ผู้พิพากษาหน.คณะ ดล บุนนาค แนะ “สิทธิความเป็นมนุษย์”ในการไปศาล
ผู้พิพากษาหน.คณะ ดล บุนนาค แนะ “สิทธิความเป็นมนุษย์”ในการไปศาล
ดร. ดล บุนนาค ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯกลาง ได้โพสต์ในเฟฃบุ๊คส่วนตัว หัวข้อ”ห้ามใส่รองเท้าเข้าบัลลังก์” โดยได้แสดงทัศนะ และเล่าความสมัยดำรงตำแหน่งที่ศาลสกลนคร ว่า คนไทยมักถูกอบรมสั่งสอนมาว่า เวลาเข้าไปในสถานที่ควรเคารพ ต้องถอดรองเท้า .. นัยว่าเพื่อให้ความเคารพต่อสถานที่ .. แต่ไม่เห็นฝรั่งต่างชาติเขาทำกันนะครับ เขาคงไม่มีวัฒนธรรมแบบนี้
ตอนบวช มีพระวินัยที่ห้ามพระสวมรองเท้าเข้าในเขตโบสถ์.. จริงๆแล้ว ถ้าจำไม่ผิด พระวินัยกำหนดให้ถอดรองเท้า ไม่กางร่มนับตั้งแต่เห็นยอดเจดีย์ หรือยอดโบสถ์แล้วนะครับ นัยว่าเพื่อเคารพต่อสถานที่สำคัญทางศาสนา
ผมเลยเข้าใจว่า คนไทยถอดรองเท้าก่อนเข้าโบสถ์ ตามพระภิกษุสงฆ์ คือเพื่อแสดงความเคารพต่อสิ่งสำคัญทางศาสนา.. น่าชื่นชมนะครับ ในความอ่อนน้อม..
แต่สิ่งที่ผม ยังให้เหตุผลฐานคิดไม่ได้คือ ทำไมชาวบ้านต้องถอดรองเท้าก่อนเข้าห้องพิจารณาคดีในศาล ?
ตั้งแต่ผมเริ่มทำงานที่ศาล ก็เห็นชาวบ้านถอดรองเท้า ก่อนเข้าห้องพิจารณาคดี เรียงกันอย่างเป็นระเบียบบ้าง ระเกะระกะบ้าง (555 ส่วนใหญ่ จะเห็นแบบหลัง .. เพราะไม่มีคนใจบุญคอยจัดเรียงให้เหมือนตอนไปวัดบางแห่ง)
ถ้าชาวบ้านคนไหน ใส่รองเท้า (แตะ) เข้ามา มักถูกเจ้าหน้าที่ประจำบัลลังก์ดุเอา ตอนนั้น ผมก็ไม่ได้คิดอะไร เข้าใจว่าเป็นวัฒนธรรมองค์กร..
เคยถามเจ้าหน้าที่ศาลว่า ทำไมต้องให้ชาวบ้าน ถอดรองเท้า ก่อนเข้าบัลลังก์ บางคนตอบว่า ไม่ทราบ ก็เขาทำกันมาแบบนี้ 555 (เป็นคำตอบที่ผมได้ยินบ่อยมาก ..เวลาหาเหตุผลดีๆไม่ได้) ..
บางคนบอกว่า พื้นบัลลังก์จะได้ไม่สกปรกเพราะเป็นพื้นไม้ ..
คำตอบนี้ เราลองคิดตามดูนะครับ ..จะเห็นภาพตัวเอง สมัยเป็นนักเรียน นุ่งกางเกงขาสั้น สวมถุงเท้า วิ่งเล่นไถลไปตามพื้นห้องเรียนที่เป็นไม้ นัยว่าช่วยขัดพื้นไปในตัวด้วย 555
รุ่นนักเรียนก่อนผม คงเห็นภาพคุณครูสั่งให้เด็กนักเรียน หากากมะพร้าวมาขัดถูพื้นห้องจนขึ้นเงา 555 สมัยโน้นเรียกว่า .. ทำเวรดูแลห้องเรียน แต่สมัยนี้ อาจเรียกว่า ..ใช้แรงงานเด็ก 555
สรุปว่า ไม่มีใครตอบผมได้ชัดเจนว่า ทำไมชาวบ้าน (ที่ส่วนใหญ่ยากจน) ต้องถอดรองเท้าก่อนเข้าบัลลังก์..
สมัยเป็นผู้พิพากษาใหม่ ก็ได้แต่สงสัย เคยบอกเจ้าหน้าที่หน้าบ้ลลังก์ว่า ไม่ต้องให้เขาถอดก็ได้ แต่มักจะไม่ได้รับความร่วมมือ.. ผมก็ต้องเฉยเพราะเราไม่ใช่ผู้บริหารศาล .. ผมเห็นแบบนี้ตลอดมา..
จนกระทั่ง ผมออกมาเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล .. เดินตรวจศาลทุกวัน ตั้งแต่ห้องน้ำ ทางเดิน ห้องธุรการ โรงอาหาร ห้องขัง และบัลลังก์พิจารณาคดี
.. เห็นรองเท้าถอดกองพะเนิน หน้าห้องพิจารณาทุกห้อง ทุกวัน ..
“นี่ ผมว่า ให้ประชาชนสวมรองเท้าเข้าไปดีกว่ามั้ย ถอดวางหน้าห้องแบบนี้ไม่งามเลย..”. ผมโยนหินถามทาง เป็นคำถามกึ่งความเห็นให้เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์
“เออ .. ค่ะ ท่านหัวหน้าฯ.. อืม.. แต่ว่า จะดีหรือค่ะ ที่อื่นเขาก็ให้ถอดนะคะท่าน”. เจ้าหน้าที่แสนสวยตอบด้วยไม่แน่ใจ
“อืมม.. ที่อื่น ก็ช่างเขานะ แต่ที่นี่ ผมยังไม่เห็นว่า ทำไมต้องถอดรองเท้า .. คุณมีเหตุผลดีๆยกให้ผมฟังบ้างมั้ย ไหนลองดูสิ..”. ผมไม่ได้ท้า แค่อยากฟัง
“ก็ ห้องจะสกปรกนะคะ.. หรือไม่ก็ .. จะเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่มั้ยคะท่าน .. บางทีหนูก็บอกชาวบ้านแล้วว่าไม่ต้องถอดตามที่ท่านหัวหน้าเคยมอบนโยบาย ..แต่เขาก็ไม่เชื่อหนูอ่ะค่ะ ยังยืนยันจะถอด..”. เธอพยายามให้เหตุผล
“ปกติคุณเอง ก็ใส่รองเท้าเข้าไป ..ทนายความก็ใส่ ..อัยการก็ใส่ ..ผู้พิพากษาเองก็ยังใส่รองเท้าเข้าไป .. ทุกคนใส่หมด ยกเว้นชาวบ้าน ..งั้นห้องคงสกปรกเพราะพวกเรา ไม่ใช่เพราะชาวบ้าน”
เจ้าหน้าที่ศาล ยืนฟังยิ้มๆ
“จะว่า ไม่ให้เกียรติ ไม่เคารพสถานที่ก็ไม่ใช่ เพราะศาลเป็นสถานที่ราชการ.. ไม่ใช่วัดวาอารามที่ต้องให้ความเคารพแบบนั้น .. เจ้าหน้าที่ศาล คืองานบริการประชาชน ..ไม่ควรทำให้ชาวบ้านที่มาศาล รู้สึกอึดอัดหรือหวาดกลัวยำเกรง”
“ค่ะ” เจ้าหน้าที่ตอบเบาๆ
“ลองดูนะ .. ต่อไปนี้ ผมมอบนโยบาย ห้ามถอดรองเท้าก่อนเข้าบัลลังก์นะ .. ให้บอกชาวบ้านว่าเป็นระเบียบศาลนี้ แล้วผมจะคอยสังเกต ..ถ้าบัลบังก์ไหน มีรองเท้าถอดอยู่หน้าห้อง ต้องอธิบายให้ผมฟังได้”. ผมพูดยิ้มๆ
“ได้ค่ะ ท่านหัวหน้า.. เออ แต่ว่า ท่านขา.. หนูได้ยินมาว่า ชาวบ้านใส่รองเท้าแตะมาศาลค่ะ ถ้าจะให้สวมแตะเข้าห้อง.. ถือว่าไม่สุภาพหรือเปล่าคะ เพราะมาศาลต้องแต่งกายสุภาพอ่ะค่ะ”
เธอให้เหตุผล เพิ่มเติมตามที่เพิ่งนึกขึ้นได้
“คุณครับ.. ชาวบ้านอ่ะ เขามีเงินซื้อหารองเท้าแตะมาใส่ได้นี่ก็สุดยอดแล้ว .. บางคนเขาจนนะครับ .. ถ้าเราบอกว่า เขาแต่งกายไม่สุภาพต้องใส่รองเท้าหุ้มส้นเข้ามาเหมือนคนอื่น .. แล้วการถอดรองเท้า เดินเท้าเปล่าเข้ามานี่ ..ไม่สุภาพมากกว่าใส่รองเท้าแตะรึเปล่าครับ.. เท้าเขาจะเปื้อนเพราะความสกปรกของรองเท้าที่พวกเราใส่มาซะมากกว่า..”
ผมนึกขำในใจ 555 แค่เรื่องใส่ไม่ใส่รองเท้า ..กลายเป็นประเด็นใหญ่ขนาดต้องมาปุจฉาวิสัจชนากันขนาดนี้เทียวหรือ 555..
หลังจากนั้น เป็นต้นมา ..
ความเท่าเทียมกันของมนุษย์.. อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ต้องไปหาจากตำราเล่มไหน .. หาดูได้ทั่วไป ตรงหน้าห้องพิจารณาคดีในศาลนี้เองครับ 555 ..
เรื่องปัญหาคอร์รัปชั่นก็เช่นเดียวกัน.. แก้ปัญหาที่พบเห็นทั่วไปตอนออกจากบ้านให้ได้ก่อน .. ค่อยแก้ปัญหาระดับชาตินะครับ..
ปล. เรื่องเจ้าหน้าที่ศาล เขาไม่ได้ต่อต้านนโยบายอะไรนะครับ เป็นเรื่องการทำความเข้าใจให้ตรงกัน เพื่อให้เห็นด้วยและได้รับความร่วมมือเท่านั้นเอง ที่เขาซักมากๆนั่นแค่เขียนสนุกๆนะ อย่าซีเรียส 555..
ทางด้านผู้ติดตามเฟฃบุ๊คของดร.ดล บุนนาค ให้ความเห็นต่อมาว่า ตนเห็นด้วยกับที่ท่านดล กล่าวทุกประการ
ปชชส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านไม่มีความรู้ เป็นคนน่ารัก กลัวรองเท้าที่เปื้อนดินโคลนจะเปื้อนศาล กอรปกับข้าราชการศาลอาจจะบอกให้ปชชทำเช่นนั้นก็ได้
ข้าราชการศาลบางแห่งดุมาก แม้กระทั่งผู้พิพากษาบางท่านก็ดุปชชมากขณะทำหน้าที่บนบัลลังก์ เช่น ทำไมทนายไม่มา เปลื่ยนทนายเลยไหม เอาไหม หรือบางท่านดูถูกปชชว่า ทนายไม่มาเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าทนายละฃิ
ฟังแล้วใครๆก็กลัวทั้งนั้น ชาวบ้านจะไม่กลัวได้อย่างไร
ใส่ความเห็น