ธนาคารแห่งประเทศไทย มุมมองของปชช

คำว่าธนาคารชาติ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ดูแลระบบการเงินของประเทศ จึงมีการดำเนินงานที่เป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแฃงทางการเมือง ทั้งที่ตัวผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยก็มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี จึงไม่อาจเข้าใจได้ว่าการทำงานจะเป็นอิสระโดยไม่ฟังนโยบายของรัฐบาลได้อย่างไร

ความภาคภูมิใจของคนในธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธปท.จึงเต็มไปด้วยเกียรติยศศักดิ์ศรี เพราะไม่ได้กินเงินเดือนจากรัฐแต่กินเงินเดือนจากกองทุนที่ไม่อาจเปิดเผยได้ว่ากองทุนนั้นหาเงินมาได้จากที่ไหนอย่างไร

แต่แน่นอนว่ากองทุนนี้จะต้องมีที่มาจากแหล่งเงินได้ในการทำงานของธปท. อย่างมหาศาล เพราะรายได้ของคนในธปท.จึงสูงมีสวัสดิการดีเด่น แต่วันนี้พนักงานธปท.ร้องขอนายกรัฐมนตรีให้ธปท.หันกลับไปใช้ระบบบำนาญแทนบำเหน็จ

ขณะที่ไม่ต้องพูดถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยที่ต้องลงทุนถึงกับว่าจ้างคนที่เคยทำงานหน่วยฃีล และหน่วยทหารบก มาเป็นรปภ. ด้วยค่าจ้างและสวัสดิการที่สูงลิ่วแล้ว ยังใช้มาตรการกวดขันคนเข้าออกแม้จะเป็นประชาชนที่เข้าไปร้องทุกข์ยังถูก”ห้ามเข้า”ไปถึงข้างใน

การปกปิดทำตัวเป็นหน่วยงานที่”แตะต้องไม่ได้” ส่งผลให้ปชช.ข้องใจการทำงานของธปท.มาเป็นเวลานานว่า ทำงานเพื่อชาติหรือเพื่อนักการเงิน นักการธนาคาร

มีหลายเรื่องที่ปชช.มีความหวังพึ่งพิงกับการทำหน้าที่ของธปท.ในการควบคุมดูแลสถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชนที่ดำเนินธุรกิจกันอย่างเอารัดเอาเปรียบกับปชช.ในฐานะผู้บริโภค แต่คำตอบจากธปท.กลับบอกได้อย่างเดียวว่า ธปท.ไม่มีอำนาจจัดการ ไปบังคับ หรือพูดคุยให้สถาบันการเงินนั้นต้องปฎิบัติ

ธปท.ทำได้แต่วางนโยบายกว้างๆเป็นกรอบเพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันการเงินปฎิบัติ ส่วนรายละเอียดเป็นเรื่องที่สถาบันการเงินนั้นเป็นผู้กำหนด

ก็น่าขำมากว่า ที่ธปท.ไม่สามารถจะทำอะไรสถาบันการเงินเหล่านั้นได้ทั้งที่เป็นผู้ควบคุมตรวจตรา เอาผิด สถาบันการเงิน เหล่านั้น

อาทิเช่น การเรียกค่าธรรมเนียมสารพัดอย่าง สารพัดชนิด ของสถาบันการเงิน เช่น ค่าธรรมเนียมขอสเตทเมนท์ ของลูกค้า สถาบันการเงินอย่างธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรียกเก็บฉบับละ 50 บาท บวกค่าถ่ายเอกสารอีก3บาท ขณะที่สถาบันการเงินอื่นเรียกฉบับละ 15-20บาท

หรือค่าออกหนังสือติดตามทวงถามที่เป็นปัญหามาช้านานสถาบันการเงินเรียกฉบับละ 200 -800 บาท แล้วแต่สถาบันการเงินนั้นจะมีคุณธรรมหรือไม่

ก็โชคดีผู้ว่าการธนาคารแห่งปทไทยคนปัจจุบัน แสดงผลงานชิ้นแรกกำหนดให้เรียกได้ 100 บาท แทนนโยบายเดิมๆที่วางกรอบไว้กว้างๆเรียกเก็บได้ตามความเหมาะสม

ทำให้สถาบันการเงินใช้กรอบนี้มากำหนดว่าความเหมาะสมของตนเองเป็นเท่าไร เนื่องจากบางแห่งจ้างoutsource มาทำหน้าที่แทน

อย่างไรก็ตามการวางนโยบายกว้างๆเหล่านี้เปิดช่องให้สถาบันการเงินเอาเปรียบลูกค้าโดยธปท.พูดได้อย่างที่กล่าวข้างต้น

แม้กระทั่งเรื่องที่สถาบันการเงินนำหนี้ของลูกค้าไปขายให้กับคนอื่นหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยไม่มีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้า ธปท.โดยหน่วยงานที่เรียกว่าศคง. หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน 1213 ต่างบอกว่า เป็นเรื่องของสถาบันการเงินนั้นจะบอกหรือไม่บอก ก็ได้ ธปทไม่ได้กำหนดไว้ ให้ต้องปฎิบัติ

สวนทางกับเสียงจากคณะกรรมาธิการ การเงิน การคลัง สภานิติบัญญัติ ที่กล่าวว่า สถาบันการเงินต้องปฎิบัติ ต้องบอก เพราะเป็นเรื่องของผลได้ผลเสียของลูกค้า การที่สถาบันการเงินไม่จำต้องปฎิบัตินั้นเท่ากับว่าจะเปิดช่องให้มีการปกปิดแอบเอาหนี้และทรัพย์สินของลูกค้าไปขายในราคาใดก็ได้ที่ลูกค้าไม่สามารถรับรู้ได้ ทำให้มีปชช.จำนวนมากได้รับความเดือดร้อนจากเรื่องนี้

ดังนั้นธปท.จึงไม่ใช่ที่พึ่งของปชช.ในการที่จะเอาผิดสถาบันการเงิน เนื่องจากธปท.มีหน้าที่ในการวางกรอบไว้กว้างๆเท่านั้น แหล่งข่าวในธปท.แจ้งไว้

จึงเห็นว่าปชช.ต่างผิดหวังต่อการทำหน้าที่ของธปท.เสมอมา ก็เนื่องด้วยเหตุผลนี้ แม้ว่าในปัจจุบันธปท.จะได้ก้าวขาออกมาเพื่อช่วยเหลือปชช.มากกว่าแต่ก่อน
ก็ตาม แต่ยังคำนึงถึงสถาบันการเงินเจ้าของเงินทุนใหญ่ จำต้องได้รับการปกป้อง อยู่เช่นเดิม

และสถาบันการเงินเหล่านี้ก็มิได้เกรงใจธปท.แม้จะขอความอนุเคราะห์ให้ช่วยเหลือปชช.ที่มาร้องทุกข์ต่อธปท.เนื่องจากการจะลงโทษสถาบันการเงินได้ต้องทำผิดก.มธุรกิจการเงิน ฃึ่งเป็นเรื่องยากแต่ไม่พ้นความสามารถของธปท.ไปได้ก็ตาม เว้นแต่ว่าธปท.จะช่วยเหลือ “ตรวจสอบไม่พบ” หรือ “ธปท. ไม่มีอำนาจ ” จึงเป็นคำตอบที่ปชช.มักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ

ฃึ่งผู้บริหารธปท.ก็อยู่สูงเกินกว่าปชช.จะเข้าถึงได้ ฉะนั้นโอกาสที่จะมารับรู้รับทราบการทำงานของพนักงานธปท.จึงเป็นเรื่องยาก เพราะ “การเข้าไม่ถึง และ แตะต้องไม่ได้ ” นี่เอง

ผู้บริหารธปท.กินเงินเดือนเป็นล้านๆบาท จึงจะมาใยดีกับเสียงร้องทุกข์ของปชช. ทำไม

แต่ก็น่ายินดีที่ธปท.ออกแคมเปญสอบถามปชช.ผ่านเฟฃบุ้คว่า อยากจะให้ธปท.ทำอะไรบ้าง อย่างน้อยก็ถือเป็นการเปิดกว้างที่จะรับฟังเสียงของปชช.แล้ว การนั่งอยู่บนหอคอยงาช้างในยุคนี้จึงไม่อาจทำได้

เผื่อว่าจะได้ฟังข้อมูลไปบริหารจัดการธปท.ให้เป็นที่พึ่งของปชช.ได้มากกว่าที่เอาแต่ช่วยสถาบันการเงินมาช้านานแล้ว

 

พัชรินทร์ พันธวงศ์