เผยคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาลดลง ปชช.ค้านใช้อำนาจพระธรรมนูญศาลยุติธรรมโดยไม่มีหลักเกณฑ์

จากกรณีที่ศาลยุติธรรมได้ออกพรบ.ต้องขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่งมาใช้บังคับตั้งแต่พฤศจิกายนได้ครบปีแล้ว ส่งผลให้ปชช.ต่างได้รับความเดือดร้อนในการเข้าถึงความยุติธรรม โดยเฉพาะในคดีที่ศาลฎีกาใช้มาตรา23 ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตัดสินไม่รับฎีกา ด้วยเหตุผลว่าคดีนั้น”ไม่เป็นสาระ” ยิ่งทำให้ปชช.ผิดหวังกับกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้เป็นอย่างมาก

รวมทั้งการออกกฎหมายมาบังคับให้คดีสิ้นสุดลงที่ศาลอุทธรณ์นั้นเป็นการตัดสิทธิการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างสิ้นเชิง

วีคลี่นิวส์ได้ตรวจสอบสิถิติคดีที่ขึ้นสู่ศาลฎีกาในปี2558 พบว่าคดีความลดลงจากปีก่อนๆเป็นจำนวนมาก

img_3258

โดยคดีแพ่งจาก จำนวนคดี 22807 ลดเหลือ 18589 คดีอาญา จาก10951 ลดเหลือ 6784 คดี และแนวโน้มในปี59 น่าจะลดลงไปมากกว่านี้เนื่องจากการใช้บังคับพรบ. คดีแพ่งต้องขออนุญาตฎีกา อาจทำให้คดีลดลงมากขึ้นไปอีก

แต่แม้ไม่มีพรบ.ตัวนีใช้บังคับมาก่อนแต่ศาลฎีกาสามารถใช้มาตรา23แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมสั่งไม่รับพิจารณาได้

ในคดีแพ่งรายหนึ่งที่ศาลฎีกาใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมสั่ง”ไม่รับพิจารณา”ทำให้คู่ความในคดีตั้งคำถามต่อสังคมว่า ความไม่เป็นสาระคืออะไร มีหลักเกณฑ์อ้างอิงทางกฎหมายอย่างไร เมื่อคดีดังกล่าวมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับข้อกฎหมายในการปฎิบัติหน้าที่ของข้าราชการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รู้กฎหมาย ระเบียบ ของ หน่วยงาน นั้นๆ หากคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา อาจทำให้ประสบการณ์ที่มีมาของศาลฎีกาอาจรู้ได้

การใช้กฎหมายดังกล่าวทำให้ปชช. เคลืยบแคลงความสงสัยต่อ”ดุลยพินิจ”แห่งความไม่เป็นสาระได้ว่า ถูกต้องและเป็นธรรม สุจริต กับปชช. หรือ เมื่อ การใช้ไม่มีหลักเกณฑ์กำหนด ว่า อะไรคือสาระ หรือ ไม่เป็นสาระ

การลดลงของคดีความที่ขึ้นสู่ศาลฎีกา พบว่าเป็นแนวราบติดแผ่นชาร์ต แสดงถึงคดีมีน้อยมากที่จะสามารถขึ้นสู่ศาลฎีกาได้ อาจด้วยสองสาเหตุดังกล่าวแล้ว ยังมีสาเหตุที่ศาลยุติธรรมแก้ไขกฎหมายให้คดีความสิ้นสุดลงที่ศาลอุทธรณ์อีกด้วย

เมื่อดูการทำงานของศาลฎีกา พบว่า นอกจากทำหน้าที่ตัดสินคดีแล้ว ผู้พิพากษายังทำหน้าที่สอนกฎหมายตามสถาบันต่างๆ และเดินทางไปสัมมนา ประชุม ทั้งในต่างประเทศ ในประเทศ อยู่เป็นประจำ ขณะที่การพิจารณาคดีกำหนดงานเดือนละ 60 คดี

เมื่อคิดเป็นปี ผู้พิพากษาศาลฎีกามีจำนวน 122 ท่าน คดีปีหนึ่งๆควรจะตัดสินได้ถึง 87,840 คดี แต่ปี58 สามารถตัดสินคดีแพ่งและอาญารวม 25,373 คดี และในปี59คงน้อยลงไปอีก เพราะมีพรบ.ต้องขออนุญาตเข้ามาใช้บังคับอีก

ศาลยุติธรรมจึงแก้ปัญหาในการลดคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ไม่ถูกจุด เพราะเป็นการลิดรอนสิทธิของปชช.ในการเข้าสู่กระบวนการตุลาการตามระบอบรัฐธรรมนูญของปทไทย เพื่อเหตุผลและประโยชน์ของศาลเอง แต่สำหรับปชช.แล้วเป็นการลิดรอนสิทธิโดยสิ้นเชิง