กรรมาธิการยุคปชต.กับ ยุครัฐประหาร ในมุมมองของปชชที่นายกรมต.ต้องรู้

ภายหลังการรัฐประหารโดยพลเอก ประยุทธ ทำให้เกิดการเปลื่ยนแปลงที่ทุกคนคาดหวังว่าประเทศจะดีขึ้น

แต่เวลาผ่านมาหลายปี ปชช.เริ่มบ่นถึงภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลง การค้าขายทรุดต่ำลง หนี้npl ขยับสูงขึ้น

รัฐบาลยุคนี้วางกรอบการทำงานให้เหมือนรัฐบาลเลือกตั้ง มีการคงไว้สำหรับสภาผู้แทนราษฎรเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีการตั้งกรรมาธิการวุฒิสภาเป็นกรรมาธิการสนช.

หนึ่งในกรรมาธิการสนช.ยังคงไว้ฃึ่งกรรมาธิการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ฃึ่งมีหน้าที่ตามข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๘๔ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาขึ้นเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรับธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาหรือตามที่สภามอบหมาย

ทั้งนี้ ในการกระทำกิจการของคณะกรรมาธิการให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิผล รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นสำคัญ

เมื่อเร็วๆนี้คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ยุคสนช.ได้รับเรื่องร้องทุกข์จากประชาชนถึงกรณีการถูกกลั่นแกล้งและประพฤติไม่ชอบจากธนาคารพัฒนาวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งปทไทย หรือ เอสเอ็มอีแบงค์ หรือ ธพว. นำหนี้ไปขายให้กับบริษัท บริหารสินทรัพย์ ศรีสวัสดิ์ จำกัด เจ้าของเดียวกันกับบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) ฃึ่งต้องมีการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม คุณธรรม เนื่องจากอยู่ในตลาดหลักทรัพย์

แต่ปรากฎในคำร้องทุกข์ของลูกหนี้รายนี้กล่าวต่อคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ว่า มีการฃื้อขายหนี้ไม่สุจริต มีการฮั้วประมูล มีการขายหนี้ต่ำกว่าเงินต้น ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี แล้วยังเอื้อประโยชน์ให้บริษัท บริหารสินทรัพย์ ศรีสวัสดิ์ ชำระเงินที่ประมูลจำนวน 202 ล้าน เพียงแค่ 5% จำนวน 10ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก95%จำนวน192 ล้านบาท ให้ผ่อนชำระเป็นตั๋วอาวัลภายใน 2 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ1

ขณะที่ลูกหนี้อ้างว่า ตนได้ยื่นเรื่องขอชำระหนี้หลายครั้ง แต่ธนาคารตั้งแต่ นาง สาลินี วังตาล ประธานคณะกรรมการธนาคาร ลงไปถึงผู้จัดการฝ่ายบริหารหนี้กลั่นแกล้งไม่ยอมพิจารณารับชำระหนี้

แต่กลับใช้วิธีให้หนี้เข้าสู่กระบวนการเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ โดยทำหนังสือเรียกไปเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แต่พอหนังสือถูกส่งออก วันรุ่งขึ้นรีบไปให้สนง.บังคับคดียึดทรัพย์ จากนั้นสองเดือนต่อมานำหนี้ไปขายให้บริหารสินทรัพย์ ศรีสวัสดิ์

ความไม่ชอบมาพากล ดังที่กล่าวแล้ว ก่อนหน้าในการเข้าเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้เสนอขอชำระหนี้ทีเดียวทั้งก้อน27ล้าน แต่ธนาคารไม่พิจารณา ไม่รับชำระหนี้ อ้างว่าได้ไปยึดทรัพย์แล้วเจรจาไม่ได้แล้ว

แต่ในการสรุปตัวเลขการตั้งราคาขายหนี้ของธนาคารมีตัวเลขทางบัญชีอยู่ที่ 23ล้านบาทเศษ ทำไมธนาคารไม่ขายตัดให้ลูกหนี้ กลับไปขายตัดให้บริหารสินทรัพย์ ศรีสวัสดิ์ ไป ในราคา 19ล้านบาทเศษ

เท่านี้ยังไม่พอยังมีการตั้งข้อสงสัยว่ามีการฮั้วประมูลระหว่างสามบริหารสินทรัพย์ที่เป็นของรัฐอีกสองแห่งร่วมด้วยช่วยกัน ให้การฃื้อขายหนี้นี้มีราคาต่ำกว่าเงินต้น ที่ธนาคารได้ปล่อยกู้ไป

ฃึ่งเงินต้นเหล่านี้เป็นเงินมาจากภาษีของปชช.ที่รัฐบาลอัดเข้าไปให้ธนาคารแห่งนี้ ฃึ่งมีข่าวโกงกินมาตลอด

ล่าสุดแม้แต่ประธานคณะกรรมการธนาคารนาย นริศ ชัยสูตร ยังใช้อำนาจแต่งตั้งลูกหนี้ธนาคารที่เป็นหนี้nplให้เข้ามารับตำแหน่งเป็นกรรมการตรวสสอบของธนาคาร หรือ อย่าง นาง สาลินี วังตาล ประธานคณะกรรมการธนาคารคนต่อมา ยังมีปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลเกี่ยวกับธนาคารปล่อยกู้ให้ลูกชายตัวเองทำการเบิกเงินค่างวดสินเชื่อโดยใช้ใบเสร็จรับเงินมาเบิกเงินไม่ถูกต้อง

อีกทั้งยังเป็นผู้ออกนโยบายขายหนี้ให้บริหารสินทรัพย์อย่างส่อไปในทางไม่สุจริต และต่อมาลาออกหนีปัญหาฉาวโฉ่ไปอยู่สสว.

อย่างไรก็ตามเอกสารการขายหนี้ที่ส่อไปในทางทุจริตนี้ส่งถึงมือคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง สนช. ฃึ่งนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ ย้ำนโยบายเรื่องการปราบปรามทุจริตอีกทั้งเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการชุดนี้ที่สภากำหนดไว้

แต่ปรากฎว่า เมื่อคณะกรรมาธิการชุดนี้ อันมี พลอากาศเอก ชนะ อยู่สถาพร
เป็นประธานฯได้พิจารณามีมติส่งเรื่องร้องเรียนของลูกหนี้รายนี้ไปยังธนาคารให้พิจารณา ฃึ่งธนาคารก็มีหนังสือตอบกลับมาให้ลูกหนี้ทราบว่าธนาคารกำลังตรวจสอบ

ทำให้มีการตั้งคำถามถึงคณะกรรมาธิการชุดนี้ ว่า จะสามารถปราบปรามการทุจริตตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาได้อย่างไร

เมื่อเอาคำร้องทุกข์ของผู้ร้องส่งไปให้คนถูกร้องรู้ ป่านนี้คนถูกร้องไม่กำจัดหลักฐานที่ทำให้ตัวเองผิดไปแล้วหรือ

หรือป่านนี้ไม่ช่วยกันปิดบังข้อมูลโดยเฉพาะระเบียบปฎิบัติห้ามนำความลับขององค์กรไปเปิดเผยบุคคลภายนอก

ที่สำคัญคือ เมื่อผู้ถูกร้องทุกข์แก้ต่างมาในหนังสือถึงคณะกรรมาธิการ แน่นอนว่าคณะกรรมาธิการต้องเชื่อหน่วยงานรัฐมากกว่าปชช.ที่ร้องเรียน

เพราะไม่อยากมีปัญหา ไม่อยากจะต้องมาทำงานตรวจสอบให้รกสมอง

กรณีนี้ไม่แตกต่างจากการทำงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำงานแบบระบบราชการ ธุระไม่ใช่ ฟังเสียงร้องทุกข์ของปชชไม่มีความหมาย

รับเรื่องแล้วส่งต่อให้หน่วยงานแก้ต่าง

ไม่ใช้ความรู้ประสบการณ์เพื่อทำงาน เพื่อช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก

เปลืองเงินภาษีของปชช

แตกต่างจากการทำงานของคณะกรรมาธิการ วุฒิสภา ชุดก่อน ที่รับเรื่องราวร้องทุกข์แล้ว ปรึกษากันกับผู้มีความตั้งใจทำงาน ในทีมแล้ว จัดการนัดประชุมตรวจสอบ สอบสวน ทั้งสองฝ่าย มาพร้อมกัน ฟังความคนละที

ฟังแล้วสรุปผลของสองฝ่ายชั่งนน.

ให้การแนะนำ ปรึกษา ทั้งสองฝ่ายให้วินวินกันไป

อย่างนี้จึงเรียกว่าผู้มีความพร้อมในการเข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาของปทชาติ

ไม่ใช่ส่งหนังสือร้องเรียนทั้งดุ้นไปให้ผู้ถูกร้องเรียนแก้ต่างโดยไม่ขมวดปมคำถามที่เป็นข้อสงสัยข้อตรวจสอบของหน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามการทุจริต

ไม่ใช่ปัดสวะให้พ้นตัว รอรับอำนาจ ค่าจ้าง ไปวันๆไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน

หลายหน่วยงานรัฐทำกันอย่างนี้ แทนที่จะเรียกมาสอบสวน ไต่ถาม สังเกตุการณ์ พิสูจน์เอาความจริง ค้นหาหลักฐาน

กลับทำแค่มีหนังสือสอบถาม รอคำตอบ แล้วสรุปผลออกมา ขี้เกียจนักก็สรุปคนถูกร้องไม่ผิด ทำไปตามอำนาจหน้าที่ถูกต้องแล้ว

หน่วยงานอย่างนี้ คนราชการอย่างนี้ มันน่ายุบทิ้ง เปลืองข้าวสุกข้าวสารของปชช

ก็หวังใจว่าคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง สนช.ฃึ่งเป็นผู้มีความรู้ มากหน้าหลายตา ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์จะได้ใช้ ความสามารถและมโนธรรม คุณธรรม ของตนเองมาช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากให้ก้าวพ้นความทุกข์จากสิ่งที่พบเจอ

เพราะคงไม่มีใคร ที่มีเหตุแห่งทุกข์ จะไม่วิ่งหาคนที่เขาคิดว่าเป็นอรหันต์ให้พึ่งพา