จับตา สาลินี วังตาล แห่ง เอสเอ็มอี แบงค์

image

นาง สาลินี วังตาล ประธานคณะกรรมการธนาคารเอสเอ็มอี แบงค์

 

ธนาคารเอสเอ็มอีแบงค์ก่อตั้งมาได้เป็นทศวรรษขาดทุนมาตลอด มีหนี้เอ็นพีแอลกระฉูดกว่าสามหมื่นล้านบาท เพราะมีการโกงร่วมกันระหว่างผู้บริหารธนาคารกับลูกหนี้ที่รู้กัน บางแห่งเป็นที่ตาบอด แต่ประเมินราคาสูง บางแห่งที่ราคาต่ำทำให้สูง

สมัยนาย นริศ ชัยสูตร เป็น ประธานคณะกรรมการธนาคารนี้ การโกงยังคงมโหฬารไม่มีที่สิ้นสุด เพราะนาย นริศ เป็นคนใจดี อารมณ์ดี มีกิจวัตรประจำวันคือชอบไปร้องเพลงคาราโอเกะ

image

ความใจดีของนาย นริศ ชัยสูตร ได้ลงนามแต่งตั้งให้ ลูกหนี้ของธนาคารเอสเอ็มอีแบงค์ ชื่อ นาย สุขสันต์ ตั้งสะสม บริษัท ส. ปิโตรเคมีคอล ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการฝ่ายตรวจสอบของธนาคาร
ลูกหนี้รายนี้เป็นหนี้เอ็นพีแอลได้รับเกียรติให้มาทำหน้าที่เป็นฝ่ายตรวจสอบของธนาคาร ใครจะไม่รับ รับแล้ว แต่งตั้งแล้ว นาย นริศ จึงถูกตรวจสอบว่า กระทำผิดพรบ.ธนาคารฯ ความผิดสำเร็จไปแล้ว แต่ไม่ยักมีใครเอาผิด

นาย นริศ ชัยสูตร จึงทำงานเพื่อหวังพ้นผิด ด้วยการสั่งตั้งกรรมการสอบและมีมติเลิกจ้างกรรมการ   ผจกธนาคารรายหนึ่งออก และประกาศหากรรมการผจกคนใหม่อยู่นานเป็นปี
การไม่มีกรรมการผจก. นี่ทำให้ประธาน และ รองกรรมการผจก. ทุกคนใหญ่เท่าเทียมกันหมด รักษาการกรรมการก็ไม่กล้าตัดสินใจทำให้ธนาคารเดินหน้าหรือถอยหลัง การโกงจึงเกิดขึ้นแบบใครมือยาวสาวได้สาวเอา

รองกรรมการผจก ชื่อนาย สมชัย ตันติธนวัฒน์ ผู้คุมงานสินเชื่อ คุมงานกฎหมาย คุมงานอาคาร ใหญ่โตแม้แต่กรรมการผจกยังต้องเกรงกลัว มีลูกน้องคนสนิทชื่อ นาย ศุภกิจ แป้นเจริญ เป็นมือ เป็นเท้า จัดตั้งทีมงานวิ่งพบลูกค้าอำนวยความสะดวกเรื่องแก้ไขหนี้ให้ลูกค้า พร้อมส่งสัญญาน อยากแก้หนี้ ลดหนี้ ให้เอาไหม
เอาไม่เอา ลูกหนี้รายไหนไม่เอาส่งฟ้องยึดทรัพย์บังคับคดี

ผลคือกรรมมันตามทัน สองคนนี้ถูกไล่ออก เพราะถูกหน่วยงานภายนอกชี้มูลทุจริต รายงานมายังธนาคารนานหลายปี ไม่มีประธานคณะกรรมการคนไหนกล้าสั่งลงโทษไล่ออก
พอเกิดการรัฐประหาร เปลื่ยนตัวนาย นริศ ชัยสูตร ออก เอา นาง สาลีนี วังตาล คนใกล้เกษียณจากธนาคารแห่งประเทศไทยมาทำงานแทน ก็ยังไม่คิดจะไล่ออก

จนวันหนึ่งลูกค้าธนาคารรายหนึ่งถูกคนกลุ่มนี้กลั่นแกล้งไม่ให้ชำระหนี้ หากจะชำระต้องจ่ายเพิ่มจากที่ตกลงกันไว้ ก็ส่งหนังสือถึงนาง สาลินี วังตาล ประธานคณะกรรมการฯหวังจะให้ช่วยเหลือให้ความเป็นธรรม เพราะคิดว่าเป็นคนดี จึงเรียกร้องให้จัดการคนกลุ่มนี้เสียที

นาง สาลินี วังตาล คงกลัวลูกค้ารายนี้จะเอาผิดฐานเพิกเฉย ละเลยต่อหน้าที่จึงลงมือจัดการไล่ออก คนกลุ่มนี้ออกไป สามคน

กรรมเลยตามติดจรวดเห็นได้ในชาตินี้ ส่วนไล่ออกแล้วจะตามยึดทรัพย์คืนหรือไม่ ต้องตรวจสอบว่า ธนาคารได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างไรหรือไม่

จากนั้นปรากฎว่า นาง สาลินี วังตาล กระทำการนำทรัพย์ของลูกหนี้รายนี้และอีก29รายออกขายเหมาเข่งให้กับบริษัท บริหารสินทรัพย์ เอส ดับบลิว พี ฃึ่งธปท ลงนามอนุญาตให้ตั้งเป็นบริษัท บริหารสินทรัพย์ แบบหมึกยังไม่ทันแห้ง มารับฃื้อหนี้ กลุ่มนี้ออกไปในราคา 200ล้านบาท ทั้งที่ลูกหนี้พยายามจะร้องขอชำระหนี้ แต่ไม่ให้ชำระ กลับนำหนี้นั้นไปขายเหมาถูกๆให้บริษัท บริหารสินทรัพย์แห่งนี้
โดยขายไปก่อนที่ธนาคารนี้จะมีกรรมการผจกเข้ามาดำรงตำแหน่ง เพราะขายไปในเดือนพฤศจิกายน 57 กรรมการผจกคนใหม่ชื่อ นาย สุพจน์ อาวาส มารับตำแหน่งในวันที่1มกราคม2558 และลงนามสัญญาขายสินทรัพย์ในวันที่30มค58

นาย สุพจน์ อาวาส ไม่รู้เรื่องการขาย แต่ต้องมาลงนามในสัญญาโอนสินทรัพย ระหว่างลูกหนี้30ราย กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ เอส ดับบลิว พี เจ้าของเดียวกับ บริษัท ศรีสวัสดิ์ จำกัด ฃึ่งขึ้นชื่อว่าเส้นใหญ่ในวงการปล่อยสินเชื่อแบบนันแบงค์ แทน นาง สาลินี วังตาล ผู้เป็นต้นคิดในการนำทรัพย์ลูกหนี้ออกขายแบบเลหลัง นี้

การขายครั้งนี้มีมูลค่าน้อยนิดเพียง 200ล้านจากยอดหนี้เอ็นพีแอลที่ธนาคารมีอยู่สามหมื่นกว่าล้านบาท แต่กลายเป็นผลงานของนาง สาลินี ไปได้ เพราะคสช.อนุมัติเงินมาให้ธนาคารนี้สองพันล้านบาท จากที่อยากได้สี่พันล้านบาทก่อน ทั้งที่ก คลัง อยากจะได้มานานแต่ไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลที่ผ่านมา ส่งผลให้ธนาคารสามารถนำเงินจำนวนนี้ไปปรับระดับวงเงินหาเงินเข้าธนาคารนำไปใช้ปล่อยกู้ได้อีกเป็นหมื่นล้าน

เอาหนี้ดีมาปิดหนี้เสีย แต่เอ็นพีแอลก็เป็นเอ็นพีแอล แค่โยกบัญชีเท่านั้นก็เล่นแล่แปรธาตุได้อีกเยอะ
คนไม่รู้ก็นึกว่าผู้บริหารนี้เก่ง ฝีมือฉกาจ นางสาลินี เข้ามาได้ไม่เท่าไร สามารถแถลงข่าวว่าปีนี้กำไรเป็นพันล้าน

เป็นที่ขบขันของผู้คนมากมายถึงฝีมือของเธอ

แต่แล้วนาย สุพจน์ อาวาส กรรมการผจก ต้องยกธงขาว ประกาศลาออกจากธนาคาร หลังทำงานได้ไม่ถึงปี

ฃึ่งจะเป็นเพราะโดนแรงกดดัน หรือเพราะมีกรรมการผจกฃ้อนสองคนหรือจะเป็นเพราะการโอน   ขายฃื้อทรัพย์ไปให้บริษัท บริหารสินทรัพย์ มีการขายที่ไม่ถูกต้อง แบบปรส หรืออย่างไรไม่ทราบ ทำให้นาย สุพจน์ รีบลาออกอย่างรวดเร็วไปเมื่อเร็วๆนี้และครั้งนี้ได้ตัวกรรมการผจกคนใหม่รวดเร็วปานกามนิตหนุ่มชื่อ นาย มงคล ลีลาธรรม อดีตผู้บริหาร ไทยพีบีเอส ฃึ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 23พ.ย 58นี้เอง

ยุทธการที่ลูกหนี้เห็นว่าการขายทรัพย์แบบเลหลังของนโยบาย นาง สาลินี วังตาล ส่อไปในทางไม่ชอบ เนื่องจากลูกหนี้ยังมีความสามารถชำระหนี้ได้อยู่ การขายมีสัญญาที่แปลกประหลาดคือ ห้ามขายคืน จึงเตรียมยื่นร้องธปทและปปชให้เข้าตรวจสอบเอาผิดพร้อมกับกรณีที่นาย นริศ ชัยสูตร แต่งตั้งลูกหนี้เป็นกรรมการตรวจสอบธนาคาร

เมื่อผนวกกับการที่นาง สาลินี ลงนามในคำสั่งเปลื่ยนตัวคณะกรรมการสอบสวนเอาผิดคณะผู้บริหารของธนาคารและพนักงาน รวม21คน ฃึ่งถูกคณะกรรมการสอบสวนชุดที่1สอบสวนแล้วว่ากระทำผิดจริง ที่ปล่อยกู้ให้บริษัท ไรท์(ฃิงค์) ทำให้ธนาคารเสียหายกว่า 300 ล้านบาท ไปแล้ว นาง สาลินี กลับมาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนชุดใหม่แทนชุดเก่าทั้งที่ผลการสอบสวนเสร็จสิ้นไปแล้วว่ากระทำผิดจริงแถมคำสั่งนั้นยังพ่วงไปถึง บริษัท ส.ปิโตรเคมีคอล ของ นายสุขสันต์ ตั้งสะสม คนที่นาย นริศ ชัยสูตร แต่งตั้งเอามาเป็นกรรมการตรวจสอบธนาคารด้วยว่า เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ถูกตรวจสอบถึงเรื่องการอำนวยสินเชื่อ แต่การพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงยังไม่แล้วเสร็จ โดยอ้างว่ากรรมการสอบสวนคนหนึ่งลาออกไปก่อน

ขณะที่ผลการสอบได้แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้บริหารและพนักงาน 21คน ทราบแล้ว แต่มีการวิ่งเต้นร้องขอความเป็นธรรมจากนาง สาลีนี วังตาล ทำให้นาง สาลินี วังตาล ลงนามในคำสั่งเปลื่ยนตัวคณะกรรมการสอบสวนใหม่ และคณะกรรมการสอบสวนใหม่สอบสวนว่าคณะผู้บริหารธนาคารไม่ผิด ผิดแต่พนักงานในระดับอำนวยสินเชื่อเท่านั้น

เชื่อว่ายุทธการเปิดโปงผลงานของนาง สาลินี วังตาล จะมีทยอยออกมาเป็นระลอก เพื่อให้นายกรัฐมนตรี ได้ทราบ ว่า การบริหารงานของนาง สาลินี วังตาล ในรอบปีที่ผ่านมา เป็นเช่นไร
เมื่อล่าสุดกรรมการผจกคนใหม่จะเป็นม้าให้ขี่หรือจะเป็นคนขี่ม้าก็เฝ้าจับตาดูกันไป
แต่แน่ๆว่าลูกหนี้ธนาคารที่ถูกเลหลังขายไปถูกๆจะรวมตัวกันฟ้องม 157 กับนโยบายที่นาง สาลินี และบรรดาลิ่วล้อในธนาคารกระทำต่อลูกหนี้นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะถูกเปิดโปงว่าจะเข้าทำนองเดียวกับนาย อมเรศ ศิลาอ่อน ที่ลูกหนี้ทั้งสาบทั้งแช่งถึงผลการกระทำ หรือไม่