เรียกร้องปฎิรูประบบศาล สิ่งที่สังคมต้องการแต่ถูกเก็บเงียบ

เมื่อพูดถึง คำว่า “ศาล” ทุกคนจะพากันสะพรึงกลัว เพราะอำนาจของศาลนั้นยิ่งใหญ่เกินกำลัง โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านๆมาศาลใช้อำนาจไปในทางที่สังคมอาจยอมรับได้ และ อาจยอมรับไม่ได้ ทำให้สังคมศาลถูกครหามาโดยตลอด

แต่หาได้มีมาตรฐานใดๆมาชี้วัด”ดุลยพินิจ”เหล่านั้นให้เป็นไปในทางเดียวกัน แม้ว่าจะมีเรื่องของคำพิพากษาฎีกามาวางไว้แล้วก็ตาม

อำนาจศาลจึงใหญ่โตชี้เป็นชี้ตายให้กับผู้คนได้  บางคนพูดจาว่าร้ายคู่ความ บางคนพูดจาไกล่เกลี่ยหรือข่มขู่ไม่อาจแยกแยะ แต่คำพูดที่ยังไม่ได้ทันสู้คดีว่า “คดีอย่างนี้หัวหน้าศาล ไม่เคยให้ใครชนะ” มันสะท้อนถึงจริยธรรมขององค์กรศาลได้เมื่อคำร้องทุกข์มีไปถึงคณะกรรมการตุลาการแล้วผลสอบออกมาว่า ไม่มีมูล ไม่มีเรื่องนี้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อได้เห็นดร.คณิต ณ นคร ออกมากล่าวถึงเรื่อง การปฎิรูปศาล โดยเฉพาะศาลฎีกาแล้ว เห็นว่าเป็นเรื่องที่โดนใจ รวมทั้งนักกฎหมายอีกหลายคน ว่า ควรปฎิรูประบบศาล

โดยเฉพาะเรื่อง 1. การใช้อำนาจพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ในการไม่รับพิจารณาคดี ตามมาตรา23 ว่า ” ไม่เป็นสาระ ”
2. การให้ประชาชนใช้สิทธิ์ในทางศาลสิ้นสุดเพียงแค่ศาลอุทธรณ์
3. ฎีกาได้ในประเด็นข้อกฎหมาย ไม่รับฎีกาในข้อเท็จจริง หากไม่ได้รับอนุญาต
4. คดีแพ่ง ต้องขออนุญาตฎีกา ก่อน ( คดีอาญา ต่อไปคงต้องขอเช่นเดียวกัน)

ดร. คณิต ได้กล่าวไว้ว่าได้เขียนบทความเรื่องกระบวนการยุติธรรมกับรัฐธรรมนูญใหม่ ส่งให้นายบวรศักดิ์ อุวรรณโน ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไปแล้ว แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ความเห็นดังกล่าวนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ

หากมองย้อนไปถึงการที่ศาลได้ออกมาตราการเหล่านี้มาจะเห็นว่าประโยชน์สูงสุดอยู่ที่ ” ศาลฎีกา จะได้ทำงานน้อยลง ” เป็นสำคัญ

img_3743

แต่สำหรับประชาชนแล้ว เป็นเรื่องของการถูกลิดรอนสิทธิที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าอำนาจตุลาการมีสามศาล คือ ชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา เป็นการใช้ระบบสิทธิของประชาชนในฐานะพลเมืองของรัฐ

ไม่ใช่ประชาชนในฐานะต้อยต่ำจะร้องขอความยุติธรรมต้องขออนุญาตก่อน หรือในฐานะที่ใช้ดุลยพินิจแตกต่างในเรื่องของคำว่ายุติธรรม ต้องขึ้นกับ ความเป็นสาระ กับ ไม่เป็นสาระ ของศาลฎีกา

สำหรับประชาชนแล้ว การร้องขอความยุติธรรมมันคือความมีสาระ แต่สำหรับคนที่มีหน้าที่ในการให้ความยุติธรรมกลับมองว่าไม่เป็นสาระ

เพื่อจุดประสงค์จะลดคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ที่มีจำนวนมาก และ การพิจารณามีความล่าช้า

ปัญหาคือ เป็นความผิดของประชาชนหรือ ที่ทำให้ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาคดีได้ทัน

มีเรื่องที่กำลังนำขึ้นสู่คณะกรรมการตุลาการให้พิจารณา เมื่อศาลฎีกาใช้อำนาจพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ไม่รับพิจารณา คดีแพ่งที่ศาลอุทธรณ์ ตัดสินคดีว่า จำเลยใช้เวลาในการดำเนินการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินนาน ฃึ่งจำเลยฎีกาว่าการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์เป็นไปตามระเบียบข้อกฎหมายของกรมที่ดิน เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ดินปฎิบัติตามกฎหมาย ตามขั้นตอน ตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จำเลยยื่นเรื่องไว้นานแล้วแต่กรอบเวลาในข้อกฎหมายของเรื่องนี้กำหนดไว้อยู่ที่90วันนับจากประชาชนยื่นคำร้องขอ

มันคือทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง แต่ระบบศาลที่กำหนดไว้ดังกล่าวทำให้คดีไม่ได้ถูกนำขึ้นสู่ศาลฎีกาให้พิจารณาได้

ประชาชนจึงเสียสิทธิแห่งการร้องขอความยุติธรรมไปโดยสิ้นเชิง ทำให้คดีขึ้นสู่ศาลฎีกาลดลงไปอีกคดีหนึ่ง แต่เป็นความทุกข์ของประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและต้องมาชดใช้กับสิ่งที่ตนเองไม่ได้เป็นผู้ก่อ

หากศาลชั้นต้น หากศาลอุทธรณ์สามารถมีอายุงาน มีประสบการณ์ มีความรู้ ความสามารถในข้อกฎหมายและวิธีปฎิบัติงานได้เท่าเทียมกับศาลฎีกาแล้ว เชื่อว่า ปัญหาที่ประชาชนจะฎีกาคงน้อยลงหรืออาจไม่มี

แต่เพราะไม่ใช่ ไม่เป็นเช่นนั้น ประชาชนจึงจำต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ฃึ่งเป็นผู้ที่ผ่านการทำคดีมานานกว่าสามสิบปี เป็นที่เชื่อมั่นเชื่อถือมากกว่าแน่นอนอยู่แล้ว

การออกกฎหมายมาบังคับในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์แต่ฝ่ายศาลฎีกา โดยมีข้อแลกเปลื่ยนในเรื่องของเงินในคดีที่กำหนดไว้ว่าจำนวนสองแสนสามารถฎีกาได้ แต่ปัจจุบันแลกกันแล้วไม่กำหนดวงเงินในการฎีกา

ฃึ่งว่าไปก็ไม่คุ้มกับการที่ประชาชนจะเสียสิทธิในการนี้

ผู้เขียนจึงเห็นด้วยกับ ดร.คณิต ณ นคร และ นักกฎหมายอีกหลายท่าน ที่ไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้กฎหมายที่กล่าว เพราะประโยชน์ตกกับผู้พิพากษาศาลฎีกา เท่านั้น

น่าที่ศาลยุติธรรมสมควรที่จะปฎิรูปและแก้ไข โดยเปิดให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็นปรับปรุงระบบศาลเสียใหม่ เพื่อให้เป็นที่เชื่อมั่นและศรัทธาต่อระบบความยุติธรรมของบ้านเมือง
พัชรินทร์ พันธวงศ์