ศาลชวนปชช.แสดงความคิดเห็นปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม ตามรธน.กำหนด

วีคลี่นิวส์ขอเสนอความเห็นแรก 1.การบวนการพิจารณาคดีต้องสิ้นสุดที่ศาลฎีกา 2. ยกเลิกระบบขออนุญาต มาใช้ระบบสิทธิ ในทุกชั้นศาล

นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีนายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และนายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ประธานแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอุทธรณ์ ร่วมเป็นกรรมการด้วยนั้น ได้เปิดให้ประชาชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งแสดงความคิดเห็นเพื่อใช้พิจารณาเป็นแนวทางการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้

โดยจะสอบถามความเห็นของประชาชนในหลากหลายด้านตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 258 ง (1)(2)(3) กำหนดไว้ คือ 1.ให้กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า และมีกลไก ช่วยเหลือประชาชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ รวมทั้งการสร้างกลไกเพื่อให้มีการบังคับการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม
2.ปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ชัดเจนเพื่อมิให้คดีขาดอายุความ และสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญา รวมทั้งกำหนดให้การสอบสวนต้องใช้ประโยชน์จากนิติวิทยาศาสตร์ และจัดให้มีบริการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์มากกว่าหนึ่งหน่วยงานที่มีอิสระจากกันเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างมีทางเลือก
3.เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรขององค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ให้มุ่งอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยสะดวกและรวดเร็ว
นายสุริยัณห์ กล่าวว่า จึงขอเชิญชวนประชาชนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยตรง ให้ได้รับการพัฒนา ปรับปรุงและปฏิรูปในแนวทางที่เหมาะสมถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมสมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยสามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นได้ ในเว็บไซต์ของสำนักงานศาลยุติธรรมทาง http://reform.coj.go.th/

ทางด้านบรรณาธิการข่าววีคลี่นิวส์ ได้ทีขอเสนอความเห็นแรก 1.การบวนการพิจารณาคดีต้องสิ้นสุดที่ศาลฎีกา 2. ยกเลิกระบบขออนุญาต มาใช้ระบบสิทธิ ในทุกชั้นศาล

ส่วนรายละเอียดเป็นอย่างไรนั้นจะนำมาเสนอต่อไป