ทนายสิทธิแย้งผลประชุมศาล สั่งตัดสินคดี“ไม่สวมหน้ากาก” ต้องตีความก.ม อาญาอย่างเคร่งครัด ตามตัวอักษรโดยยึดหลักว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ”จะตีความอย่างกว้างโดยขยายความเพื่อลงโทษ หรือเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิดไม่ได้
ทนายสิทธิแย้งผลประชุมศาล สั่งตัดสินคดี”ไม่สวมหน้ากาก” ต้องตีความก.ม อาญาอย่างเคร่งครัด ตามตัวอักษรโดยยึดหลักว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ”จะตีความอย่างกว้างโดยขยายความเพื่อลงโทษ หรือเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิดไม่ได้
กรณีที่ นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ได้เรียกประชุมทางไกลกับอธิบดีผู้พิพากษาภาคต่างๆ ที่มีอำนาจในคดีอาญาหลังเกิดปัญหา ศาลตัดสินคดีไม่สวมหน้ากากอนามัยขัดกัน โดยได้ข้อสรุปคือ ผวจ.อำนาจห้ามคนออกนอกบ้าน หากไม่ใส่หน้ากากอนามัย เเต่กำชับใช้ดุลพินิจคำนึงถึงสภาพ แห่งข้อหาการกระทำโดยคำนึงเศรษฐกิจสังคมของจำเลย ควบคู่มาตรการป้องกันโควิด-19 นั้น
นาย. วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและเลขาธิการสมาพันธ์ นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) กล่าวว่า หากการกำหนดให้ประชาชนต้องสวมหน้ากากอนามัยเป็นความผิดอาญา แต่รัฐบาลและหน่วยงานผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องกลับไม่สามารถดำเนินการ ให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 55 โดยมีหน้ากากอนามัยเป็นอุปกรณ์ป้องกันตนเองได้ทุกคนหรือยัง
ทั้งนี้ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม เชื่อว่าศาลและผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่อาจยืนยันหรือรับรองได้ว่า ประชาชนทุกคนมีหน้ากากอนามัย อยู่ในความครอบครองของตนทุกคน แล้วคนที่ไม่มีหรือตกหล่นไม่ได้รับการแจก เพราะรัฐไม่มีแนวทางบังคับให้ผวจ.ต้องจัดหาหน้ากากไปแจกทุกคน แล้วจะไปเอาความผิดกับคนที่ไม่สวมหน้ากากมันสมเหตุสมผลแล้วหรือไม่
นาย วิญญัติ ชาติมนตรี กล่าวต่อว่า. ผมยังมีความกังวลต่อคำแนะนำของศาลที่ให้ใช้ดุลพินิจตีความในทางที่กว้าง ให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น เนื่องจากมองว่าหลักการตีความกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองบุคคล และรักษาความสงบ เรียบร้อยของบ้านเมือง และมุ่งหมายเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ของบุคคล
ดังนั้นการตีความกฎหมายอาญา ต้องตีความโดยเคร่งครัด ตามตัวอักษรโดยยึดหลักว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ”จะตีความอย่างกว้างโดยขยายความเพื่อลงโทษ หรือเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิดไม่ได้ ในกรณีที่มีความสงสัยต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้น
จะเห็นได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรกที่บัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอัน กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทาความผิด นั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย” ดังนั้น การตีความกฎหมายอาญานั้นจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด
ส่วนที่จะพิจารณาว่า มีความผิดทางอาญาแล้วลงโทษประชาชนได้ ก็ต้องไม่มองข้ามหลักเจตนา ซึ่งเป็นไปได้ที่ประชาชนที่ถูกดำเนินคดีแล้วไม่มีเจตนาที่จะฝ่าฝืนเช่นนี้
ตนเห็นด้วยกับที่ประชุมของศาลยุติธรรมที่ให้ใช้ดุลพินิจลงโทษ ตามข้อแนะนำว่าพึงต้องใช้ดุลพินิจเป็นรายคดี โดยคำนึงถึงสภาพแห่งข้อหาและการกระทำความผิดตลอดจนโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมของจำเลย ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 เพราะจะเป็นการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการบริการสาธารณสุขของประเทศ
ใส่ความเห็น