตอนของการดำเนินคดีสำหรับคู่ความที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี
- สร้างสรรค์ระบบงานให้สอดรับกับความเปลื่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 3.1 ส่งเสริมการใช้กลไกการระงับข้อพิพาททางเลือกและการดำเนินคดีเพื่อยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคให้ครอบคลุมถึงการบรืโภควิถีใหม่และข้อพิพาทเฉพาะด้าน 3.2 สร้างระบบนิเวศในการทำงานที่ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนให้มีความสะดวกรวดเร็วเข้าถึงง่าย โปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 3.3 สนับสนุนบทบาทขององค์กรศาลยุติธรรมในการเป็นแหล่งความรู้เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมการวิจัยเพื่อการพัฒนาองค์กรให้สอดรับกับบริบทของสังคมที่เปลื่ยนแปลง
- ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพความก้าวหน้าและสุขภาวะที่ดีของบุคลากร 4.1 สนับสนุนการศึกษาเรียนรู้ของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีทักษะที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ในการปฎิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ 4.2 ส่งเสริมให้บุคลากรมีโอกาสปฎิบัติงานตามความรู้ ความเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นหลักประกันแก่ประชาชนในการได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีที่ถูกต้องและเป็นธรรม โดยมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างเป็นธรรมและทัดเทียม 4.3 ยกระดับระบบการดูแลรักษาสุขภาพของบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมให้ประชาชน
ใส่ความเห็น