เปิดคำพิพากษาศาลเหตุแห่งคุณตาอดีตสนช.”เสียชีวิต” สั่งให้คืนทรัพย์สินและจ่ายค่าเสียประโยชน์บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติทั้งที่ข้อเท็จจริงเป็นที่ดินของสปก.ที่ใครก็ไม่อาจสั่งได้ตามก.ม พิเศษ

ตามที่วีคลี่นิวส์ได้เสนอข่าว(ตอนที่1) ถึงการเสียชีวิตของ พ.ต.ท พงษ์ชัย วราชิต วัย 75 ปี อดีตสนช. สมัยที่ผ่านมา หลังได้รับหนังสือจากสำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงรายตามคำสั่งศาลจังหวัดเชียงรายให้ยึดที่ดินผืนสุดท้ายที่เก็บไว้เลี้ยงชีพยามชรา เพื่อชดใช้ค่าเสียประโยชน์ให้นาย อ. ที่ศาลสั่งให้ชนะในคดี ละเมิด ลาภมิควรได้ ทั้งที่ศาลอุทธรณ์ภาค5 ได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนหน้าที่นาย อ. ได้ฟ้องพ.ต.ท พงษ์ชัย วราชิตผิดสัญญา ว่าสัญญาทั้งสองฝ่าย ตกเป็นโมฆะ เป็นสัญญาต้องห้าม นาย อ. ไม่สามารถนำสิทธิการครอบครองที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำกินในที่ดินป่าสงวนแห่งชาตินั้นไปขายได้ และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่ผ่านมาหรือในอนาคตได้ 

ต่อมานาย อ. จึงได้นำไปฟ้องเป็นคดีใหม่ต่อศาลจังหวัดเชียงราย ครั้งนี้ฟ้อง นาง ณรีพัฒน์ สวัสดิเสวี เป็นจำเลยร่วม คนที่2 เพิ่มเข้าไปด้วยในฐานความผิด “ละเมิด ลาภมิควรได้ “ และศาลจังหวัดเชียงราย ได้ประทับรับฟ้อง เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ. 270|2558  

มีการดำเนินการพิจารณาคดีสืบพยานฝ่ายนาย อ.  ฃึ่งเป็นโจทก์อยู่นานถึง2ปี จนรองอธิบดีศาลภาค 5 นางสาว ยุภา พรหมดวง ต้องเดินทางจากเชียงใหม่มานั่งบัลลังก์พิจารณาคดีเหตุเพราะเป็นนโยบายของประธานศาลฎีกาสมัยนั้นให้เร่งรัดการพิจารณาคดีให้รวดเร็ว โดยทำการตัดพยานฝ่ายจำเลยออก หลายปาก และเร่งพิจารณาคดีเสร็จภายในสองวัน 

จากนั้นนัดฟังคำสั่งจากเดิมนัดในเดือนสิงหาคม “เรียก”มาฟังในเดือน   กรกฎาคม2561 โดยมีองค์คณะประกอบด้วย นาย เกริก ตรีนุชกร  นางสาว ยุภา พรหมดวงนางสาว ศศิเพ็ญ จันทโสภีพันธ์ รวม 3 ท่าน ลงนามในคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่พ.1175|2561

โดยในชั้นชี้สองสถานนั้น ในคดีหมายเลขแดง ที่พ. 1175|2561 นี้ ศาลได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1. โจทก์ นาย อ. มีอำนาจฟ้องหรือไม่

  1. ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ 
  2. จำเลยทั้งสอง (พ.ต.ท พงษ์ชัย วราชิต และ นาง ณรีพัฒน์    สวัสดิเสวี )มีหน้าที่ต้องคืนกิจการโรงแรมคุ้มนายพลรีสอร์ทและร้านอาหารตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือไม่และต้องร่วมกันชดใช้ดอกผล ค่าขาดประโยชน์และค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด
  3. โจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 60 ไร่ ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด                                                                            ติดตามการพิจารณา และ คำตัดสินของศาลในตอนต่อไป   

        อนึ่งที่ดินพิพาทในคดีนี้เดิมเป็นที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่กองบัญชาการทหารสูงสุดได้ขออนุญาตใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้ เพื่อใช้ในกิจการทหาร นำมาออกเป็นหนังสือแสดงสิทธิให้บรรดาจีนฮ่อที่หนีภัยสงครามจากไต้หวัน เข้ามาอยู่ในไทย ให้มีที่ดินทำกิน ระบุในหนังสือแสดงสิทธิว่า “เพื่อใช้ในการเกษตรเป็นการชั่วคราวเท่านั้นพร้อมระบุห้ามจำหน่ายจ่ายแจกหรือฃื้อขายไม่ว่ากรณีใดๆ 

โดยท้ายหนังสือสลักไว้ว่า ผู้ถือหนังสือฉบับนี้ เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันชั่วคราวให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ฃึ่งใช้กิจการทหารกองบัญชาการทหารสูงสุดโดยต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ 2507 ตลอดจนเงื่อนไขที่ระบุไว้ด้านหลังของหนังสือนี้ทุกประการ

ลงวันที่ 4 มกราคม 2535 

(ดูภาพประกอบ) 

ต่อมาในวันที่ 28 กันยายน 2539 นาย อ. ได้นำทรัพย์สินอาคารที่ปลูกสร้างลงบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาตินี้ฃึ่งทำเป็นโรงแรม และร้านอาหาร รวม 16 หลัง ( ฝ่าฝืนข้อตกลงที่ทหารให้ใช้ที่ดินเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมเท่านั้น และ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ยังออกใบอนุญาตให้นาย อ. ประกอบธุรกิจโรงแรมในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติได้อีกด้วย และต่อมาใบอนุญาตนั้นมอบมาเป็นชื่อของนาง ณรีพัฒน์ สวัสดิเสวี ดำเนินกิจการต่ออายุ เรื่อยมา ผ่านพ้นหลายสิบปี จู่ๆสมัยผู้ว่าราชการจว.เชียงรายชื่อ นาย ปรีชา กลับมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ของนาง ณรีพัฒน์ รายเดียวจากผู้ประกอบกิจการบนดอยแม่สลองทั้งหมด30กว่าแห่ง ยังสามารถเปิดกิจการได้ ทำให้นาง ณรีพัฒน์ ร้องศาลปกครองสูงสุด ตัดสินว่า ที่ดินบนดอยแม่สลองเป็นที่ดินเดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ไม่สามารถออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้ แต่แทนที่ผู้ว่าราชการเชียงรายจะเพิกถอนรายอื่นๆด้วยกลับยังคงต่อใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการอื่นๆโดยไม่สนใจคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ขณะเดียวกัน นายอำเภอแม่ฟ้าหลวง ชื่อ นาย กรกฎ ประเสริฐวงศ์ สมัยนั้น ก็ติดตามเอาเรื่องนาง ณรีพัฒน์ ประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่มีใบอนุญาต มีการแจ้งข้อกล่าวหานาง ณรีพัฒน์ ตกเป็นผู้ต้องหา โดยปล่อยปละละเลยเพิกเฉยต่อการประกอบกิจการของผู้ประกอบการรายอื่นๆ ทำให้นาง ณรีพัฒน์ ร้องทุกข์ต่ออธิบดีกรมการปกครอง แต่ไม่มีการตั้งกรรมการสอบสวนการทำหน้าที่ของนาย กรกฎ และ ปลัดอำเภอ ผู้ดำเนินคดีแก่นาง ณรีพัฒน์ แต่อย่างใด )

 ไปขายให้พ.ต.ท พงษ์ชัย วราชิต เพื่อแลกรับเงินจำนวน สี่ล้านบาทนำไปใช้หนี้ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ ฃึ่งนาย อ. กู้ยืมเงินมา โดยทำสัญญาโอนกิจการโรงแรมคุ้มนายพล ร้านอาหารและสิทธิในการทำประโยชน์บนที่ดินให้แก่ พ.ต.ท พงษ์ชัย วราชิตเป็นการตอบแทน ฃึ่งนาย อ. ก็ทิ้งร้างจากที่ดินนี้ไปนานกว่าสิบปี จึงกลับมาฟ้องพ.ต.ทพงษ์ชัย วราชิต ว่า ผิดสัญญาที่ทำไว้กับพ.ต.ท พงษ์ชัย ฃึ่งจะต้องแบ่งผลประโยชน์ให้กับตน เป็นคดีหมายเลขดำที่ 476|2549 ขอให้ศาลเชียงรายพิพากษาว่าสัญญาระหว่างนาย อ. กับ พ.ต.ท พงษ์ชัย เป็นโมฆะ และเรียกให้ใช้ผลประโยชน์เนื่องจากพ.ต.ท พงษ์ชัย ไม่ปฎิบัติตามสัญญาพร้อมดอกเบี้ย 

ฃึ่งศาลชั้นต้นเชียงรายได้ตัดสินเป็นคดีแดงหมายเลข 1343|2553 ให้สัญญาเป็นโมฆะและศาลอุทธรณ์ ภาค 5 ได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดตามคดีหมายเลขแดงที่ 1833|2554 ว่าสัญญาฉบับลงวันที่ 28 กันยายน 2539 และสัญญาฉบับลงวันที่11ตุลาคม 2539 ระหว่าง นาย อ. โจทก์ กับ พ.ต.ท พงษ์ชัย วราชิต ที่ทำต่อกันนั้นเป็นโมฆะ  นิติกรรมระหว่างทั้งสองไม่มีผลตามกฎหมายเพราะที่ดินพิพาทเป็นที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ไม่อาจฃื้อขายกันได้  นาย อ. โจทก์ ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่ผ่านมาหรือในอนาคตได้ ส่วนทรัพย์สินที่แต่ละฝ่ายได้รับไปต้องคืนให้แก่กันโดยบังคับตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องลาภไม่ควรได้ ฃึ่งทั้งโจทก นาย อ. และ จำเลย พ.ต.ท พงษ์ชัย วราชิต ชอบที่จะไปดำเนินการต่างหากต่อไป

นาย อ. จึงนำความไปฟ้องเป็นคดีใหม่ “ละเมิด ลาภไม่ควรได้”เป็นคดีหมายเลขดำที่1223|2555 ศาลจังหวัดเชียงรายพิพากษายกฟ้องเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1141|2556 เนื่องจากขณะที่นาย อ. เป็นโจทก์ฟ้องนั้น นาย อ. อยู่ในสถานะเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาลล้มละลายกลางคดีหมายเลขดำที่ล.10228|2551 คดีหมายเลขแดงที่ล.13442|2552 และเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 นาย อ. จึงไม่มีอำนาจมาฟ้องคดี ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนโดยศาลล้มละลายไม่ได้ให้ความเห็นชอบได้

ทำให้ พ.ต.ท พงษ์ชัย ไม่สามารถเรียกร้องเงินที่นาย อ. รับไปเป็นเงินสี่ล้านคืนมาได้และ นาย อ. เองก็มิได้นำเงินมาจ่ายคืนเพื่อให้พ.ต.ท พงษ์ชัย ออกจากที่ดินและทรัพย์สินที่พิพาท 

ฃึ่งก่อนหน้าที่นาย อ. จะนำความมาฟ้องศาลในคดีผิด”สัญญา” ในปี 2549 หลังจากส่งมอบทรัพย์สินในที่ดินพิพาทให้พ.ต.ท พงษ์ชัย ไปแล้วนานถึง10ปีนั้น  ในปี 2543 พ.ต.ทพงษ์ชัย ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้เนื่องจากกิจการโรงแรมร้านอาหารมีสภาพผุผัง ไม่สามารถเปิดใช้บริการได้ จึงส่งมอบให้นาง ณรีพัฒน์ สวัสดิเสวี เข้าไปบริหารงานต่อ นาง ณรีพัฒน์เข้าไปลงทุนปรับปรุง และบริหารกิจการต่อในปี2546 มาจนปัจจุบันโดย นายอ. รับรู้รับทราบและได้ลงนามส่งมอบเปลื่ยนชื่อ น้ำ ไฟ และ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมให้เป็นชื่อ นาง ณรีพัฒน์ เป็นเจ้าของ อันถือเป็นการสละสิทธิการครอบครองโดยสมบูรณ์ มาก่อนแล้ว

ต่อมาเมื่อนาย อ. ปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว จึงได้นำความมาฟ้องอีกครั้งเป็นคดีหมายเลขดำที่ พ. 270|2558 ในความผิดเดิมต่อบุคคลทั้งสอง “ละเมิด ลาภมิควรได้ “

อันเป็นที่มาของคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ พ. 1175|2561 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 

ติดตามตอนที่ 3 คำพิพากษาศาลชั้นต้น หมายเลขคดีแดงที่ พ. 1175|2561