วันก่อนได้คุยกับนักกฎหมายหลายท่านเพื่อสอบถามข้อกฎหมาย ว่า กรณียื่นอุทธรณ์แล้วได้รับคำสั่งจากศาลว่า เป็นคดีต้องห้าม ตามมาตรา24แห่งพรบ.ล้มละลายพ.ศ 2542 แสดงว่าศาลไม่รับอุทธรณ์ คดีสิ้นสุดแล้วใช่ไหม

หลายท่านบอกว่าใช่ บางท่านส่งมาตรามาให้ดูดังนี้ กรณีอุทธรณ์ต้องห้ามตามมาตรา 24 นอกจากจะต้องอุทธรณ์ภายใน 1 เดือนแล้ว ยังต้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องตามมาตรา 26 ด้วยครับ มิฉะนั้น ศาลจะไม่รับ

“มาตรา 24 ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการฎีกาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลล้มละลายให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลาย เว้นแต่
(1) คำพิพากษายกฟ้อง หรือคำสั่งยกคำร้องหรือคำร้องขอให้ล้มละลาย
(2) คำสั่งยกคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
(3) คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมด หรือแต่บางส่วน
(4) คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
(5) คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย”
Topมาตรา 4 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 26 คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม มาตรา 24 คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาไปพร้อมกับอุทธรณ์ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ เมื่อศาลล้มละลายตรวจอุทธรณ์แล้วเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามก็ให้ส่งอุทธรณ์ และคำขอดังกล่าวไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณา แต่ถ้าศาลล้มละลายเห็นว่าอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ต้องห้ามก็ให้มีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นไว้ดำเนินการต่อไป

จะเห็นว่านอกจากคดีผู้บริโภคที่ต้องขออนุญาตฎีกาแล้ว คดีล้มละลายก็ต้องขออนุญาตฎีกาด้วย

และทั้งสองคดีนี้ใช้สิทธิได้แค่สองศาลเท่านั้น คือศาลชั้นต้น และอุทธรณ์ส่งตรงไปยังศาลฎีกา และก่อนจะส่งตรงไปยังศาลฎีกา ก็ยังมีข้อกำหนดว่า เป็นเรื่องต้องห้ามอุทธรณ์อีกหรือไม่ ถ้าต้องห้ามก็ต้องทำหนังสือขออนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลก็จะพิจารณาถึงคำร้องขอว่าอยู่ในหลักเกณฑ์หรือไม่ ขึ้นกับดุลยพินิจของศาลฎีกา จำนวน 17 ท่าน เพราะคู่ความจะต้องยื่นคำขออนุญาตกับคำอุทธรณ์พร้อมกันไปถึง 17ชุด แสดงว่าจะมีผู้พิจารณาคำร้องขออนุญาตถึง 17 ท่าน

ถ้าไม่ต้องห้ามศาลชั้นต้นก็สามารถมีคำสั่งรับอุทธรณ์ไว้ดำเนินการต่อไป

จะเห็นว่า นับวันคดีที่ขึ้นสู่ศาลจะย่นระยะการพิจารณาคดีสั้นลง ผิดแผกตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ พิจารณาคดีสามศาลคือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา

จะด้วยเหตุผลใดของศาลก็ตามในการกำหนดให้คดีสิ้นสุดเพียงศาลเดียว หรือ สองศาล ย่อมผิดเจตนารมย์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ อันถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

เมื่อมาประกอบกับการต้องขออนุญาตฎีกา ฃึ่งใช้ “17ท่าน”ในการพิจารณาคำร้องขอและเรื่องราวทางคดี นับเป็นการ”พิพากษา”ได้ไม่แตกต่างกัน ในเชิงอุทธรณ์

ประเด็นของเรื่องนี้คือ เมื่อยื่นเรื่องขออุทธรณ์แต่ศาลมีคำสั่งว่าต้องห้ามตามมาตรา24 ของพรบ.ล้มละลาย คู่ความก็จะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาไปพร้อมกับคำอุทธรณ์ในศาลฎีกา ภายใน15 วัน
คำอุทธรณ์ที่ยื่นก่อนหน้านั้นก็แก้วันที่ให้เป็นวันที่ปัจจุบันที่ยื่น ทั้งหมดอย่างละ17ชุด
สำคัญคือ อย่าได้เผลอ ไม่แนบคำร้องขออนุญาตฎีกา ไปด้วยเด็ดขาด เพราะมิฉะนั้นศาลจะตัดสินว่า เกินกำหนดเวลาขออนุญาตฎีกา ทั้งที่คู่ความได้ยื่นคำอุทธรณ์ไม่เกินกำหนดเวลาก็ตาม

จะเห็นว่ามีทนายเผลอเรอยื่นแต่คำอุทธรณ์แต่ไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาเข้าไปด้วย ก็เยอะมาก ทำให้คดีไม่ได้ถูกนำไปพิจารณาในชั้นศาลฎีกา ก็ต้องมาตกม้าตาย ด้วยเรื่องอย่างนี้

ทั้งที่เป็นเรื่องเล็กน้อยแต่มีผลรุนแรง และเป็นเรื่องที่ทนายมักลืม เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีพรบ.ขออนุญาตฎีกาใช้บังคับในศาลแพ่งและศาลอาญา ฃึ่งถือเป็นหัวใจของคดีต่างๆ

คดีผู้บริโภค คดีล้มละลาย ใช้หลักการเดียวกันเหมือนกัน คือ หากเป็นคดีต้องห้ามอูทธรณ์ คู่ความต้องทำคำร้องขอให้ศาลอนุญาตฎีกาก่อน และต้องยื่นไปพร้อมคำอุทธรณ์ ภายในกำหนด

จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ทนายบางคนลืมยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา อย่างกรณี นาง ปรียายันทร์ ล้อเสริมวัฒนา ที่ทนายชื่อดัง ไม่ได้ยื่นคำร้องดังกล่าว ส่งผลให้คดีไม่ได้ถูกนำขึ้นสู่ศาลฎีกาให้พิจารณา

หรือจะมีเหตุจูงใจให้ไม่ต้องยื่น ก็เป็นช่องทางหนึ่งของการล้มคดีได้ เพราะลูกความไม่มีความรู้ในทางกฎหมาย

การต้องยื่นคำร้องดังกล่าว จำเป็นและสำคัญต่อคดีเพียงใด

เมื่อพิจารณาความสำคัญของการยื่นคือ คดีนั้นไม่สามารถอุทธรณ์ได้เพราะติดขัดในข้อกฎหมายที่ห้ามฎีกา ที่ศาลกำหนดกันเอาไว้ ศาลก็จะใช้วิธีต้องขออนุญาตเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าคำอุทธรณ์นั้นมีความสำคัญอย่างไรจึงต้องอุทธรณ์

ถ้าศาลเห็นว่าไม่มีสาระ ไม่มีความสำคัญ เพียงพอที่จะหยิบยกไปพิจารณาในศาลฎีกา เพราะศาลฎีกามีคดีเยอะ คดีที่อุทธรณ์มามีความสำคัญน้อยหรือไม่มีเลย ศาลก็อาจไม่รับพิจารณา คดีนั้นจะสิ้นสุดทันที

เป็นอะไรที่คงเจ็บปวดมากสำหรับคู่กรณี

และจะเจ็บปวดที่สุดหากยื่นคำอุทธรณ์ไปแล้วแต่ไม่ได้ยื่นขออนุญาตฎีกา โดยทนายและทนาย

การใช้ระบบสิทธิในการเรียกหาความยุติธรรมกำลังจะหมดไป แล้วระบบขออนุญาต นำมาใช้แทนด้วยกระบวนการหลายชั้นหลายเชิง

ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ปชช.ที่ต้องถูกตัดสิทธิไม่ให้คดีนำขึ้นสู่ศาลฎีกานั้น
เป็นการริดรอนสิทธิและสร้างความเสียหายให้แก่ปชช.หรือไม่

น่าที่จะได้มีการเสวนากันบ้างก็จะดีเช่นกัน