สั่งพักงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำงานไม่บริการปชช ได้หรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา
กรณีนายอำเภอสั่งพักงานผู้ใหญ่บ้าน ไม่ต้องปฎิบัติหน้าที่หลังได้รับคำร้องเรียนจากปชช เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
คดีนี้มีประเด็นว่า คำสั่งพักหน้าท่ีผู้ใหญ่บ้านอันเนื่องมาจากผู้ใหญ่บ้านมีพฤติการณ์ ข่มขู่พยานและไม่บริการประชาชน เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ มาตรา ๖๑ ทวิ วรรคสาม (๒) กำหนดให้นายอาเภอมีอานาจลงโทษกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจาตำบล ดังนี้ … เมื่อกำนันผู้ใหญ่บ้านคนใดถูกฟ้องในคดีอาญา เว้นแต่คดีความผิดในลักษณะฐานลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำ โดยประมาท หรือมีกรณีที่ต้องหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงถูกสอบสวนเพื่อไล่ออกหรือปลดออก ถ้านายอาเภอ เห็นว่า จะคงให้อยู่ในตำแหน่งจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ จะสั่งให้พักหน้าที่ก็ได้ แล้วรายงานให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดทราบ …
เมื่อผู้ใหญ่บ้านซึ่งถูกผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งแต่งต้ังคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย อย่างร้ายแรง ได้ข่มขู่พยานและผู้มาร้องเรียนทำให้ได้รับความเดือดร้อนและเกรงกลัวว่าจะเกิดอันตราย ต่อชีวิตร่างกาย รวมทั้งยังไม่ให้บริการประชาชนผู้มาติดต่อราชการโดยเฉพาะกลุ่มผู้มาร้องเรียน โดยจาก การตรวจสอบของนายอำเภอพบว่ามีมูลความจริง กรณีจึงเห็นได้ว่าพฤติการณ์ของผู้ใหญ่บ้านดังกล่าว หากให้คง อยู่ในตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ทางราชการ นายอำเภอจึงมีอานาจส่ังให้พักหน้าที่ได้ ตามมาตรา ๖๑ ทวิ วรรคสาม (๒) แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องท่ี พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ประกอบกับ คำสั่งพักงานเป็นคำสั่งทางปกครองที่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสท่ีจะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง (๖) แห่งพระราชบัญญัติวิธี ปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความใน พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น คำสั่งของนายอาเภอท่ีส่ังพักหน้าท่ี ผู้ใหญ่บ้านและคำวินิจฉัยร้องทุกข์ของผู้ว่าราชการจังหวัดจึงชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ท่ี อร.๑๔/๒๕๖๒
จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การสั่งพักหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านเป็นอำนาจ ของนายอำเภอ โดยสามารถสั่งได้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง กับผู้ใหญ่บ้านแล้ว และหากให้ผู้ใหญ่บ้านคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ทางราชการ เช่น มีพฤติการณ์ข่มขู่พยาน หรือไม่ให้บริการกลุ่มผู้ร้องเรียน ซึ่งการสั่งพักหน้าที่ดังกล่าวส่งผลให้ผู้ใหญ่บ้านพ้นจาก ตำแหน่งชั่วคราวและไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านได้ในระหว่างการสอบสวนพิจารณาทางวินัย และ คำสั่งพักหน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน ถือเป็นการสั่งพักงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องให้โอกาสคู่กรณีได้รับทราบข้อเท็จจริง และโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานก่อนออกคำสั่งแต่อย่างใด(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วน ศาลปกครอง ๑๓๕๕)
ใส่ความเห็น